Nutritional assessment 3 (Food exchange)

หลังจากที่เราประเมินได้แล้วว่า ในเด็กแต่ละคนมี nutritional status ที่แตกต่างกันอย่างไร เราก็ต้องมาเพ่งเล็งว่า ผู้ป่วยได้รับพลังงานจากอาหารที่ทานเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น การให้ผู้ปกครองทำ food record แล้วนำมาประเมินผล เราก็จะได้ข้อมูลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

รายการอาหารแลกเปลี่ยน (Food exchange) 

โดยเราจะแบ่งอาหารออกเป็น 6 กลุ่ม

🎯 นม : โดยนม 1 ส่วน มีปริมาณ 240 ml มี CHO 12gm, Protein 8gm, Fat 0-8gm ขึ้นอยู่กับนมที่ทานว่าเป็นชนิดไหน เช่นถ้านมธรรมดา ก็จะมี Fat 8gm ในขณะที่นมพร่องมันเนยจะมี Fat 5 gm ส่วนนมขาดมันเนย ก็จะมี Fat 0-1gm ดังนั้นนม 1 ส่วน จึงให้พลังงาน 80-150 kcal 

🎯 เนื้อ : เนื้อ 1 ส่วน จะได้เนื้อสุก 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 30gm ส่วนเนื้อดิบ จะได้ 3 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 40gm โดยจะมี protein 7 gm และมี Fat 0-8gm ตามรูปแบบของเนื้อที่รับประทาน ดังนั้น เนื้อ 1ส่วนจะได้พลังงาน 35-100kcal 
👉 very lean meat : Fat 0-1gm , 35 kcal เช่นกลุ่มเนื้อปลา อกไก่
👉 lean meat : Fat 3gm, 55kcal เช่นเนื้อไก่(ไก่อ่อน)
👉 medium fat meat : Fat 5 gm, 75kcal เช่นเนื้อหมู ไข่ไก่ (50gm/ฟอง) 
👉 high fat meat : Fat 8gm, 100kcal เช่นเนื้อหมูไก่ที่ติดมันติดหนัง แฮม ไส้กรอก

🎯 ข้าว แป้ง ธัญพืช : 1 ส่วน จะให้พลังงาน 80 kcal โดยจะมี CHO 18 gm, Protein 2 gm ซึ่งที่เราใช้คิดบ่อย เช่นข้าวสวย 1 ส่วน คือ 1 ทัพพี=5ช้อนโต๊ะ , ข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ , ขนมจีบ 1จับใหญ่, แครกเกอร์2 แผ่นเล็ก และขนมปังขาว 1 แผ่น 

🎯 ผลไม้ : 1 ส่วน ให้พลังงาน 60kcal , CHO 15gm เช่น กล้วย 1ผล , ชมพู่ 4ผล, ฝรั่งครึ่งลูก, มะม่วงครึ่งลูก, ส้มเขียวหวาน 2 ผลกลาง และแอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก 

🎯 ผัก : โดยปกติผักจะแบ่งเป็นประเภท ก และ ประเภท ข ซึ่งแบบแรกไม่ได้ให้พลังงาน ส่วนชนิดหลัง ให้พลังงาน 1ส่วน = 25 kcal ซึ่งต้องกินในปริมาณที่มากพอสมควร ประมาณ 70gm ดังนั้นโดยส่วนตัว ผมจะไม่นำผักมาคำนวณพลังงาน

🎯 ไขมัน : 1 ส่วน = 1 ช้อนชา = 5 ml = 45 kcal เทียบเท่ากับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เม็ด หรือ ถั่วลิสง 10เม็ด

 ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีปัญหาอ้วน หรือ ผอม เราก็สามารถปรับส่วนอาหารที่ให้พลังงานแก่ผู้ป่วยแต่ละคนอย่างเหมาะสม ดังนั้นเราจึงควรรู้ energy requirement ของเด็กในแต่ละช่วงวัย (ปกติมันจะมีสูตรคำนวณ เนื่องจากเด็กอายุเท่ากัน ความต้องการพลังงานก็ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาวะความเจ็บป่วย หรือ activities ซึ่งการคำนวณค่อนข้างยุ่งยาก ) ซึ่งข้อมูลนี้ เป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ดูแลว่า เด็กคนนี้จำเป็นต้องได้พลังงานเท่าไหร่ ? 

*ขอบคุณ ข้อมูลจาก กรมอนามัย 2546 🙏🏾



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics