Mindset คืออะไร สำคัญไหม ?
Mindset คืออะไร
Mindset คือ
กรอบความคิด หรือ ความเชื่อที่ส่งผลกับพฤติกรรมของคน เช่น เชื่อว่าถ้าเราพยายาม
เราจะทำได้,
เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ ก็จะทำไม่ได้หรือไม่ยอมทำ เป็นต้น
อำนาจของความเชื่อ
ส่งผลกระทบกับชีวิตของเรามากขนาดนั้นจริง ๆ หรือ ?
.
งานวิจัยปี 2001
ของ Martina Amanzio และคณะ
ได้ทำการทดลองการฉีดยาแก้ปวดในกลุ่มคนไข้หลังผ่าตัด โดยแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีการได้รับการฉีดยาแก้ปวดโดยแพทย์ที่มีการให้ข้อมูลว่า
“หมอจะฉีดยาให้คนไข้นะ
มันจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ดีเลย” เทียบกับการให้ยาแก้ปวดผ่านเครื่องinfusion
โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว [ซึ่งเป็นการฉีดยาแก้ปวดชนิดเดียวกัน
ปริมาณเท่ากัน] กลับพบว่าการบอกผู้ป่วยก่อน
สามารถลดความเจ็บปวดได้มากกว่า และใช้ปริมาณยาแก้ปวดที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน ***
แค่เชื่อว่าจะหายเจ็บปวด
ความเจ็บปวดก็ลดลงไปแล้ว
.
งานวิจัย 2007
ของ Alia J. Crum และคณะ ที่ตีพิมพ์ใน Psychological
science ได้นำเอาผู้หญิง
84 คนที่ทำงานเป็นแม่บ้านในโรงแรม
จากโรงแรมทั้งหมด 7 แห่ง
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้คำแนะนำว่า
“งานที่คุณทำอยู่ถือเป็นการออกกำลังกายทีดี
และศัลยแพทย์แนะนำว่าเป็นหนึ่งใน active lifestyle” โดยอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ให้คำแนะนำใด ผู้วิจัยวัดสัดส่วนของอาสาสมัครก่อนทุกคน
หลังผ่านไป 4 สัปดาห์
โดยที่อาสาสมัครทุกคนทำงานตามปกติ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินหรือออกกำลังกายเพิ่มเติมนอกเหนือจากการทำงานแต่อย่างใด
กลุ่มที่ได้รับคำแนะนำกลับรู้สึกว่าได้ออกกำลังกายมากกว่าเมื่อก่อน นอกจากนั้นแล้วทั้งน้ำหนัก, ความดัน, BMI,
body fat และ waist-hip
ratio ลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับคำแนะนำ***แค่เชื่อว่างานที่ทำคือการออกกำลังกายที่ดี
ร่างกายก็เหมือนได้ออกกำลังกายจริง ๆ
.
งานวิจัย 2011
ของ Alia J. Crum และคณะ ที่ตีพิมพ์ใน American Psychological
Association เก็บข้อมูลจากอาสาสมัครทั้งหมด
46 คน นัดมา 2
ครั้ง ให้อาสาสมัครดื่ม milkshake โดยทั้ง 2 ครั้งจะมีการให้เจาะเลือดก่อนและหลังการดื่มเพื่อตรวจวัดระดับ
Ghrelin ในเลือด [เป็น Gut peptide ที่ควบคุมความหิว ถ้าได้รับอาหาร ระดับมันก็จะลดลง]
โดยนัดครั้งแรก
จะแจ้งกับอาสาสมัครว่าให้ทาน milkshake พลังงานต่ำ
140 kcal ผลการทดลองครั้งแรกพบว่าระดับ
Ghrelin ลดลงแต่ไม่มาก
ในขณะที่นัดครั้งที่ 2 แจ้งกับอาสาสมัครว่าให้ทาน
milkshake พลังงานสูง 620
kcal ผลการทดลองครั้งนี้กลับพบว่าระดับ
Ghrelin ลดลงอย่างมาก
ซึ่งสุดท้ายแล้ว จริง ๆ ทั้ง 2 ครั้งที่นัดอาสาสมัครมา
เป็น milkshake ตัวเดียวกันที่ให้พลังงาน
380 kcal *** แค่เชื่อว่าตัวเองได้อาหารที่มีพลังงานเยอะ
ความรู้สึกหิวก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว
.
