Temper Tantrums
กลับมาครองคีย์บอร์ดอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน ....
ตอนนี้กลับมาเรียน Resident ครับ
แน่นอนว่ามันสร้างความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย เวลากิน เวลานอนที่เปลี่ยนไป ความเหนื่อยอ่อนและความเครียดจากการทำงาน ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ ที่ผมเคยทำ ทำให้กิจกรรมบางอย่างที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ กลับห่างออกไป รวมถึงเรื่องการเขียน Blog (พูดมาซะดี นี่เป็นข้ออ้างครับ 555)
เอาเป็นว่า สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมต้องออกตรวจ Clinic COC ซึ่งเป็น คลินิกตรวจผู้ป่วยเด็กต่อเนื่อง หนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจในวันนั้น มีปัญหา เรื่องการร้องอาละวาด เพื่อแสดงความต้องการ เราเรียกภาวะนี้ว่า Temper tantrums
โดยปกติ Temper tantrums เองมักจะเกิดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ และมักจะหายได้เองหลังอายุ 4 ขวบ เกิดจากการที่เด็กขาดทักษะในการสื่อสารถึงความต้องการของตนเอง จึงแสดงออกมาในรูปแบบการร้องอาละวาด โดยภาวะการร้องอาละวาดในแต่ละรอบจะนานประมาณ 30 วินาที ถึง 2 นาที
โดยปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดภาวะ Temper tantrums
1. การเลี้ยงดูในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเลี้ยงดูแบบสปอย พอเด็กอาละวาดทีไร ก็จะได้สิ่งของที่เขาต้องการเสมอ ทำให้ตัวเด็กเองคิดว่าสิ่งที่เขาทำ ได้รับการชมเชยและได้สิ่งของทุกครั้งไป หรือกลุ่มที่เลี้ยงดูแบบเคร่งครัดมากจนเกินไป ทำให้เด็กเอง รู้สึกขาดความรัก และแสดงออกโดยการร้องอาละวาด เพื่อเรียกความสนใจจากพ่อแม่
2. ความเหนื่อย
3. ความเครียด
4. การนอนหลับที่ไม่เพียงพอในเวลากลางคืน
5. ปัญหาที่โรงเรียน เช่นการเข้ากับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้ หรือ ถูกแกล้ง
วิธีการแก้ปัญหาของผู้ปกครอง
1. ให้ความสนใจ และ ใส่ใจลูก ในทุกการกระทำ และตอบสนองทุกการกระทำของลูก ทั้งในแง่ของการชมเชย เมื่อลูกทำสิ่งที่เหมาะสม และตอบสนองลูกในทางลบ (แบบบอกเหตุผลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะอะไร) ถ้าลูกทำให้สิ่งที่ไม่เหมาะสม
2. บางครั้งการร้องอาละวาดของลูก มักเกิดจากความไม่เป็นอิสระ กิจกรรมที่ลูกจะทำเอง และพ่อแม่คิดว่าเขาอาจจะพอทำได้ ลองให้เขาทำดู เช่นเรื่องการใช้ช้อนทานข้าว การติดกระดุม การแปรงฟัน เป็นต้น ถ้าคิดว่ายังไม่ชำนาญอาจเข้าไปช่วยได้
3. ในกรณีที่คิดว่าสิ่งของบางอย่างเด็กไม่ควรเล่น แล้วอยู่ในบ้าน ให้คุณพ่อคุณแม่ เก็บสิ่งของเหล่านั้น ให้พ้นสายตาเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการอาละวาดของเด็กด้วย
4. เบนความสนใจของเด็ก เช่น เวลาเดินห้าง (เจอบ่อย กับเด็กร้องอาละวาด) แล้วเด็กอาละวาด ต้องการเล่นของเล่น หรือ ของเล่นใหม่ ซึ่งพอแม่เองคิดว่ายังไม่สมควร ให้ใช้วิธีเบนความสนใจไปอีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น ไปหาไอศครีมทาน หรือพาไปดูโซนอื่นของห้าง
5. สืบเนื่องจากข้อ 4 คือ ถ้าลูกไม่ยอม อาจจะต้องปฏิเสธ และพูดไปตามความจริง ถึงเหตุผล เช่น ของเล่นที่บ้านมีเยอะแล้ว คราวก่อนของเล่นที่ซื้อไป ลูกก็ไม่ค่อยได้เล่น พร้อมกับแสดงความรักต่อลูก เช่นอาจจะพูดว่า พ่อแม่รักลูกนะ แต่ที่ไม่ซื้อให้ เพราะ ..... ถึงแม้ว่าลูกจะอยู่ในขั้นตอนของการร้องอาละวาดก็ตาม
อย่าเดินหนี หรือไม่สนใจลูก นั่นยิ่งทำให้ลูกอาละวาดมากขึ้น และอาจจะทำให้เขาคิดไปว่าพ่อแม่ไม่รักเขาก็ได้ อยากให้พ่อแม่ต้องเข้าใจเด็กในวัยนี้ด้วย เมื่อโตขึ้น เข้าใจในเหตุผลมากขึ้น สามารถสื่อสารถึงความต้องการได้ดีขึ้น ภาวะนี้ก็จะหายไปครับ
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ง่วงแร้น ^^
