Still Alice อยากจำ แต่กลับลืมเลือน

วางแผนจะเขียนบทความให้ได้อย่างน้อย 2 บทความต่อเดือน แต่ดันเขียนได้เรื่องเดียว คราวนี้เลยต้องรีบเขียนซะก่อนที่ ลืม 


เนื้อหาที่จะเขียนในวันนี้จะพูดถึง หนังที่เพิ่งดูจบ เรื่อง Still Alice ( อลิซ ...ไม่ลืม )


คนที่เรารักเขากำลังจะจากไป โดยที่เรายังได้เห็นหน้า ได้สัมผัส ได้พูดคุยกับเขาอยู่ทุกวัน แต่วันนี้มันจะไม่เหมือนเมื่อวาน และพรุ่งนี้ก็จะต่างไปจากวันนี้โดยสิ้นเชิง โรคอัลโซเมอร์คือหนึ่งในโรคที่ร้ายแรงโรคหนึ่ง ยิ่งกว่าเอดส์ ยิ่งกว่ามะเร็งทุกชนิต ความทรมานจากการสูญเสียความทรงจำไม่ต่างอะไรจากการมีร่างแต่ไร้วิญญาณ ผู้ป่วยจะไม่รู้จักคนที่เคยคุ้น คนในครอบครัว จนในที่สุด เขาจะไม่รู้จักตัวเอง


เรื่องราวเกี่ยวกับดร.อลิซ อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ที่ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ทั้งๆที่เธอเองเพิ่งอายุ 50 ปี ถือเป็นเคสที่พบได้น้อยมากในผู้ป่วยโรคนี้ และกรณีของเธอก็ยังเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกด้วย คนในครอบครัวจึงต้องร่วมมือกันรับมือกับสิ่งที่จะเกิดตามมา เมื่อโรคที่เธอเป็นกำลังกัดกินความทรงจำของเธอทีละคำๆ จนในที่สุด มันจะไม่เหลืออะไรเลย


เป็นหนังครอบครัวที่สร้างแรงบันดาลใจได้เต็มเปี่ยม ทำให้เราเห็นคุณค่าของคนที่เรารัก ความสัมพันธ์ที่ต้องช่วยกันประคับประคองกันไป ทั้งสามีของผู้ป่วย ลูก เพื่อนร่วมงาน สังคมรอบข้าง เพราะโรคนี้มันไม่ได้ทำร้ายร่างกายภายนอก หากแต่มันกัดกร่อนความทรงจำในสมองให้ค่อยๆลดถอยไป เราจะไม่เป็นเราอีกต่อไป เราจะเหมือนอยู่ในร่างใหม่ ของใครก็ไม่รู้และสิ่งรอบข้างก็ล้วนเป็นสิ่งใหม่ เราจะจำไม่ได้แม้กระทั่งตัวเอง วัน เวลา และภาษาพูด จนไม่สามารถสื่อสารอะไรกับใครได้เลย


Alzheimer's disease


หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักมากนัก โดยเฉพาะในประเทศไทย แต่ในประเทศฝั่งตะวันตก กลับพบมากในผู้สูงอายุ ถ้าสังเกตุปฏิกิริยาของญาติผู้ป่วยในหนัง หลังจากที่ได้รับการบอกข่าวร้าย ต่างตกใจและเป็นกังวลมาก เนื่องจากพวกเขารับทราบอาการของโรคนี้ว่าน่ากลัวมากเพียงใด 


