Screening anemia
เนื่องจากได้มีโอกาสทำแนวทางการดูแลและคัดกรองเด็กที่มีปัญหาภาวะซีดที่โรงพยาบาล จึงขอโอกาสแชร์ข้อมูลที่อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นบ้าง แต่หากมีข้อมูลใดที่ผมพิมพ์ผิดไปหรือไม่ถูกต้อง สามารถแจ้งได้เลยครับ ผมจะได้เรียนรู้ด้วยครับ
ตาม guideline in child health supervision 2557 จะมีการคัดกรองภาวะซีดตอนช่วงอายุ
-อายุ 6 เดือน - 12 เดือน --> Hb 10 gm/dl, Hct 30%
-อายุ 3 ปี - 6 ปี --> Hb 11 gm/dl, Hct 33 %
-อายุ 11 ปี - 21 ปี --> Hb 11.5 gm/dl, Hct 35 % (ช่วงอายุนี้เราจะตรวจคัดกรองเมื่อเป็นวัยรุ่นหญิงที่มีประจำเดือน, ภาวะขาดสารอาหาร, กินอาหารมังสวิรัติ)
เมื่อคัดกรองเจอความผิดปกติ ต้องส่งพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องประเมินผู้ป่วย ทั้งเรื่องของ growth assessment, BW, Height, Nutritional status, ประวัติบิดามารดา การฝากครรภ์ และตรวจเลือดเพื่อประเมินสาเหตุเบื้องต้น เช่น CBC (Hb,Hct,MCV), Reticulocyte count และPeripheral blood smear
กรณีที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร เราอาจพิจารณา Therapeutic trial โดยการให้ Fe supplement
🎯 Fer-in-sol (15mg of elemental Fe/0.6ml )
🎯 Eurofer ( 10mg of elemental Fe/1ml )
โดยเราจะ Start dose Elemental Fe 4-6 mg/kg/day แบ่งเป็น 2-3 ครั้งต่อวันก่อนมื้ออาหาร นาน 1 เดือน แล้วนัด Follow up ประเมิน ถ้า Hb เพิ่มขึ้น >1 gm/dl หรือ Hct เพิ่มขึ้น > 3% แสดงว่า response ต่อการรักษาด้วย Fe น่าจะเป็น Iron deficiency anemia
หลังจากรักษาจนผลเลือดกลับมาปกติแล้ว เราสามารถปรับลด dose Fe เป็น 2-3 mg/kg/day ต่ออีก 1-3 เดือน พร้อมกับแนะนำ Iron enriched food เพื่อเพิ่ม iron pool ในร่างกายให้เพียงพอ
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลังได้ Fe treatment ต้องหาสาเหตุต่อ ซึ่งอีกโรคที่พบบ่อยคือ Thalassemia อาจต้องตรวจ Hemoglobin typing
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
ข้างบนนี้เป็นแนวทางคร่าวๆ ที่อาจจะนำมาใช้โดยบุคลากรทางสาธารณสุขด้านอื่นๆ ได้
ส่วนแพทย์นั้น เรื่องการวินิจฉัย Iron deficiency anemia เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ผมจะทบทวนความรู้เล็กๆน้อยๆนะครับ ถ้าได้ผล CBC มา 1 ใบ สิ่งที่ต้องดูเพื่อมองหาภาวะ Iron deficiency anemia มีดังนี้
👉MCV : ปริมาตรเม็ดเลือดแดง จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
👉MCH : น้ำหนักของHb ในเม็ดเลือดแดง ก็จะน้อยกว่าปกติเช่นกัน
👉MCHC : ความเข้มข้นเฉลี่ยของ Hb ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจริงอยู่ที่ ปริมาตรเม็ดเลือดแดงเล็กลงจริง แต่ความเข้มข้นของ Hb ก็หายไปมากเช่นกัน ดังนั้นผล MCHC ของภาวะนี้มักจะต่ำกว่าปกติ
👉RDW : เป็นความกว้างของการกระจายขนาดของ RBC ยิ่งขนาดเม็ดเลือดแดงมีการเปลี่ยนแปลงมาก ยิ่งกว้าง ซึ่งในภาวะนี้ผลจะสูงขึ้น >14.5%
👉ตาม peripheral blood smear มาให้เห็นกับตา ก็จะพบ Hypochromic microcytic RBC
ถ้าที่ไหนตรวจผล Iron study ได้ ก็พอช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้ เช่น
💕Serum ferritin < 30ng/ml *****แต่อย่างไรก็ตาม serum ferritin อาจสูงขึ้นในภาวะ inflammatory disease ได้ ถือเป็น acute-phase reactant อีกตัว
💕Transferrin saturation < 15% ซึ่งมีวิธีการคำนวณมาจาก ( serum iron / TIBC ) * 100
ขอบคุณรูปภาพจาก https://home.kku.ac.th/acamed/kanchana/bsi.html ( อาจารย์กาญจนา จันทร์สูง มหาวิทยาลัยขอนแก่น )
*****************************************************************************************************************************
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น