Hypertension in the young!!!


OMG !!! ไม่น่าเชื่อว่าผมจะห่างหายจากการเขียนบล็อคไปนานมากขนาดนี้ .....

555 จริง ๆ ก็ไม่ได้มีใครเรียกร้อง หรือ อยากอ่านมากหรอกครับ แต่เป็นความอยากเขียนของผู้เขียนเองเนี่ยแหล่ะ เป็นความโชคดี ( หรือโขคร้ายก็ไม่รู้? ) ของผู้อ่าน ที่โดนผู้เขียนแบบผมยัดเยียด อิอิ 

พอดีว่าช่วงนี้มีเคสที่admit มาที่วอร์ด มักจะเป็นผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาความดันสูง ซึ่งเราตั้งค่าcut point เรื่องความดันว่าสูง ไม่เหมือนกับของผู้ใหญ่ที่จะมีค่าตายตัวเพียงค่าเดียวเช่น 140/90 mmHg เป็นต้น ความดันที่ปกติของเด็กเองจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ และ ส่วนสูงของผู้ป่วยเด็กรายนั้น โดย
BP percentile ที่ 90-95 จัดเป็น Pre-hypertension (ยังไม่ถือว่าเป็น Hypertension แต่ต้องติดตามและเฝ้าระวังเอาไว้)
BP percentile ที่ 95- 99th+5 จัดเป็น Hypertension stage 1 
BP percentile ที่มากกว่า 99th+5 จัดเป็น Hypertension stage 2 





ถ้าถามว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องแบ่ง Stage ของ Hypertension ? 

ก็เพราะทำให้เราสามารถวางแผนการรักษาในผู้ป่วยแต่ละรายได้ เช่น ถ้าอยู่ในกลุ่ม HT stage 1 อาจจะพิจารณาทำ life style modification ก่อน ถ้า Fail ค่อยเริ่มรักษาด้วย Medication , ส่วนถ้าเป็นกลุ่ม HT stage 2 ต้องเริ่มยาลดความดันเลย พร้อมทั้งต้องซักประวัติ หรือ ตรวจร่างกายร่วมด้วยว่ามีภาวะ Hypertensive Urgency หรือ Emergencyหรือไม่ เพราะมีผลกับแนวทางการลดความดัน ว่าควรจะต้องลดเร็ว หรือ ไม่รีบลด

เพราะฉะนั้นการดูความดันผู้ป่วยเด็กในวอร์ด ต้องอาศัยตารางและบทนิยามที่ผมได้กล่าวข้างต้นไปแล้ว เมื่อได้รับการ Notify เรื่องความดันของผู้ป่วยเด็กที่สูงมากผิดปกติจริง เราก็ต้องเข้าไปถามอาการ และ ตรวจร่างกาย เพื่อ Screen เรื่อง Hypertensive Emergency ต่าง ๆ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก(Hypertensive encephalopathy) ตาพร่ามัว( Hypertensive retinopathy) หายใจหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ (Hypertensive cardiomyopathy) ถ้าจำเป็นอาจจะต้องวัด Manual เอง เนื่องจากบางครั้งการใช้ cuff วัดความดันผู้ป่วยเด็ก ไม่เหมาะกับขนาดแขนของผู้ป่วยรายนั้น ถ้าเล็กไป ความดันก็จะสูงขึ้นได้ แต่ถ้าใช้ Cuff ใหญ่ไป ก็ทำให้วัดความได้ต่ำกว่าความเป็นจริงได้ ( โดยเลือกจากความกว้างของสายวัด เป็น 40% ของเส้นรอบวงแขน ตรงจุดกึ่งกลางระหว่าง Acromion และ Olecranon )

เด๋ว พรุ่งนี้จะมาต่อภาค 2 เกี่ยวกับเรื่องความดันและแนวทางการรักษาในเด็กนะครับ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics