การฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ ใครว่าไม่จำเป็น --! 2

ต่อจากเนื้อหาครั้งก่อนนะครับ

6. ไข้หวัดใหญ่ โดยการให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ต้องเปลี่ยนไปตามชนิดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่คาดว่าจะระบาดในปีนั้น ( seasonal influenza ) ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนทุกปี 
กลุ่มประชากรที่ควรหรือมีข้อบ่งชี้ในการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ บุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บุคคลที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืด โรคระบบหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคเลือด หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และกลุ่มบุคคลากรทางการแพทย์ 

7. มะเร็งปากมดลูก ปกติเรามีวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก 2 ชนิด คือ Gardasil และ Cervarix 
Gardasil  เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์ ได้แก่ 6,11,16,18 ซึ่งป้องกันทั้งมะเร็งปากมดลูก ( HPV 16,18 ) และหูดที่บริเวณอวัยวะเพศ ( HPV 6,11 ) โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม ในเดือนที่ 0,2,6 เดือน 
Cervarix เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อ HPV 2 สายพันธุ์ ได้แก่ 16,18 เพราะฉะนั้นจะป้องกันได้แค่ มะเร็งปากมดลูกเท่านั้น โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 เข็ม เดือนที่ 0,1,6 
โดยแนะนำฉีดวัคซีนแก่เด็ก วัยรุ่นหญิง อายุ 9-26 ปี โดยส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นในเด็กก่อนวัยรุ่น หรือวัยรุ่นตอนต้น ในช่วงอายุ 11-15 ปี เพราะพบว่าเป็นอายุที่เหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเป็นอายุก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ยังไม่ติดเชื้อ HPV แน่ ๆ 
แต่อย่าลืมนะครับ หลังฉีดวัคซีนแล้วยังต้องมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ เพราะเชื้อ HPV 16 และ 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70 เท่านั้น 

8. งูสวัด ปัจจุบันมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดเข้าใต้ผิวหนัง จำนวน 1 เข็ม พบว่าวัคซีนสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคงูสวัดได้ร้อยละ 51.3 ในช่วง 3 ปี ภายหลังได้รับวัคซีน และจะมีประโยชน์สูงสุดในผู้รับการฉีดวัคซีนที่มีช่วงอายุ 60-69 ปี และแม้ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีงูสวัดเกิดขึ้น ก็พบว่าสามารถป้องกันการเกิด post-herpetic neuralgia ได้ร้อยละ 66.5 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้รับวัคซีน 

เพราะฉะนั้น แนะนำหรือชักชวนบุคคลใกล้ชิดรอบตัวเราที่เข้าข่ายที่จะต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น ให้รีบมาฉีดนะครับ เพราะยิ่งอายุมาก ร่างกายยิ่งอ่อนแอ และมีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคบางอย่างแล้ว ทำให้อาการรุนแรงได้ครับ 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics