บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2019

Social Skill

รูปภาพ
“ มนุษย์คือสัตว์สังคม ” เป็นสำนวนฮิตติดปากพวกเรามานาน ดังนั้นทักษะการเข้าสังคมของมนุษย์เรามันเหมือนอยู่ในสายเลือด ไม่ต้องฝึก เราก็สามารถเข้าร่วมสังคม มีเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวได้ แต่ในทางปฏิบัติ หรือแม้กระทั่งการตรวจผู้ป่วยกุมารในปัจจุบัน ผู้เขียนเองกลับพบว่า เด็กไทยยุคใหม่ มีปัญหาทักษะการเข้าสังคม ไม่นับรวมกลุ่มเด็กที่มีความผิดปกติด้านพฤติกรรม อารมณ์ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เด็กปกติทั่วไปบางคนก็ยังคงมีปัญหาการเข้าสังคมได้ ปัญหาที่พบได้มีดังนี้ 1.        Social motivation การขาดแรงจูงใจในการมีเพื่อน เด็กบางคนไม่มีเพื่อน หรือมีเพื่อนน้อยและไม่สนิท คุณพ่อคุณแม่เองอาจต้องพูดคุยกับเด็ก ถามความคิดเหตุผล เด็กอาจคิดว่าอยู่คนเดียวสบายใจกว่า ไม่อึดอัด ไม่ต้องแบ่งของเล่นกับใคร วิธีแก้ : เราอาจจะชวนให้เด็กคิดใหม่ว่า การมีเพื่อนดีกว่าการไม่มีเพื่อนยังไงนะ เช่น เวลาเรามีปัญหาที่โรงเรียนก็จะมีคนช่วย , มีคนนั่งกินข้าวด้วยกัน , มีคนเล่นด้วยกัน , บาครั้งเพื่อนอาจแบ่งขนมให้เรากินด้วย หรือเวลาทำงานกลุ่ม เราก็จะได้ไม่เป็นตัวเหลือ [ ในกระบวนการ

Baby led weaning

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้คุณพ่อคุณแม่บางท่านติดตามข้อมูลและมีการนำมาปรับใช้ เรื่อง Baby led weaning แต่พ่อแม่หลายคนยังไม่เข้าใจวิธีการและเหตุผล ดังนั้น บทความนี้จะมาชี้แจงเพิ่มเติมให้เข้าใจกันมากขึ้น ปกติ เมื่อทารกแรกเกิด จะเริ่มทานนมแม่อย่างเดียว จนถึงอายุประมาณ 4-6 เดือน ก็จะเริ่มอาหารเสริมตามวัย หรือที่เราเรียกว่าเป็น Complementary food  ทั่วไปเราจะเริ่มจากการให้ Complementary food เป็นอาหารบดละเอียดก่อน 1 มื้อ และเมื่อถึงอายุ 8-9 เดือน เราจะให้เป็น 2 มื้อ เมื่อครบ 12 เดือน เราจะให้ 3 มื้อ ซึ่งระหว่างที่เพิ่มมื้ออาหารตามวัย พ่อแม่จำเป็นจะต้องลดปริมาณนมที่ลูกทานลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการทานนมเพียงอย่างเดียว ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนอาจไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต และอีกประเด็นคือ การที่เด็กทานนมมาก ทำให้ไม่รู้สึกหิว ดังนั้นการเริ่มอาหารตามวัยจึงเป็นเรื่องที่ยากในเด็กที่ไม่ได้ลดปริมาณนม  ถ้าเราใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ทุก ๆ ครั้งที่เพิ่มอาหาร 1 มื้อ ควรจะต้องลดนมลงไป 1-2 มื้อเป็นอย่างน้อย เพราะเมื่อทานอาหารครบ 3 มื้อ เด็กก็จะเหลือมื้อนมเพียงแค่ 3 มื้อ เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อทานอาหารหลักครบ 3

Love Language

รูปภาพ
"ผมรักลูกมาก ผมกอดลูกทุกเช้า แต่รู้สึกว่าลูกไม่รักเรา ไม่กอดเรากลับ แถมยังทำท่าผลักออก" "หนูบอกรักแม่ทุกวัน แต่แม่กลับไม่เคยบอกหนูว่ารักด้วยซ้ำ " เคยมีใครรู้สึกอย่างนี้บ้างไหม ประเด็นนี้ มีคนหยิบยกและพูดกันบ่อยครั้ง เรื่องของ ภาษารัก โดยคนที่กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นคนแรกคือ นักจิตวิทยา Dr. Gary Chapman ปัญหาของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ทั้งคนในครอบครัว คนรัก หรือ เพื่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ใช้ภาษารักแตกต่างกัน และ แต่ละคนไม่พยายามทำความเข้าใจภาษารักของอีกฝ่าย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน น้อยใจกัน เมื่อความรู้สึกพวกนี้สะสมมาก ๆ อาจจะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตได้ ดังนั้นในบทความนี้ ผมก็จะอธิบายให้เข้าใจภาษารัก ทั้ง 5 รูปแบบว่าเป็นอย่างไร แล้วเราพยายามลองสังเกตผู้รับความรักจากเราว่า จริง ๆ แล้ว พวกเขาใช้ภาษารักหรือต้องการภาษารักรูปแบบไหน 1. คำพูด [Word of affirmation, Appreciation] ภาษารัก ที่พูดด้วยคำพูด เช่น การบอกรัก บอกเป็นห่วง บอกคิดถึง พูดชมเชย พูดให้กำลังใจ  จัดเป็นภาษารักที่ง่าย ตรงไป ตรงมา ไม่ต้องมีการเดาใจ สิ่งสำคัญ คือ การพูดด้วยความจริงใ