Restraint - หมอทำร้ายหนู
สวัสดีครับ เกือบจะหมดเดือน แต่สมองเริ่มตีบตัน 555 คิดไม่ออกว่าจะเขียนเรื่องอะไร ที่ดูน่าสนใจสำหรับเราและคนอื่น รวมถึงไม่เครียดหรือน่าเบื่อจนเกินไป (ดูยากนะ) เลยหยิบเอาเรื่องนี้มาเขียนด้วย ยังไงก็ฝากติดตามด้วยนะครับ ^^
Restraint หรือการทำให้คนไข้สงบ อยู่นิ่ง และไม่วุ่นวาย ถ้าคนที่อยู่อายุรกรรมคงคุ้นชินกันดี แต่สำหรับกุมารแพทย์ ซึ่งต้องดูแลคนไข้เด็ก ที่มักจะต้องมุ้งมิ้งกับเด็ก ๆ บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นเราก็มักจะต้องรักษาภาพลักษณ์หมอผู้ใจดีอยู่เสมอ แม้กับเด็กที่วุ่นวายก็ตาม
ตามมาตรฐานของ JCAHO การ Restraint มีหลักการดังนี้
สิ่งที่แพทย์ต้องเข้าใจคือ ผู้ป่วยคือผู้ป่วย ไม่ใช่นักโทษ
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากเอกสารการเรียนรู้ของอาจารย์จริยา ทะรักษาด้วยครับ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.equipforequality.org/issues/misuse-of-restraint-seclusion/
Restraint หรือการทำให้คนไข้สงบ อยู่นิ่ง และไม่วุ่นวาย ถ้าคนที่อยู่อายุรกรรมคงคุ้นชินกันดี แต่สำหรับกุมารแพทย์ ซึ่งต้องดูแลคนไข้เด็ก ที่มักจะต้องมุ้งมิ้งกับเด็ก ๆ บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นเราก็มักจะต้องรักษาภาพลักษณ์หมอผู้ใจดีอยู่เสมอ แม้กับเด็กที่วุ่นวายก็ตาม
ตามมาตรฐานของ JCAHO การ Restraint มีหลักการดังนี้
- ใช้การผูกยึดเมื่อจำเป็นเท่านั้น หรือ เมื่อไม่มีวิธีอื่นที่ใช้ได้ผลแล้ว
- ใช้วิธีการผูกยึดที่จำกัดผู้ป่วยน้อยที่สุด
- ยุติการผูกยึดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
- ให้ความสำคัญกับการป้องกัน และลดการผูกยึดในรพ.
- คำนึงถึงความปลอดภัย สุขสบาย ศักดิ์ศรี และความลับของผู้ป่วยอยู่เสมอ
- เมื่อผู้ป่วยมีภาวะวุ่ยวาย ควรจะเข้าไปพูดคุยกับคนไข้ หาข้อเท็จจริงว่าสาเหตุที่ทำให้วุ่นวายคืออะไร แล้วเสนอทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย
- จัดให้ผู้ป่วยไปอยู่ในมุมสงบ และมีสิ่งเร้าน้อย เช่นไม่มีคนพลุกพล่านวุ่นวาย ไม่มีเสียงดัง
- เก็บวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสามารถนำมาใช้ในการทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น
- สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วย ไม่มีการพูดจาขมขู่ผู้ป่วย ระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยโกรธ
- ถ้าผู้ป่วยอยากให้ผู้ปกครองอยู่ด้วย ให้ผู้ปกครองอยู่ด้วยได้ ผู้ป่วยจะได้สงบ
- เบี่ยงเบนความสนใจ หรือหากิจกรรมที่ผ่อนคลายให้ผู้ป่วยได้ทำเพื่อคลายกังวล
- ถ้าผู้ป่วยมีภาวะสับสน ให้ Re-Orientation ทุกครั้ง
- ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาวุ่นวายสับสนอยู่แล้ว อาจวางแผนใช้ยาเพื่อทำให้ผู้ป่วยสงบได้ โดยยาที่กุมารแพทย์ใช้เป็นตัวช่วยจะมี
- Benzodiazepine เช่น Lorazepam 0.5-2 mg/dose oral หรือ Midazolam 0.05-0.2mg/kg/dose iv
- Antipsychotic agents เช่น Haloperidol ในเด็กเล็กจะเริ่ม 0.5-2 mg/dose oral ส่วนในเด็กโต 2-5mg/dose oral หรือ Chlorpromazine 0.5-1mg/kg/dose oral หรือปรับลดdoseเป็นครึ่งหนึ่งสำหรับ im
- สุดท้ายแล้วถ้าคิดว่าเอาไม่อยู่จริง ๆ หรือมีข้อห้ามในการใช้ chemical restraint ค่อยเลือกเป็น Physical restraint นะครับ
สิ่งที่แพทย์ต้องเข้าใจคือ ผู้ป่วยคือผู้ป่วย ไม่ใช่นักโทษ
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจากเอกสารการเรียนรู้ของอาจารย์จริยา ทะรักษาด้วยครับ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.equipforequality.org/issues/misuse-of-restraint-seclusion/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น