Denver II Part 1

สวัสดีครับ เกือบจะครึ่งเดือนแล้ว ยังไม่มีบทความออกมาให้อ่านกันเลย อันนี้เลยตั้งใจเขียนขึ้นมาสำหรับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่สนใจประเมินพัฒนาการเด็ก ซึ่งเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการมีหลายแบบ แต่แบบหนึ่งที่เราใช้กันบ่อย คือ Denver II ซึ่งวันนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการประเมินคร่าว ๆ กันนะครับ (อาจจะขอแบ่งออกเป็น 2 part)

Denver II เป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า ซึ่งนั่นจะต้องอาศัยแบบทดสอบอย่างอื่นที่จำเพาะมากขึ้น หรือ การส่งตรวจประเมินสาเหตุอย่างอื่นเพิ่มเติม รวมถึงการทดสอบนี้ ก็ไม่ใช่การทดสอบ IQ หรือ ประเมินระดับเชาน์ปัญญาแต่อย่างใด

ซึ่งการประเมิน Denver II นั้น สามารถประเมินพัฒนาการเบื่องต้นทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Personal-social , Fine motor , Language , Gross motor วันนี้เราจะมาลองทำความเข้าใจวิธีการตรวจกัน

 
1. เราต้องคำนวณหา Corrected Age ในผู้ป่วยรายนี้ก่อน โดยถ้าเด็กเกิดก่อน GA 38 wk ต้อง Correct ให้ได้ 40 wk ซึ่งมีวิธีการคำนวณง่าย ๆ ตามตัวอย่าง 

                                     ปี               เดือน          วัน
วันที่ตรวจ                   2558               8               3 _
วันเกิด                        2555              12             8
                                       2ปี              7เดือน     25วัน

เมื่อเราได้ Corrected age ของผู้ป่วยแล้ว เราก็จะทำการขีดเส้น ดูว่าผ่าน Item อะไรบ้างที่เราต้องตรวจ

 
 
2. โดยหลังจากที่เราขีดเส้นแล้ว เรามักจะเริ่มทดสอบเด็ก ก่อนหน้าเส้นสักสามบล็อกเป็นอย่างน้อย โดยเราจะมีการแปลผล 3 ระดับ
 
2.1 แปลผลแต่ละ Item ถ้าทำได้ เราจะให้ P , ถ้าทำไม่ได้ให้ F , ถ้าเด็กไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ ให้ R(refuse) , แต่ถ้า Item ไหน มีตัว r นำ นั่นหมายความว่า สามารถถามได้ว่า ที่บ้านทำไหม ซึ่งถ้าพ่อแม่บอกว่า ยังไม่เคยให้ลูกลองทำ เราจะเรียกว่า No (No Opportunity)
 
2.2 เป็นการแปลผลแต่ละ Item ว่าเป็น Normal , Caution or Delay

โดยถ้าเส้นลากผ่านบล็อกสีขาว นั่นหมายความว่าเด็กวัยนี้ประมาณ 25-75%สามารถทำ Item นี้ได้ ส่วนบล็อกสีเข้ม หมายถึงเด็กวัยนี้ สามารถทำ Item นี้ได้ 75-90%
 
  • โดยถ้าเส้นลากผ่านบล็อกสีขาวแล้วเด็กทำไม่ได้ F ให้ถือว่าเด็กคนนี้ยัง Normal เพราะมีอีกตั้ง 25% เป็นอย่างน้อยของเด็กวัยนี้ที่ทำไม่ได้
  • ถ้าเส้นลากผ่านบล็อกสีเข้ม แล้วเด็กทำไม่ได้ F ให้ถือว่าเป็น Caution เนื่องจากมีเด็กในวัยนี้ไม่ถึง 25% ที่ทำไม่ได้
  • ถ้าเส้นลากผ่านหลัง Item นั้น แต่เด็กยังทำ Item นั้นไม่ได้หรือ F ให้ถือว่าเป็น Delay
2.3 หลังจากนั้นให้รวมทั้งหมดของทุกด้าน ถ้ามี Item ที่เป็น Caution อย่างน้อย 2 ข้อ หรือ Delay อย่างน้อยหนึ่งข้อ เราจะสรุปว่าผู้ป่วยรายนี้มี Suspected หรือสงสัยว่ามีภาวะพัฒนาการช้า แต่เนื่องจากการตรวจนี้ ไม่สามารถบอก Diagnosis ได้ อาจจะต้องนัดมาประเมินใหม่ในอีก 2 สัปดาห์ และอาจจะต้องหา Test ในการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม
 
แต่ถ้าไม่มี Delay หรือ มี Caution แค่ข้อเดียว ถือว่า Normal
 
แต่ถ้าใน Item ที่เราตรวจแล้วได้เป็น R หรือ No ให้มองในแง่ลบสุดว่าเด็กทำไม่ได้ สมมติเป็น F แล้วถ้าการสมมติเป็น F ครั้งนี้ ส่งผลทำให้การแปลผลโดยรวมเด็กเป็น Suspect ให้ถือว่าผลการตรวจครั้งนี้เป็น Untestable
 
3. อย่างที่บอก เริ่มแรกเราจะตรวจ Item ก่อนหน้าเส้นลาก 3 Item หรือตรวจItem ก่อนหน้าเส้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะ P 3 item ติดกัน เมื่อเราได้ P 3 itemครบแล้ว เราจึงจะตรวจย้อนหลังไป จนกว่าเด็กจะทำ Itemไม่ได้ หรือเป็น F ติดกัน 3 item จึงจะหยุด แสดงว่าเกินขีดความสามารถของเด็กจริง ๆ


นี่เป็นแค่เบื้องต้น หรือ น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะความยากของ Denver II คือวิธีการประเมินในแต่ละ Item ต่างหากหล่ะ ฮึ ๆ ต้องยอมรับว่ายากจริง ๆ เพราะผู้เขียนเองนั้น ก็ยังต้องทำไป อ่านวิธีไปเลยในบาง Item 555

เอาเป็นว่าครั้งหน้า เดี๋ยวเรามาลุยกันดูว่า Item ที่มีวิธีการตรวจเฉพาะ จะตรวจกันอย่างไร

ขอบคุณที่ติดตามนะครับ

ปล. สุขสันต์วันแม่ด้วย ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I message VS U message

Sedation in Pediatrics