วิธีการปลูกฝัง Growth Mindset
Jack ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba อาณาจักรอีคอมเมิร์ซแสนล้านเหรียญ
Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple สมาร์ทโฟนสุดล้ำยุค
นี่คือตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากความเชื่อ...
เชื่อว่า...ตัวเองจะทำได้ ทำสำเร็จ ไม่ท้อแท้
เชื่อว่า...ความล้มเหลวคือการเรียนรู้ คือประสบการณ์ ที่ผลักดันให้เกิดความพยายามทำจนสำเร็จ
ความเชื่อที่ว่านั้น
คือ Growth Mindset
ตอนที่แล้วhttps://geawsa.blogspot.com/2019/04/mindset.html ผมได้พูดถึงความเชื่อ
ว่ามีอนุภาพมากแค่ไหน และพูดถึงความเชื่อว่าตัวเองพัฒนาได้ [Growth Mindset]
ว่าเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของเด็กยุคใหม่
ที่จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งยืนยันคำพูดนี้ด้วยงานวิจัย Meta-Analysis
ของ John Hattie และคณะ ตีพิมพ์ใน Review of Educational
Research [ตอนนี้ถูกรวบรวมลงในหนังสือ
Visible Learning ปี 2011]
ว่าการปลูกฝัง
Growth mindset เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จทางการศึกษา
โดยที่Effect size สูงถึง 1.44
สำหรับผู้ใหญ่ที่อยากจะปรับเปลี่ยน
Mindset ของตัวเอง
1.
ต้องฟังเสียงในหัวของเราว่าคิดอย่างไร
2.
วิเคราะห์ว่า
เสียงในหัวที่ได้ยิน เป็น Fixed Mindset หรือ Growth
Mindset
3.
ถ้าเป็น
Fixed Mindset ต้องรีบเปลี่ยนเป็น
Growth mindset
ยกตัวอย่าง นาย
ก. ได้รับตำแหน่งให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น นาย ก. จึงรีบไปลงเรียนภาษาญี่ปุ่น
เข้าเรียนวันแรกนาย ก. คิดว่า “ ยากจัง
เราต้องพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้แน่ ๆ เลย ”......
แน่นอนตอนนี้ นาย ก. กำลังคิดว่าตัวเองไม่มีพรสวรรค์ทางด้านภาษาญี่ปุ่น นาย ก.
กำลังคิดว่าตัวเองจะล้มเหลวในการเรียนครั้งนี้ สิ่งที่นาย ก. คิด คือ Fixed
Mindset
นาย ก.
เมื่อรู้ว่าตัวเองมีความคิดแบบ Fixed Mindset นาย ก. จึงรีบเปลี่ยนความคิดของตัวเอง “ถึงเรายังพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ตอนนี้
แต่ถ้าเราพยายามและสนุกไปกับมัน เราต้องพูดภาษาญี่ปุ่นได้แน่นอน”..... เพียงแค่ใช้คำว่า ‘ยัง...ตอนนี้’ เราก็สามารถเปลี่ยนวิธีคิดจาก Fixed
Mindset เป็น Growth
Mindset ได้
แต่แน่นอน
วิธีดังกล่าวอาจจะยากไปถ้าสอนให้เด็กทำ แต่พ่อแม่สามารถปลูกฝังให้ลูกมีGrowth
Mindset ได้
ผ่านการเลี้ยงดู
1.
สิ่งสำคัญเลย
คือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างของ Growth Mindset ทีดี เช่น
เวลาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก พ่อแม่ต้องมีการตั้งเป้าหมาย
แสดงให้เห็นถึงความพยายามและไม่ย่อท้อ ทำกิจกรรมนั้นจนสำเร็จ เหนื่อยก็พักได้
แต่อย่าล้มเลิกกลางคัน
2.
การชมที่ถูกต้อง
ในบทความก่อนหน้านี้ ผมมักจะย้ำอยู่เสมอว่า คำชม
คือแรงผลักดันให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดี มีความคิดที่ดี แต่การชมให้ถูกต้อง มันยากเหมือนกัน
a.
หลีกเลี่ยงคำชม
เช่น เก่ง ฉลาดมาก อัจฉริยะ ตัวอย่างเช่น แม่เห็นลูกอ่านหนังสือออกเสียง แม่ชมลูกว่า
“อ่านหนังสือเก่งมากเลย”
[เป็นการปลูกฝังว่าอ่านหนังสือเก่งแล้ว
ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิด Fixed mindset] แต่เปลี่ยนคำชมให้มุ่งเน้นมาที่ความพยายาม
“แม่ภูมิใจมากเลยที่หนูตั้งใจอ่านหนังสือแบบนี้”
[พยายามพัฒนาตัวเองต่อไปซิ
แม่จะได้ภาคภูมิใจมากขึ้น แบบนี้แหล่ะคือ Growth mindset]
b.
พ่อเห็นลูกวาดภาพ
แล้วชมว่า “วาดภาพสวยมาก วาดเก่งมาก” [วาดสวย วาดเก่งอยู่แล้ว ไม่ได้รู้สึกอยากจะพัฒนาตนเอง Fixed mindset] อาจเปลี่ยนคำชมเป็น
“พ่อชอบรูปนี้มากครับ
ลูกคิดอย่างไรครับถึงวาดรูปแบบนี้ได้ มันมีความคิดสร้างสรรค์มาก”
[การคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดผลงานทางศิลปะที่พ่อชอบ
คิดต่ออีกซิ พัฒนามันอีกให้ดีกว่าเดิม แบบนี้แหล่ะคือ Growth mindset]
c.
