Denver II Part 2

ในที่สุดก็ได้ฟื้นชีพกลับมาเขียนบล็อกอีกรอบหนึ่ง 555 ผู้เขียนยังคงมีชีวิตอยู่ไม่ต้องตกใจ

เรามาต่อกันให้จบ อีกนิดเดียวเท่านั้นกับ Denver II โดยผมขอสรุปเนื้อความคร่าว ๆ จากคราวก่อนนะครับ การประเมิน Denver II เป็นการตรวจคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยได้ เพียงแต่ถ้าตรวจพบความผิดปกติ เราสามารถส่งตรวจโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานในการวินิจฉัยอีกครั้ง

โดยการประเมินจะมี 4 ด้านหลัก คือ Gross motor, Fine motor , Language, Psychosocial ในแต่ละด้านเองจะมี Item ซึ่งเราใช้อายุที่คำนวณอย่างถูกต้องแล้วของคนไข้ ดูว่าช่วงนั้น เด็กสามารถทำ Item อะไรได้บ้าง แล้วนำมาแปลผลว่า Pass, Fail, No Opportunity, Refuse

หลังจากนั้น เมื่อทำครบทุก Item เราจะมาวิเคราะห์ว่าเด็ก ใน Item แต่ละอัน สรุปแล้วเป็น Normal, Caution หรือ Delay และ เมื่อทำครบ เราจะมาสรุป ว่าเป็น Normal หรือ Suspected ตามที่ได้กล่างไว้ในบทความคราวก่อนแล้ว

