Spot diag 8 ( for MD )

ทุกครั้งที่ผมลง spot diag มักจะเรียกเรตติ้งให้คนสนใจได้มากเป็นพิเศษ รวมถึงยอดวิวที่พุ่งขึ้นในเวลาเพียงข้ามคืน นั่นทำให้ตัวผมเองรู้สึกกระชุ่มกระชวยเป็นพิเศษ ในการหา spot diag จากผู้ป่วยในรพ.ชุมชนมาให้ลองตอบกันเล่น ๆ

ล่าสุดมีเคสหญิงอายุ 78 ปี underlying Old CVA มีตุ่มน้ำใส คันทั่วตัว เป็นมานาน 2 เดือน นอนอยู่ที่วอร์ดผู้ใหญ่มา2วันแล้ว ตัวผมเองเมื่อดูคนไข้จนถึงเตียงนี้ ผมก็เริ่มอ่านประวัติเก่าและดูผลการตรวจร่างกายแรกรับตามปกติเหมือนเตียงอื่น ๆ ก็เกิดเหตุการดังต่อไปนี้

ผม : ครั้งนี้มารพ. เพราะมีอาการอะไรครับ

ญาติ : ก็คนไข้มีผื่นทั้งตัว และเป็นตุ่มน้ำ บางตุ่มแตกเป็นแผล เคยมาหาคุณหมอแล้ว จำไม่ได้หรือคะ ( พูดด้วยน้ำเสียประชดประชัน )

ผม : ( ตกใจ เหมือนโดนเหน็บอย่างรุนแรง รีบเปิด OPD card ดูข้อมูลเก่า )

ญาติ : ที่คุณหมอเคยให้ยาแล้วมันไม่ดีขึ้นค่ะ แถมเป็นลุกลามทั่วตัว 

ผม : อ้อ ตอนนั้นที่เจอกัน หมอเขียนโน็ตไว้แล้วว่าตอนนั้น ไม่เห็นเป็นตุ่มน้ำ เห็นแค่เป็นลักษณะรอยปื้นแดง และมีขุยอยู่บนผื่นเท่านั้น สงสัยว่าตอนนั้นตัวผื่นอาจจะไม่ชัดเจนครับ เลยทำให้การรักษาไม่ตรงจุด 

ญาติ : แต่ตอนนั้นคนไข้ ก็มีตุ่มน้ำแข็ง ๆ ที่ขาทั้ง 2 ข้างอยู่แล้วนะคะ แล้วทานยาไปก็ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย 

ผม : ใจเย็น ๆ ก่อนนะครับ ผื่นผิวหนังมันมีการเปลี่ยนแปลงกันได้ ผู้ป่วยอาจจะเกาจนตุ่มแตก แล้วหมอไม่ทันสังเกตุก็เป็นได้

ญาติ : ก็คนไข้คัน ก็ต้องเกาสิคะ !!!! ( เสียงแหลมสูง ) 

ผม : ไม่เป็นไรนะครับ เดี๋ยวหมอดูผื่นซ้ำอีกรอบ 

เป็นดังรูปครับ 


ผม : คราวนี้เห็นเป็นตุ่มน้ำแข็งชัดเจนครับ ตรวจในช่องปาก ไม่พบความผิดปกติใด 

สงสัยอะไรกันบ้างครับ 


กลับมาเฉลยกันแล้ว หายไปนานเลย 55 ต้องขอโทษด้วยนะครับ พอดีว่าสัปดาห์นี้อยู่เวรปาไป 5 วัน เลยไม่สะดวกกลับมาเขียนต่อ วันนี้ว่างแล้ว เลยจัดสักหน่อย

Skin lesion ที่เราเห็น ที่เด่นสะดุดตาเลย จะเป็นลักษณะ ของ Tense bullae พบมากบริเวณแขนขา แต่ลำตัวมีเล็กน้อย ที่บริเวณใบหน้า และ ภายในช่องปาก ไม่พบ  คันมาก เมื่อผู้ป่วยเกาจนแตกออก หรือ เอาบริเวณผิวหนังปกติส่วนอื่นไปถูกับข้าง ๆ ตุ่ม ก็จะมีตุ่มขึ้นตามมา บางตุ่มน้ำก็แตกเป็นแผลเอง

สิ่งที่ปิ้งขึ้นมาให้หัวอันแรกเลย คือ Bullous pemphigoid 

Bullous pemphigoid เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากร่างกายสร้าง Antibody ไปจับกับ Epithelial basement membrane ของตัวเอง ทำให้เกิดมีการแยกชั้นของผิวหนัง กลายเป็น ตุ่มน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้น

กลุ่มโรคนี้ มักเกิดได้ในผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี 

มักพบที่บริเวณแขนขามาก ส่วนภายในช่องปาก พบน้อย ประมาณ 10-35% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ที่จะมี lesion ในช่องปาก

Investigation ที่สำคัญ คือ เมื่อเราตัดผิวหนังบางส่วนบริเวณรอบรอยโรค แล้วเอาไปดูด้วยวิธี Direct immunofluorescence จะพบว่ามี IgG และ/หรือ Complement C3 deposit เป็นแนวเส้นตรงตามแนวของ Epidermal basement membrane

หรือ อาจจะตรวจด้วยวิธี Indirect immunofluorescence ด้วยการตรวจ Serum แล้วพบว่ามี Circulating Anti-Basement membrane Antibody

แนวทางการรักษา 

1. Supportive treatment : ทำความสะอาดแผล อาจจะใช้ Burrow's solution หรือถ้าไม่มี พิจารณาเป็น Antiseptic solution ตัวอื่น มาทำความสะอาดแผลก็ได้

2. Specific treatment : 
2.1 Topical steriod
2.2 Systemic steriod 
2.3 Immunosuppressive agent

แต่เราต้องแยกโรคนี้ให้ดีกับกลุ่ม Pemphigus vulgaris ซึ่ง Lesion จะเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่เหมือนกัน แต่ความต่าง คือ ลักษณะถุงน้ำเป็น Flaccid bullae และมักพบว่ามี Involve oral mucosa ร่วมด้วย แต่แนวทางการรักษาคล้ายกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจาก Autoimmune ของผู้ป่วยไปทำลายแนวชั้นของผิวหนังน้ำ ทำให้ชั้นของผิวหน้งแยกกันจนเกิดเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่

ขอบคุณสำหรับการติดตามนะครับ  ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics