บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

Nutritional assessment 1

รูปภาพ
ได้เวลาเคาะสนิมอีกครั้ง เพราะทิ้งการเขียนมานานมาก 555 จากการราวน์เคส ผมเองพยายามจะให้น้องๆ ในสังกัด ได้ฝึกประเมินผู้ป่วยเด็กรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น วัคซีน พัฒนาการ ซึ่งผมเคยเขียนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่อีกหนึ่งที่มีส่วนสำคัญ และผมยังไม่เคยเขียน คือ Nutritional assessment แน่นอนว่าเริ่มต้นจะต้องเริ่มจากการประเมิน Anthropometric methods เราจำเป็นต้องรู้ว่าการประเมินการเจริญเติบโตในเด็กแต่ละช่วงวัย แต่ละcondition เราจะต้องประเมินด้วยวิธีใด และทำอย่างไรให้ถูกต้อง 1. Length / Height ? เมื่อไหร่ต้องวัดความยาว เมื่อไหร่ต้องวัดความสูง ในเด็กที่อายุ < 2 ปี แนะนำให้วัดเป็นความยาว โดยเวลาวัดให้จับ fix ศีรษะและเข่า ในเด็กที่อายุ > 2 ปี แนะนำวัดเป็นความสูงโดยใช้ Standiometer และเวลาวัด ให้เด็กยืนโดยให้ ศีรษะ ไหล่ ก้น และส้นเท้า ชิดกับแผ่นวัด โดยให้เด็กหน้าตรง ให้เส้นที่ลากผ่านหางตา ผ่านexternal ear ตั้งฉากกับแผ่นที่ตรวจวัด 2. Head circumference วัดจนถึงอายุเท่าไหร่ และควรใช้อะไรวัด เราวัดตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งการวัดที่ถูกต้องควรวัดผ่านส่วนที่นูนที่สุดของoccipital part ไปจนผ่าน

Drowning prevention

รูปภาพ
อย่างที่กล่าวไปคราวที่แล้ว ว่าช่วงนี้ผมจะเขียนถึงเรื่อง Child Health Supervision และวันนี้ก็จะนำเสนอเรื่อง Injury prevention อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายมากที่สุดของเด็ก คือ Drowning ( ภาวะการจมน้ำ ) 1. ผมเคยเจอคำถามจากพ่อแม่บางท่าน เกี่ยวกับการให้ลูกเรียนว่ายน้ำ โดยปกติการเรียนว่ายน้ำในเด็กเอง มีจุดประสงค์แตกต่างกัน เช่น อยากให้เด็กได้ไปเรียนรู้สิ่งใหม่ อยากให้มีเพื่อนหรือสังคมมากขึ้น บางคนอยากให้ลูกที่มีปัญหากระดูกหรือข้อ ได้ไปออกกำลังกายหรือเป็นกายภาพบำบัดในน้ำ ซึ่งถ้าด้วยจุดประสงค์เหล่านี้ ก็คงไม่มีปัญหาใด แต่พ่อแม่เองก็ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นกัน แต่ถ้าในกรณีที่ อยากให้เรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำ เพื่อที่จะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ CDC, child safety and injury prevention, drowning prevention แนะนำว่า ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 4 ขวบ ยังไม่มีทักษะที่มากพอ ทั้งในด้านของกล้ามเนื้อ สติ รวมถึงความนึกคิดและระแวดระวัง ทำให้การเรียนว่ายน้ำในเด็กกลุ่มนี้ มักไม่ค่อยได้ผลและเป็นข่าวบ่อยครั้งที่เด็กเล็กที่พ่อแม่บอกว่าว่ายน้ำเป็น  กลับเป็นเหยื่อการจมน้ำซะเอง 2. เมื่อเริ่มมีการเรียนว่ายน้ำ สิ่งที่คว