วันนี้จะมาพูดเทคนิคในการตรวจ Item ที่สำคัญ ๆ ว่าทำอย่างไรบ้าง

 1.ด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง : การตรวจในส่วนนี้จะค่อนข้างง่าย เพราะมักจะเป็นการถามคำถาม เช่น
  • หยิบของป้อนเอง : จะต้องเป็นของกินเท่านั้น
  • แสดงความต้องการ : เช่นการชี้บอกสิ่งของที่ต้องการ โดยไม่ร้องไห้
  • ถือถ้วยน้ำดื่มเองได้ : ต้องหกไม่เกิน 50%
  • ใช้ช้อน/ส้อมกินอาหาร : ต้องหกไม่เกิน 50%
  • ถอดเสื้อผ้า : ต้องมีความยากในระดับหนึ่ง ไม่ใช่หมวก ถุงเท้า หรือ รองเท้าเตะ ที่สะบัดนิดเดียวก็หลุด
  • แต่งตัวได้เอง  : รวมถึงการติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้า แต่ไม่ต้อง advance ถึงกับติดกระดุมด้านหลัง
  • บอกชื่อเพื่อน : อันนี้ให้เด็กบอกชื่อใครก็ได้ ที่ไม่ใช่คนในบ้าน
  • เล่นเกมส์กระดาน : จุดประสงค์อันนี้ต้องการทราบว่าเด็กมีลักษณะการเล่นเป็น Take turn หรือไม่ เช่นการเล่น OX ที่ต้องสลับกันเล่น , เล่นมอญซ่อนผ้า หรือการเล่นเกมส์กระดานที่ต้องแบ่งเรียงกันเล่น
2.ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและการปรับตัว : เป็นช่วงการตรวจที่สนุก และ หลาย Item สามารถทำเรียงต่อกันโดยใช้อุปกรณ์เดิมได้
  • จับกรุ้งกริ้ง : ถ้ายื่นให้แล้วเด็กไม่ยอมจับ ให้ลองเขี่ยบริเวณหลังมือกระตุ้น
  • มองตามของตก : ผมมักจะใช้ก้อนไหมพรมสีแดง ให้เด็กจ้องก่อนในระดับสายตา แล้วค่อยปล่อยให้พ้นระดับสายตา แล้วดูว่าเด็กมองตามหรือเปล่า เช่นอาจปล่อยให้ก้อนตกถึงพื้นไปเลย เป็นการประเมิน Object permanent (สสารไม่มีการสูญหาย)
  • ถือก้อนไม้มือละก้อน : ไม่ยื่นส่งให้ตรง ๆ แต่เราจะว่าบนกระดานหรือแท่นไม้ โดยว่างก้อนไม้ห่างกัน แล้วดูว่าเด็กสามารถจับก้อนไม้ได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกันหรือไม่
  • หยิบลูกเกดออกจากขวดแก้ว : ทำให้ดู แต่ห้ามพูดคำว่า "เท"
  • เลียนแบบวาดเส้นตั้ง : โดยเราจะวาดเส้นตั้งให้เด็กดูก่อน ให้วาดเข้าหาตัวเด็ก ถ้าเด็กวาดตามโดยทำมุมไม่เกิน 30 องศา ถือว่าผ่าน
  • เลียนแบบวาดรูปสี่เหลี่ยม : เราจะต้องวาดเส้นตั้ง 2 เส้นให้ขนานกันก่อน โดยลากเข้าหาตัวเด็ก แล้วค่อยลากสองเส้นที่เหลือ
3.ด้านภาษา : ส่วนใหญ่จะมีวิธีการตรวจอยู่ด้านหลังแผ่น Denver II อยู่แล้ว ไม่ต้องคิดสำนวนหรือคำถามเอง
  • หันหาเสียงเรียก : ผู้ตรวจควรอยู่ด้านหลังเด็ก และเวลาเรียกชื่อเด็ก ให้เอามือป้องปากไม่ให้ลมกระทบตัวเด็ก
  • เลียงเสียง : คือการเดาะลิ้นหรือเล่นน้ำลาย อย่าไปซ้ำกับการเลียนเสียงพูดคุย ซึ่งเป็นอีก Item
  • บอกสีได้ : ให้ใช้ก้อนไม้สี ต่อเป็นแนวรถไฟ วิ่งเข้าหาตัวเด็ก โดยให้เด็กบอกสีของก้อนไม้แรกที่เข้าหาตัวเด็ก เมื่อเด็กตอบได้ ให้เลื่อนก้อนไม้นั้นมาต่อด้านหลัง
  • นับก้อนไม้ : เราจะให้คำสั่งเด็กหยิบก้อนไม้ก้อนมาวางบนกระดาษตามที่เราต้องการ แล้วถามต่อว่า "บนกระดาษมีก้อนไม้กี่ก้อน"
  • ชี้รูปภาพแล้วบอกชื่อ >> ชี้รูปภาพตามคำบอก>>ถามกิริยา ให้ตรวจเรียงกันไปเลย
4.ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ : ด้านนี้จะตรวจค่อนข้างง่าย แต่จะมีเทคนิคที่ช่วยในการตรวจให้ง่ายขึ้น
  • นั่งได้มั่นคง >> เกาะยืน : โดยให้เด็กนั่งพื้นก่อน แล้วดูว่ามั่นคงไหม หลังจากนั้นใช้เก้าอี้ไว้ให้สำหรับการเกาะยืนของเด็ก โดยอาจจะใช้ลูกบอลในการล่อเด็กได้
  • ยืนตามลำพัง : ต้องนานมากกว่า 10 วินาที
  • เดินถอยหลัง : อันนี้ให้จูงเด็กไปที่ประตู ให้ใกล้ประตู หลังจากนั้นดึงประตูให้เข้ามาใกล้เด็ก ดูว่าเด็กถอยหลังได้ไหม
  • โยนบอล : ต้องเป็นลักษณะการโยนบอลเหนือศีรษะเท่านั้น
  • ยืนขาเดียว : ให้ทำทั้ง 2 ข้าง แต่ละข้างให้ทำ 3 ครั้ง แล้วเลือกครั้งที่ดีที่สุด และข้างที่แย่ที่สุด
หวังว่าบทความนี้พอจะช่วยทำให้ขั้นตอนการตรวจ Denver II ของผู้อ่านง่ายขึ้น และ ถูกต้องมากขึ้นด้วย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

LDL-C = Total Cholesterol - HDL-C - TG/5 ถูกต้องหรือไม่ ?