สรุปง่าย
ๆ การชมที่ดี ต้องชมอย่างเหมาะสม ไม่มากจนเกินไป ชมตามความเป็นจริงที่เราเห็น
พยายามใข้ I message คือ
ใช้ความรู้สึกของเราเป็นตัวนำ ตามด้วยเหตุผลที่แสดงถึงความพยายามและความตั้งใจของเด็ก
เช่น พ่อภาคภูมิใจที่ลูกตั้งใจอ่านหนังสือจนผลการเรียนดีขึ้น แม่รู้สึกขอบคุณมากเลยที่หนูเอาน้ำมาให้
หนูช่างมีน้ำใจจริง ๆ หรือ แม่ดีใจที่ลูกแม่เล่นของเล่นเสร็จก็เก็บของเอง
หนูมีความรับผิดชอบมากนะ เป็นต้น การชมเหล่านี้ทำให้เด็กรู้สึกอยากจะพัฒนา
มีแรงในการทำสิ่งดี ๆ ต่อไป ต่างจากที่ชมจากผลงานโดยไม่มองถึงความพยายาม
กลุ่มเด็กพวกนี้ ก็จะรู้สึกแพ้ไม่เป็น ยอมรับความล้มเหลวไม่ได้ พอมีข้อผิดพลาด
ก็จะไปโทษคนอื่น ไม่โทษตัวเอง ไม่พัฒนาตนเอง
3.
หลีกเลี่ยงการพูดตีตรา เช่น โง่ ไม่ได้เรื่อง ขี้เกียจ แย่ นิสัยเสีย
เพราะคำต่างๆ เหล่านี้ มันยิ่งทำให้เด็กขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
จนกลายเป็นเด็กไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ [Fixed mindset ว่าตัวเองจะทำได้ไม่ดี จะทำไม่ได้]
4.
เปิดโอกาสให้เรียนรู้จักความผิดพลาด
ไม่ใช่คอยแต่ปกป้อง ยกตัวอย่างง่าย ๆ การขี่จักรยาน เด็กแต่ละคนกว่าจะขี่จักรยาน
2 ล้อได้
ล้มมาไม่รู้กี่ครั้ง ได้มาไม่รู้กี่แผล แต่เขาไม่ยอมแพ้ เรียนรู้จากความผิดพลาดแล้วมาพัฒนาตนเอง
[พ่อแม่บางคนไม่กล้าปล่อยมือจากจักรยาน
พอลูกจะขี่จักรยานทุกครั้ง พ่อแม่ก็ต้องคอยมาจับพยุงไม่ให้ล้ม ลูกก็จะไม่ได้เรียนรู้หรือพัฒนาตัวเอง] หรือ ลูกเล่นต่อจิ๊กซอ แต่ต่อไม่ได้สักที
ผิดด้านบ้าง สลับตัวบ้าง แต่ก็ปล่อยให้เค้าทำต่อ เชียร์ลูก ให้ทำต่อ พยายามอีกนิด
ใกล้มากแล้ว [พ่อแม่บางคนช่วย
เพราะเห็นว่าลูกทำนาน ลูกเริ่มหงุดหงิด เลยรีบช่วยทำให้เสร็จ]
5.
ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม
ทำงานเป็นทีมเวิร์ค ไม่ใช่การเป็นผู้ชนะเพียงคนเดียว
พ่อแม่ควรส่งเสริมกิจกรรมที่ลูกทำร่วมกับเพื่อน
เรียนรู้ที่จะสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน และฝึกการปรับตัวเข้าหาผู้อื่นด้วย
6.
สอนลูกให้เห็นถึง ความสำคัญ และ
ความหมายของงานที่กำลังทำ เช่น พาลูกทำกิจกรรมเก็บขยะในที่สาธารณะ “การเก็บขยะ ทำให้เมืองเราสะอาดขึ้น เชื้อโรคลดลง
หนูและเพื่อนจะได้ไม่เจ็บป่วยบ่อยอย่างไงจ๊ะ ”
7.
เปลี่ยนความคิดเรื่องแย่ ๆ ของลูก เช่น
พอลูกใส่กางเกง แล้วสอดขาทั้งสองเข้าไปในช่องเดียวกัน ถอดออก ใส่เข้าอย่างนี้2-3
รอบ จนเริ่มร้องว่า “หนูทำไม่ได้” พ่อแม่ต้องรีบแก้ด้วยการเปลี่ยนคำพูดง่าย ๆ เช่น “หนูยังทำไม่ได้ แต่ถ้าหนูพยายามอีกนิด
ต้องทำได้แน่ ๆ “
8.
หลีกเลี่ยงการพูดเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น
9.
อย่าลืมว่า
สอนลูกเรื่องสมองของมนุษย์บ่อย ๆ สอนให้เขาเข้าใจว่าเวลาคนเราฝึกอะไร
ลงมือทำอะไร สมองเราจะยิ่งเติบโต และทำให้เราทำสิ่งนั้นได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ [ยิ่งพยายามฝึก
ยิ่งทำได้ดีขึ้น ความสามารถหรือพรสวรรค์มันสามารถพัฒนาได้ ถ้าเราเชื่อว่ามันทำได้]
ดูเหมือนว่าการปลูกฝัง
Growth Mindset ให้กับลูกน่าจะยาก
.................................
.................................
คุณกำลังมี Fixed
Mindset อยู่นะครับ
รีบเปลี่ยนเดี๋ยวนี้เลย
“Growth Mindset อาจจะยาก
แต่ถ้าเราตั้งใจ เราทำได้แน่”
เพราะทั้งหมดนั้น
ก็คือการเลี้ยงลูกทั่วไป ที่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี ชมถึงความพยายาม
เปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมหลากหลาย เรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ตีตรา ไม่เปรียบเทียบ
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.innerdrive.co.uk/how-to-develop-a-growth-mindset/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น