บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2013

โอ้เจ้านกเขาคู จุ๊กจุ๊กกรู ( เหลือบมองลงต่ำ ขันไหมนั่น ) *_*

รูปภาพ
กลับมาเจอกันอีกครั้ง วันนี้ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะวันนี้เป็นวันที่เปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากแพทย์ เป็นคนที่มาใช้บริการทางการแพทย์แทน ( มาตรวจเลือดกะฉีดวัคซีนที่รพ.ศูนย์ ) ซึ่งทำให้เราเรียนรู้วิธีการเข้าถึงการรักษาของคนทั่วไป ความยากลำบากและการเสียเวลารอการตรวจ เลยอยากฝากเพื่อนแพทย์ทั้งหลายให้เอาใจผู้ป่วยมาใส่ใจเราดู รักษาและดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่นะครับ ^^ วันนี้เป็นคำถามคาใจของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ถามผู้เขียนตอนตรวจ Clinic DM ไม่แน่ใจว่าเพื่อน ๆ เคยถูกถามกันบ้างอ่ะป่าว แล้วตอบคำถามของผู้ป่วยอย่างไร  ผู้ป่วยชาย : คุณหมอครับ ผมมีปัญหาเรื่อง นกเขาไม่ขัน  หมอพอที่จะมีทางแก้อะไรไหมครับ  ผู้เขียน : ??? ปัญหาที่ผู้ป่วยเป็นคือ ED ( Erectile dysfunction )  จริง ๆ เกือบ 200 ปีมาแล้ว ที่เราทราบว่าโรคเบาหวานมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย และพบร่วมในอัตราที่สูงมาก ประมาณ 40-50% และอัตราจะสูงขึ้นตามอายุ  การหย่อนสมรรถภาพทางเพศในคนที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท จากการตรวจ autonomic nerve หรือเส้นใยประสาทอัตโนมั...

Rimtar=Rifafour#Rifinah ?

รูปภาพ
พบกันอีกครั้งนะครับ จริง ๆ เรื่องที่จะเขียนวันนี้ เป็นเรื่องสั้น ๆ ไม่มีอะไรให้เคร่งเครียด แต่มีเรื่องอยากจะฝากบอกน้อง ๆ แพทย์ทุกคน ยังจำกันได้ไหม ตอนเราเป็นนักศึกษาแพทย์ เราเคยให้สัญญาต่อพระราชบิดาว่า " I don't want you to be only a doctor but  I also want you to be a man " แพทย์นั้น เก่ง หรือ ไม่เก่ง ไม่เป็นปัญหา เพราะเราสามารถหาความรู้และฝึกฝนให้เก่งได้ แต่ความตั้งใจ เอาใจใส่คนไข้ ไม่เกียจคร้าน สำคัญกว่านะครับ ( ไม่ได้เหน็บใครนะ 555 )  เรื่องที่เขียนวันนี้ จะเป็นเรื่องของการให้ยา Anti-TB drug ครับ โดยทั่วไป ยาหลัก ๆ ก็จะมี 4 ตัวสำคัญ คือ Isoniazid , Rifampicin , Pyrazinamide , Ethambutol แล้วตอนผมเป็นนศพ. ผมก็จะท่องสูตรยาว่า 5 , 10 , 25 , 15 mg/kg/day ตามลำดับ  วันดีคืนดี เจอเคสคนไข้หนัก 32 กิโลกรัม จะให้อย่างไง  Isoniazid 160 mg Rifampicin 320 mg Pyrazinamide 800 mg Ethambutol 480 mg  ตอนผมเจอเคสแรก เอาแล้วซิ จะให้คนไข้กินยาไงเนี่ย เพราะปกติ Isoniazid 100mg/tab ,Rifampicin 300mg/tab , Pyrazinamide 400,500mg/tab , Ethambutol 400mg/tab ตอนนั้น ยอมรับเลย ซวยแล้...

การฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ ใครว่าไม่จำเป็น --! 2

รูปภาพ
ต่อจากเนื้อหาครั้งก่อนนะครับ 6. ไข้หวัดใหญ่ โดยการให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ต้องเปลี่ยนไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น ( seasonal influenza ) ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนทุกปี  กลุ่มประชากรที่ควรหรือมีข้อบ่งชี้ในการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บุคคลที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืด โรคระบบหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์  7. มะเร็งปากมดลูก ปกติเรามีวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 2 ชนิด คือ Gardasil และ Cervarix  Gardasil  เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์ ได้แก่ 6,11,16,18 ซึ่งป้องกันทั้งมะเร็งปากมดลูก ( HPV 16,18 ) และหูดที่บริเวณอวัยวะเพศ ( HPV 6,11 ) โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม ในเดือนที่ 0,2,6 เดือน  Cervarix เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ HPV 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 16,18 เพราะฉะนั้นจะป้องกันได้แค่ มะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม เดือนที่ 0,1,6  โดยแนะนำฉีดวัคซีน...

การฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ ใครว่าไม่จำเป็น --!

รูปภาพ
สวัสดีนะครับ เพื่อน ๆ นักอ่านเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนผู้เขียนยังสบายดี และกินเก่งเหมือนเดิม 555 ช่วงนี้ผู้เขียนเองพยายามจะหาหัวข้อที่อ่านง่าย อ่านได้ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และบุคคลภายนอกทั่วไป อ่านแล้วก็เป็นประโยชน์ด้วย ก็เลยนึกถึงเรื่องของการฉีดวัคซีนในผู้ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้รับการส่งเสริมมากขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าวัคซีนที่เราเคยฉีดกันตอนเด็ก ๆ นั้น ภูมิคุ้มกันอาจจะตกลงไป จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายที่ลดลง ยกตัวอย่างนะครับ ล่าสุด เมื่อประมาณปีก่อน ประเทศไทยมีการรายงานว่ามีการแพร่ระบาดของโรคคอตีบในผู้ใหญ่ ที่ถึงแม้ว่าเคยได้รับวัคซีนจนครบเมื่อตอนเด็ก หรือแม้กระทั่งบาดทะยัก ที่มีการศึกษาว่าภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยักมีแนวโน้มลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปี นั่นจึงเป็นแนวคิดใหม่ที่แนะนำให้ผู้ใหญ่อย่างเราต้องฉีดวัคซีนเพิ่ม 1.โรคบาดทะยัก และ โรคคอตีบ แนะนำฉีดเป็น dT กระตุ้นทุก ๆ 10ปี 2. โรคไอกรน ตอนนี้มีเป็นวัคซีนรวม Tdap ( diphtheria-tetanus-acellular pertussis vaccine ) โดยแนะนำให้ฉีดกระตุ้นเพียง 1 ครั้ง ซึ่งจะให้ภูมิคุ้มกันโรคไอกรนตลอดชีวิต 3. อีสุกอีใส ฉีดป้องก...

การฉีดกระตุ้นวัคซีนพิษสุนัขบ้า น่ารู้ ...

รูปภาพ
ช่วงนี้ผู้เขียนอยู่เวรหนักหน่วงไปหน่อย 555 เลยไม่ค่อยว่างเข้ามาเขียนบล็อกเลย พอมีเวลาจะเขียน ก็ง่วงมาก วันนี้เลยมาเขียนเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ แล้วกันนะครับ ( ประมาณว่า ง่วงนอนมาก ว่างั้นเหอะ 55 )  ไม่แน่ใจว่าเพื่อน ๆ เคยเจอคนไข้ทีี่ถูกสุนัขกัด แต่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าจนครบมาก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าถูกกัดภายใน 6 เดือน หลังจากฉีดครบ เราก็จะฉีดวัคซีนกระตุ้น1 เข็ม ในวันที่ถูกกัดซ้ำ( ได้ทั้งเข้ากล้ามเนื้อ หรือ ใต้ผิวหนัง ซึ่งถ้าเป็นรพ.ชุมชน มักจะใช้ ฉีดเข้าใต้ผิวหนังมากกว่า เนื่องจากประหยัดการใช้ยาด้วย เพราะ ถ้าเป็น PCEC im ใช้ 1 ml แต่ถ้าเป็นแบบ id ใช้ปริมาณยาเพียงแค่ 0.1ml เท่านั้น )  ส่วนในกรณีที่ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าครบ นานเกิน 6 เดือน พิจารณาฉีดกระตุ้นวันละเข็มทั้งใน day 0 และ day 3  แต่ถ้าอยู่ในรพ.ชุมชนไกล ๆ ผู้ป่วยบางคน เขาก็จะมีปัญหาในการเดินทาง ทำให้การฉีดเข็มกระตุ้นใน day 3 มีปัญหาเรื่องผู้ป่วยพลาด หรือไม่มาฉีดกระตุ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทางสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ก็มีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นแบบเข้าใต้ผิวหนัง ตำแหน่งละ 0.1 ml เหมือนเดิม เพียงแต่ฉีดเป็น 4 จุด ใน day 0...