Nutritional assessment 2 (ผอม/อ้วน)

คนเราก็แปลก เวลาว่างมากไป ก็รู้สึกขี้เกียจไม่อยากทำอะไร วันนี้เป็นฤกษ์ดีในการเขียนบทความต่อ 555 (ปกติเป็นคนชอบบ่น อย่าว่ากันเลยนะ อิอิ) 

คราวก่อนเราพูดกันถึงเรื่อง parameters ว่าเราจะวัดอย่างไร วันนี้เราก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาแปลผล 

ผอม
 
Parameters ที่เราใช้กันเพื่อประเมินความผอม มีหลายอย่าง เช่น

%W/A : เราใช้เกณฑ์ 90, ลบทีละ 15 บอกภาวะ Acute malnutrition 
👉 75-90% : first degree malnutrition
👉 60-74% : second degree malnutrition
👉 < 60%   : third degree malnutrition 
 ซึ่งเราจะใช้ประโยชน์จาก %W/A ในการประเมินภาวะ severe protein energy malnutrition เช่น ถ้า %W/A 60-80% ร่วมกับมีอาการบวม เราจะเรียกเป็น Kawashiorkor (เป็นภาวะที่ขาดโปรตีนอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการบวมทั่วตัว ขาดพลังงาน แต่ไม่รุนแรงเท่า marasmus) แต่ถ้า%W/A < 60% โดยที่ไม่บวม เราจะเรียกเป็น Marasmus ( ขาดทั้งโปรตีน และขาดพลังงานอย่างรุนแรง กลุ่มพวกนี้จะไม่บวม แต่จะผอมแห้งติดกระดูกมากๆ) 

Mid-arm circumference บางครั้งกลุ่มผู้ป่วย Kawashiorkor จะบวมมาก ทำให้การประเมินน้ำหนักอาจไม่น่าเชื่อถือ เราอาจใช้ parameter นี้มาเป็นตัวช่วยได้ ซึ่งต้องนำไปเปรียบเทียบกับกราฟตามอายุอีกที แต่เราอาจใช้ตัวเลข 12.5 เซนติเมตร ถ้าน้อยกว่านี้ น่าจะแย่จริงๆ 

%H/A บางครั้ง chronic malnutrition มาก สามารถส่งผลต่อความสูงด้วย เริ่มที่ 95, ลบออกทีละ 5
💪 90-95% : first degree stunting
💪 85-89% : second degree stunting 
💪 < 85%.  : third degree stunting 

% W/H บางครั้ง อาจจะต้อง relate กับความสูงของเด็กด้วย ว่าสมส่วนหรือไม่
🙏🏾 80-90% : first degree wasting
🙏🏾 70-79% : second degree wasting
🙏🏾 < 70%.  : third degree wasting

ส่วน parameter จำพวก BMI มักใช้ในกลุ่มเด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่มากกว่า 

อ้วน

%W/H บางครั้ง การประเมินเพียงแค่น้ำหนัก อาจจะบอกได้อยาก การดูส่วนสูงด้วย จะทำให้ประเมินได้ถูกต้องมากกว่า
😇 120-139% : overweight
😇 140-199% : obesity
😇 >,= 200 % : morbid obesity

Waist circumference มีประโยชน์ในการนำมาประเมินภาวะ metabolic syndrome (เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็น cardiovascular disease และ T2DM ) 

**Metabolic syndrome**

อายุ            Waist circumference  Triglyceride          HDL-cholesterol   Blood pressure    FBS
10-16 ปี      >,= P90th                     >,=150mg/dl        < 40mg/dl              >,= 130/85.          >,=100
>16ปี.         M >,= 90cm.                 > ,=150mg/dl.      < 40mg/dl.            >,= 130/85.           >,=100
                   F >,= 80cm.                                               < 50mg/dl

โดยที่ให้เอา Waist circumference + 2/4 ข้อที่เหลือ จึงสามารถวินิจฉัยได้
* กรณีที่ผู้ป่วยเป็น T2DM ให้ถือว่าได้ข้อ FBS ไปด้วยครับ

ตอนต่อไปผมก็จะพูดถึงการ count calories ในอาหาร และความต้องการของเด็กในแต่ละวัยกัน ^^

ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.tartoh.com/topic/9657/การออกกำลังกายกับโรคเบาหวาน




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

LDL-C = Total Cholesterol - HDL-C - TG/5 ถูกต้องหรือไม่ ?