งานวิจัยที่กล่าวมาอาจเน้นทางด้านการแพทย์มากไปหน่อย
งั้นเราเปลี่ยนมาเป็นแนววิจัยที่แสดงว่าความเชื่อส่งผลกับพฤติกรรมของมนุษย์เรา
โดยในปี 2013 Alia J. Crum และคณะ
[เช่นเดิม]
ทำงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal
of Personality and Social Psychology โดยนำอาสาสมัครที่เป็นพนักงานในบริษัทการเงินระหว่างประเทศมาประเมินระดับความเครียดในการทำงาน
หลังจากนั้นแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกจะได้ดูวิดีโอ
Stress-is-enhancing [ความเครียดเป็นแรงผลักดันให้เราพัฒนาขึ้น]
และอีกกลุ่มจะได้ดูวิดีโอ Stress-is-debilitating
[ความเครียดทำให้ร่างกายเราอ่อนแรง]
หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ มาติดตามประเมินอาการเครียดวิตกกังวล, คุณภาพของงาน และบุคลิกภาพ พบว่ากลุ่มที่ถูกปรับเปลี่ยนความคิดว่าความเครียดคือโอกาสที่ทำให้เราได้พัฒนา
มีอาการเครียดลดลง คุณภาพของงานและบุคคลิกภาพดีขึ้น***แค่เชื่อว่าเราจะทำได้ดีขึ้น เราก็จะทำได้ดีขึ้น
และตอกย้ำว่าความเชื่อสามารถเปลี่ยนได้
โดยบุคคลแรกที่ได้นำเสนอทฤษฏี
Mindset คือ ศาสตราจารย์
Carol S. Dweck ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาศักยภาพของมนุษย์แห่งมหาวิทยาลัย
Standford ประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยได้แบ่งกกลุ่มความเชื่อหรือ Mindset ออกเป็น
2 กลุ่ม คือ
1.
Growth Mindset คือ
ความเชื่อที่ว่า เราพัฒนาได้ มองว่าปัญหาหรืออุปสรรค
คือโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้และพัฒนา ให้ความสำคัญกับความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาหรือก้าวข้ามอุปสรรค
พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทาย มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ
2.
Fixed Mindset คือ
ความเชื่อที่ว่าความฉลาดของมนุษย์คือพรสวรรค์ เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพิ่มพูนไม่ได้
พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาหรืออุปสรรค์ เพราะคิดว่าทำไม่ได้ รู้สึกไม่อยากล้มเหลว
กลัวว่าถ้าทำแล้วทำไม่ได้จะดูโง่ ดูไม่เก่ง เสียภาพลักษณ์
ดังนั้นความเชื่อที่เป็นสิ่งสำคัญ
ที่ส่งผลกับพฤติกรรมของมนุษย์ ส่งผลทำให้มนุษย์คนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ ในฐานะของกุมารแพทย์เอง
เรามองว่าการที่เด็กมี Growth Mindset จะส่งผลให้เด็กกระตือรือร้นที่จะเรียน
กล้าจะเผชิญปัญหาหรืออุปสรรค์ รู้สึกถึงความท้าทาย รู้สึกอยากที่จะพัฒนาตัวเอง เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
ยืนยันสุดท้ายกับงานวิจัยของ
Blackwell, Trzesniewski และ Dweck
ในปี 2007 ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก
โดยทีมวิจัยให้เด็กนักเรียนแรกเข้าชั้นม.1
ทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความเชื่อเกี่ยวกับความฉลาด จากนั้นแบ่งเด็กออกเป็น 2
กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าความฉลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้[Growth
Mindset] และ กลุ่มที่ 2
เชื่อว่าความฉลาดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้[Fixed
Mindset] ร่วมกับการติดตามผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กทั้ง
2 กลุ่มเป็นระยะเวลา
2 ปี พบว่าเด็กในกลุ่ม
Growth Mindset มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มเด็กที่มี
Fixed Mindset อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ***แค่เชื่อว่าความฉลาดพัฒนาได้ ก็จะพัฒนาได้จริงๆ
ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม
Growth Mindset จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง
มันเป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ความเชื่อ ไม่ต้องลงทุนลงแรงมาก แต่มีประสิทธิภาพสูงมากจริง
ๆ
ครั้งหน้า
เราจะมาลองดูว่า มีวิธีไหนบ้างที่จะพอเปลี่ยนแปลง Mindset หรือปลูกฝัง Growth Mindset ในเด็กได้บ้าง [ติดตามด้วยนะ ^^]
รูปภาพจาก https://zurb.com/blog/you-can-t-design-without-a-growth-mindset
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น