Car safety

รูปภาพ
งานของกุมารแพทย์ นอกจากการดูแลผู้ป่วยเด็ก มีอีกหนึ่งงานที่สำคัญก็คือการให้คำแนะนำการเลี้ยงดูและเฝ้าระวังให้กับพ่อแม่ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ล้อไปกับพัฒนาการและความคิดของเด็กในแต่ละวัย หนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจคือ Car safety ครับ  Car safety เราทราบกันหรือไม่ว่าสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของเด็ก ไม่ใช่ภาวะการเจ็บไข้ได้ป่วยแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของอุบัติเหตุและการจมน้ำต่างหากที่เป็นสาเหตุหลัก ดังนั้น การมี Car seat สามารถลดอัตราการเสียชีวิตในเด็กทารกได้ประมาณ 70% และในเด็กเล็กได้ถึง 50% เลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อมี Car seat แล้ว ก็ควรจัดตำแหน่งให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด ต่อไปนี้คือตัวอย่างของเด็กเล็กที่มีกระดูกและกล้ามเนื้อต้นคอที่ยังไม่แข็งแรง กับการจัดท่าของ Car seat ทั้งสองแบบ ขณะที่รถเบคกกระทันหัน กับอีกท่าหนึ่ง ขณะรถหยุดกระทันหัน ดังนั้น ในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ขวบ ถ้าจะนั่งรถยนต์ จำเป็นจะต้องมี Car seat ที่เหมาะสมเช่น ในเด็กทารก พิจารณาใช้ infant carrier seat ถ้าโตพอก็จะใช้ Convertible car seat ได้

Scurvy

รูปภาพ
ผ่านไปประมาณ ครึ่งเดือน สำหรับการดำรงชีพในฐานะชีพเด้น ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ตลอด เจอเคสที่น่าสนใจตลอด แล้วก็ได้ฝึกคิด เพราะที่ผ่านมา 2 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำงานผ่าน spinal cord 555 ตอนนี้เลยเริ่มมีไฟอยากเขียนบล็อคต่ออีกครั้ง ก่อนหน้านี้เคยตั้งเป้าว่าจะเขียนเรื่อง Ventilator เท่าที่ความสามารถมี เขียนต่อ แต่ยังไม่มีแรงจุดประกาย ขอชะลอไว้ก่อน แต่สัญญาว่าจะเขียนต่อแน่นอน ล่าสุด เจอเคส เด็กผู้ชายอายุ 11 ปี U/D epilepsy ที่รักษาไม่ต่อเนื่อง, delay development มา present ด้วย ขาด้านซ้ายปวดบวมมา 6 สัปดาห์ ร่วมกับมีจุดเลือดออกที่ขาทั้ง 2 ข้าง ทำให้ไม่สามารถเดินได้ ตรวจร่างกาย ไม่มีไข้ HEENT : gum hypertrophy, periodontal bleeding and Halitosis Extremities : Lt lower leg swelling and tenderness at calf muscle , petechiae hemorrhage and follicular hyperkeratosis both lower legs ในผู้ป่วยรายนี้ Work up CBC : Hb 7.2, Hct 24.3, WBC 7100, N 53%, L 35.9%, M 6.5%, Platelet 352,000 PT 13.3, INR 1.12, APTT 24.6, CPK 80 Film Lt lower leg : prominent soft tissue shadow predominate at pos

Ventilator Part 1

รูปภาพ
กลับมาอีกแล้ว เงียบหายไปนาน มีทั้งเครียดเรื่องการสอบ Osce หรือ Oscar เรื่องงานวิจัย เลยทำให้ไม่มีเวลามานั่งเขียนบล็อค แต่สาเหตุหลัก เกิดจากความโง่ของข้าพเจ้าเอง คือ ข้าพเจ้าลืม Password แล้วยังเปลี่ยนรหัสไม่เป็นอีกตั้งหาก 5555 นั่งงมกันอยู่นานเลย กว่าจะได้เขียนวันนี้ ปัญหาอีกหนึ่งปัญหา หลังจากที่ราวน์วอร์ดกับน้อง ๆ Extern ร่วมกับประสบการณ์จริง ที่เคยรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่เป็นเลย ตอนที่ออกไปใช้ทุน ก็คือเรื่องของการราวน์ ICU หรือ Intensive care unit และประสบการณ์ที่หลอนที่สุดคือ เรื่องของ Ventilator เนื่องจากว่าตอนที่เป็น Extern เองก็ไม่ได้ตั้งใจใฝ่หาความรู้นัก พอโดน notify เรื่องของ Ventilator ตอนเป็น Intern แล้ว เหงื่อโง่ก็ผุดขึ้นอีกตามเคย 5555 ตอนนี้ก็เลยมี Trick เบื้องต้นในการตั้ง Setting ventilator ให้พอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่ต้องออกตัวก่อนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ และไม่ได้รู้ Physiology มากนัก เพราะฉะนั้น ถ้าข้าพเจ้าไม่แน่ใจตรงจุดไหน ข้าพเจ้าจะไม่พูดเลยนะ 555 และ ถ้าผิดตรงไหน อยากจะให้ผู้เขียนแก้ตรงไหน บอกได้เลยจ้าาาา โดยปกติ Mode ของการช่วยหายใจ มีอยู่ 2 ประเภทหลัก ดังนี้