โดยอาการเด่นของกลุ่มโรคนี้ เริ่มจากผู้ป่วยมักจะหลงลืมสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในชีวิตประจำวัน เช่นลืมปิดเตารีด ลืมกินยา ลืมชื่อคนที่เพิ่งพบเจอ ชอบพูดซ้ำ ๆ และถามย้ำเพราะจำคำตอบไม่ได้ หลงทางจำทางกลับบ้านไม่ได้ หาของไม่เจอ จำคำศัพท์ไม่ได้ ต้องพูดคำอื่นเพื่ออธิบายคำศัพท์นั้นอีกทีนึง จำทิศทางภายในบ้านไม่ได้ (ฉากนึงสะเทือนใจมาก ดร.อลิซจำไม่ได้แม้กระทั่งว่าห้องน้ำในบ้านอยู่ไหน เดินหาทั่วบ้านจนฉี่ราดกางเกง ดร.จอนห์มาเจอเธอยืนกางเกงเปียกปัสสาวะ แต่ก็ไม่ว่าอะไร ยินดีพาเธอไปเช็ดทำความสะอาดแต่โดยดี) ถ้าเป็นมากเข้า ก็จะลืมแม้กระทั่งการดำเนินชีวิตประจำวัน วิธีการแปรงฟัน(ดังที่ได้เห็นในฉากที่ดร.อลิซ เดินเข้าไปในห้องน้ำ เพื่อที่จะแปรงฟัน อยู่ ๆ เธอก็จำไม่ได้ เธอยืนนิ่งสักพักแล้วบีบยาสีฟันมาป้ายกระจกในห้องน้ำ) จนในที่สุดจะลืมทั้งคนใกล้ตัว ลืมวิธีการพูดการสื่อสาร เสมือนมีแค่ร่างกายแต่ไม่มีจิตใจ T^T


สาเหตุ


โดยเชื่อกันว่าสาเหตุที่ทำให้เกิด Alzheimer's disease เกิดจาก 2 กระบวนการ

1.Neurofibrillary tangles เป็นการที่กลุ่มใยประสาทพันกัน จนทำให้สารอาหารไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงได้

2.Beta-Amyloid ในสมอง ซึ่งจะทำให้มีการสร้างของ Acethylcholine ซึ่งมีส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนรู้และจดจำ ลดลง


การวินิจฉัย 


เบื้องต้น เราจะต้องทำการตรวจ TMSE ( Thai Mental State Examination ) เพื่อดูว่ามีความบกพร่องเกี่ยวกับเรื่องความจดจำหรือไม่ ถ้ามี แพทย์ก็จะทำการตรวจ Imagine เช่น CT หรือ MRI เพื่อตัดสาเหตุอื่นออกไป เช่น เนื้องอก , hydrocephalus , stroke เป็นต้น รวมถึงตรวจผลเลือด เพื่อดูภาวะเกลือแร่ ค่าการทำงานตับไต และ สารพิษ ถ้าตรวจไม่พบโรคอื่น ก็จะสรุปว่าน่าจะเป็นโรคนี้ ( คงไม่มีใครตัดซิ้นเนื้อสมองไปส่งตรวจหรอกนะ ! )


การรักษา


พื้นฐานของโรคนี้มันจะไม่หายขาดอยู่แล้ว เพียงแต่การใช้ยาเองอาจชะลอหรือบรรเทาอาการได้บ้างเช่น

1.Acethylcholinesterase inhibitor เนื่องจากจะได้ลดการทำลายของ Acethylcholine ที่สร้างได้น้อยอยู่แล้ว ลดลง

2.Anti-NMDA เชื่อกันว่า NMDA จะสูงขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้

นอกจากนั้นคงเป็นยาที่ให้รักษาตามอาการ เช่น ซึมเศร้า หรือ นอนไม่หลับ 


แต่หน้าที่สำคัญ คงจะเป็นครอบครัว ที่ต้องช่วยเหลือและดูแลประคับประคอง ปรับไปตามขีดความสามารถของผู้ป่วยที่ถดถอยลงเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น กำลังใจทั้งผู้ป่วยและครอบครัว สำคัญที่สุด


555 เอาเป็นว่าไม่เตะเนื้อหาของทาง Medicine มากเพราะไม่ชำนาญ แต่แพทย์ทั่วไปที่ตรวจผู้ป่วยคลินิกเรื้อรัง ควรต้องใส่ใจ ถามไถ่ และสังเกตุอาการความผิดปกติของผู้ป่วยด้วย อย่างน้อยที่สุด ก็เพื่อเตรียมจะรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป


ขอบคุณแรงบันดาลใจจากหนัง Still Alice ด้วยนะ ซึ้งอ่ะ T^T




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

LDL-C = Total Cholesterol - HDL-C - TG/5 ถูกต้องหรือไม่ ?