ตอนนี้กลับมาเรียน Resident ครับ
แน่นอนว่ามันสร้างความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย เวลากิน เวลานอนที่เปลี่ยนไป ความเหนื่อยอ่อนและความเครียดจากการทำงาน ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันแบบเดิม ๆ ที่ผมเคยทำ ทำให้กิจกรรมบางอย่างที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ กลับห่างออกไป รวมถึงเรื่องการเขียน Blog (พูดมาซะดี นี่เป็นข้ออ้างครับ 555)
เอาเป็นว่า สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมต้องออกตรวจ Clinic COC ซึ่งเป็น คลินิกตรวจผู้ป่วยเด็กต่อเนื่อง หนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจในวันนั้น มีปัญหา เรื่องการร้องอาละวาด เพื่อแสดงความต้องการ เราเรียกภาวะนี้ว่า Temper tantrums
โดยปกติ Temper tantrums เองมักจะเกิดในเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ และมักจะหายได้เองหลังอายุ 4 ขวบ เกิดจากการที่เด็กขาดทักษะในการสื่อสารถึงความต้องการของตนเอง จึงแสดงออกมาในรูปแบบการร้องอาละวาด โดยภาวะการร้องอาละวาดในแต่ละรอบจะนานประมาณ 30 วินาที ถึง 2 นาที
โดยปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดภาวะ Temper tantrums
1. การเลี้ยงดูในครอบครัว โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการเลี้ยงดูแบบสปอย พอเด็กอาละวาดทีไร ก็จะได้สิ่งของที่เขาต้องการเสมอ ทำให้ตัวเด็กเองคิดว่าสิ่งที่เขาทำ ได้รับการชมเชยและได้สิ่งของทุกครั้งไป หรือกลุ่มที่เลี้ยงดูแบบเคร่งครัดมากจนเกินไป ทำให้เด็กเอง รู้สึกขาดความรัก และแสดงออกโดยการร้องอาละวาด เพื่อเรียกความสนใจจากพ่อแม่
2. ความเหนื่อย
3. ความเครียด
4. การนอนหลับที่ไม่เพียงพอในเวลากลางคืน
5. ปัญหาที่โรงเรียน เช่นการเข้ากับเพื่อนที่โรงเรียนไม่ได้ หรือ ถูกแกล้ง
วิธีการแก้ปัญหาของผู้ปกครอง
1. ให้ความสนใจ และ ใส่ใจลูก ในทุกการกระทำ และตอบสนองทุกการกระทำของลูก ทั้งในแง่ของการชมเชย เมื่อลูกทำสิ่งที่เหมาะสม และตอบสนองลูกในทางลบ (แบบบอกเหตุผลว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะอะไร) ถ้าลูกทำให้สิ่งที่ไม่เหมาะสม
2. บางครั้งการร้องอาละวาดของลูก มักเกิดจากความไม่เป็นอิสระ กิจกรรมที่ลูกจะทำเอง และพ่อแม่คิดว่าเขาอาจจะพอทำได้ ลองให้เขาทำดู เช่นเรื่องการใช้ช้อนทานข้าว การติดกระดุม การแปรงฟัน เป็นต้น ถ้าคิดว่ายังไม่ชำนาญอาจเข้าไปช่วยได้
3. ในกรณีที่คิดว่าสิ่งของบางอย่างเด็กไม่ควรเล่น แล้วอยู่ในบ้าน ให้คุณพ่อคุณแม่ เก็บสิ่งของเหล่านั้น ให้พ้นสายตาเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการอาละวาดของเด็กด้วย
4. เบนความสนใจของเด็ก เช่น เวลาเดินห้าง (เจอบ่อย กับเด็กร้องอาละวาด) แล้วเด็กอาละวาด ต้องการเล่นของเล่น หรือ ของเล่นใหม่ ซึ่งพอแม่เองคิดว่ายังไม่สมควร ให้ใช้วิธีเบนความสนใจไปอีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น ไปหาไอศครีมทาน หรือพาไปดูโซนอื่นของห้าง
5. สืบเนื่องจากข้อ 4 คือ ถ้าลูกไม่ยอม อาจจะต้องปฏิเสธ และพูดไปตามความจริง ถึงเหตุผล เช่น ของเล่นที่บ้านมีเยอะแล้ว คราวก่อนของเล่นที่ซื้อไป ลูกก็ไม่ค่อยได้เล่น พร้อมกับแสดงความรักต่อลูก เช่นอาจจะพูดว่า พ่อแม่รักลูกนะ แต่ที่ไม่ซื้อให้ เพราะ ..... ถึงแม้ว่าลูกจะอยู่ในขั้นตอนของการร้องอาละวาดก็ตาม
อย่าเดินหนี หรือไม่สนใจลูก นั่นยิ่งทำให้ลูกอาละวาดมากขึ้น และอาจจะทำให้เขาคิดไปว่าพ่อแม่ไม่รักเขาก็ได้ อยากให้พ่อแม่ต้องเข้าใจเด็กในวัยนี้ด้วย เมื่อโตขึ้น เข้าใจในเหตุผลมากขึ้น สามารถสื่อสารถึงความต้องการได้ดีขึ้น ภาวะนี้ก็จะหายไปครับ
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ง่วงแร้น ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น