บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

เตือนภัย!!! หญิงใส่รองเท้ารัดส้น

รูปภาพ
โดยส่วนตัว ผมเองก็ไม่ค่อยสันทัด หรือมีความรู้มากมายในเรื่องของรองเท้ามากนัก ถ้าจะเลือกใส่รองเท้าก็คงเอาเป็นรองเท้าที่ใส่สบาย เดินแล้วคล่องตัวเป็นสำคัญ แต่สำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย เรื่องสบายเป็นเรื่องรอง เรื่องหลักน่าจะเป็นความสวยงาม โฉบเฉี่ยว ทันสมัย และนั่นเองนำไปสู่ปัญหาที่จะตามมาในอนาคต เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสตรวจผู้ป่วยหญิง อายุ 45 ปี หล่อนมาด้วยอาการปวดข้อเท้าด้านขวามา 2 สัปดาห์ โดยผมสังเกตเห็นว่าข้อเท้าขวาของผู้ป่วย เป็นดังรูป สังเกตุให้ดีจะพบว่าหลังข้อเท้าขวาของผู้ป่วยคลำได้เป็นก้อนแข็งต่อกับตำแหน่งของกระดูก Calcaneous หรือกระดูกส้นเท้า เมื่อ film จึงพบว่า จาก film Rt calcaneous lateral พบ enlargement of bony prominence on the heel's back  เมื่อถามผู้ป่วย ก็ได้ประวัติเพิ่มเติมมาว่า ผู้ป่วยเองคลำได้ก้อนข้อเท้าด้านขวามาประมาณ2ปีแล้ว แต่อาการปวดไม่มาก จึงไม่เคยมารพ.มาก่อน  ผู้ป่วยรายนี้มีปัญหาที่เราเรียกว่า Haglund's deformity หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ Pump bump   สาเหตุที่เราเรียก deformity นี้ว่า Pump bump เนื่องจากส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็น มักจะมีเ...

Spot Diag 9

รูปภาพ
เคสหญิงอายุ 58 ปี มารพ.ด้วยอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำมา 2 วัน วันละมากกว่า 10 ครั้ง มีคลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน ระหว่าง Admit เก็บ Stool exam พบ จริง ๆ ไม่ได้ถ่ายรูปเองหรอกครับ ต้องขอยืมภาพคนอื่นเค้ามา เพราะผมได้แต่ผลจากห้องแล็ปที่รายงาน  (ขอบคุณภาพจากhttp://thunderhouse4-yuri.blogspot.com/2011/04/trichomonas-hominis.html) คือตัวไรอ่ะ แล้วต้องรักษาอย่างไร ? เด๋วเย็นนี้ จะเข้ามาเฉลยนะครับ กลับมาแล้วครับ คุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน  มีหลายคนสับสนกับตัวprotozoa ตัวนี้กัน ว่าคือตัวอะไร สังเกตุง่าย ๆ จาก Flagellates, Single nuclei  คำตอบคือ Trichomonas นั่นเองครับ ถ้าอ่านโจทย์ให้ดี ๆ Trichomonas นี้ ตรวจพบจากใน Stool exam ถ้าจะเอาให้ถูกร้อยเปอร์เซ็นเลย คือ Trichomonas hominis ครับ ไม่ใช่ Vaginalis นะครับ 555 จริงๆ แล้ว Trichomonas hominis เป็น normal protozoa ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์อยู่แล้ว โดยปกติ ถ้าตรวจพบโดยบังเอิญ และไม่ได้มีอาการ ไม่ต้องรักษาครับ เพราะโดยปกติตัวมันเองไม่ได้ทำให้เกิดโรคในมนุษย์อยู่แล้ว ยกเว้นในกรณีที่ถ่ายเหลวมาก ...

Hypertension guideline 2014 Vs JNC7

เมื่อไม่นานมานี้ มีGuideline ใหม่ออกมาให้พวกเราได้ยลโฉมกัน นั่นคือ Hypertension guideline 2014 ซึ่งเป็นguideline ที่เพิ่งคลอดออกมา หลังจากที่ปล่อยให้เราเรียนรู้ JNC7 มานานหลายปี 555 ซึ่งถ้าทุกคนจำได้ ผมเคยเขียน JNC7 มาก่อนหน้านี้แล้วครั้งหนึ่ง คราวนี้ เรามาดูว่า Guidlineใหม่นี้ มีอะไรน่าสนใจ หรือมีอะไรเปลี่ยนแปลงจากของเดิมหรือไม่ ทุกครั้งที่จะมีการจัดทำguideline ใหม่ ผู้จัดทำ มักจะต้องมีวัตถุประสงค์ว่าเค้าต้องการตอบคำถามตรงจุดไหน และก็จะมีการรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ เพื่อตอบคำถามเหล่านั้น แล้วนำมาประยุกต์ใช้เป็น Guideline จากที่ทราบกันอยู่แล้ว JNC7 จัดทำเพื่อให้คำนิยามของ Normal BP , Pre-hypertension , Hypertension stage 1 และ 2 รวมถึงบอก Indication และ Contraindication ของยาแต่ละตัว ในผู้ป่วยแต่ละราย และการ Combination ของยาแต่ละตัว (เจ้ารูปหกเหลี่ยม เหมือนตารางทำนายดวงชะตานั่นแหล่ะครับ) แต่ Hypertension guideline 2014 มีจุดประสงค์ที่จะตอบคำถามบางอย่าง ที่ไม่มีคำตอบให้จาก JNC7 คือ JNC7 ไม่ได้บอกว่าจะต้องเริ่มรักษาเมื่อความดันเท่าไหร่ และเป้าหมายของการรักษา ว่าจะเอาเท่าไหร่ , แล้วใ...

Spot diag 8 ( for MD )

รูปภาพ
ทุกครั้งที่ผมลง spot diag มักจะเรียกเรตติ้งให้คนสนใจได้มากเป็นพิเศษ รวมถึงยอดวิวที่พุ่งขึ้นในเวลาเพียงข้ามคืน นั่นทำให้ตัวผมเองรู้สึกกระชุ่มกระชวยเป็นพิเศษ ในการหา spot diag จากผู้ป่วยในรพ.ชุมชนมาให้ลองตอบกันเล่น ๆ ล่าสุดมีเคสหญิงอายุ 78 ปี underlying Old CVA มีตุ่มน้ำใส คันทั่วตัว เป็นมานาน 2 เดือน นอนอยู่ที่วอร์ดผู้ใหญ่มา2วันแล้ว ตัวผมเองเมื่อดูคนไข้จนถึงเตียงนี้ ผมก็เริ่มอ่านประวัติเก่าและดูผลการตรวจร่างกายแรกรับตามปกติเหมือนเตียงอื่น ๆ ก็เกิดเหตุการดังต่อไปนี้ ผม : ครั้งนี้มารพ. เพราะมีอาการอะไรครับ ญาติ : ก็คนไข้มีผื่นทั้งตัว และเป็นตุ่มน้ำ บางตุ่มแตกเป็นแผล เคยมาหาคุณหมอแล้ว จำไม่ได้หรือคะ ( พูดด้วยน้ำเสียประชดประชัน ) ผม : ( ตกใจ เหมือนโดนเหน็บอย่างรุนแรง รีบเปิด OPD card ดูข้อมูลเก่า ) ญาติ : ที่คุณหมอเคยให้ยาแล้วมันไม่ดีขึ้นค่ะ แถมเป็นลุกลามทั่วตัว  ผม : อ้อ ตอนนั้นที่เจอกัน หมอเขียนโน็ตไว้แล้วว่าตอนนั้น ไม่เห็นเป็นตุ่มน้ำ เห็นแค่เป็นลักษณะรอยปื้นแดง และมีขุยอยู่บนผื่นเท่านั้น สงสัยว่าตอนนั้นตัวผื่นอาจจะไม่ชัดเจนครับ เลยทำให้การรักษาไม่ตรงจุด  ...