บทความ

Social Skill

รูปภาพ
“ มนุษย์คือสัตว์สังคม ” เป็นสำนวนฮิตติดปากพวกเรามานาน ดังนั้นทักษะการเข้าสังคมของมนุษย์เรามันเหมือนอยู่ในสายเลือด ไม่ต้องฝึก เราก็สามารถเข้าร่วมสังคม มีเพื่อน มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวได้ แต่ในทางปฏิบัติ หรือแม้กระทั่งการตรวจผู้ป่วยกุมารในปัจจุบัน ผู้เขียนเองกลับพบว่า เด็กไทยยุคใหม่ มีปัญหาทักษะการเข้าสังคม ไม่นับรวมกลุ่มเด็กที่มีความผิดปกติด้านพฤติกรรม อารมณ์ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เด็กปกติทั่วไปบางคนก็ยังคงมีปัญหาการเข้าสังคมได้ ปัญหาที่พบได้มีดังนี้ 1.        Social motivation การขาดแรงจูงใจในการมีเพื่อน เด็กบางคนไม่มีเพื่อน หรือมีเพื่อนน้อยและไม่สนิท คุณพ่อคุณแม่เองอาจต้องพูดคุยกับเด็ก ถามความคิดเหตุผล เด็กอาจคิดว่าอยู่คนเดียวสบายใจกว่า ไม่อึดอัด ไม่ต้องแบ่งของเล่นกับใคร วิธีแก้ : เราอาจจะชวนให้เด็กคิดใหม่ว่า การมีเพื่อนดีกว่าการไม่มีเพื่อนยังไงนะ เช่น เวลาเรามีปัญหาที่โรงเรียนก็จะมีคนช่วย , มีคนนั่งกินข้าวด้วยกัน , มีคนเล่นด้วยกัน , บาครั้งเพื่อนอาจแบ่งขนมให้เรากินด้วย หรือเวลาทำงานกลุ่ม เราก็จะได้ไม่เป็นตัวเหลือ [ ในกระบวนการ

Baby led weaning

รูปภาพ
เดี๋ยวนี้คุณพ่อคุณแม่บางท่านติดตามข้อมูลและมีการนำมาปรับใช้ เรื่อง Baby led weaning แต่พ่อแม่หลายคนยังไม่เข้าใจวิธีการและเหตุผล ดังนั้น บทความนี้จะมาชี้แจงเพิ่มเติมให้เข้าใจกันมากขึ้น ปกติ เมื่อทารกแรกเกิด จะเริ่มทานนมแม่อย่างเดียว จนถึงอายุประมาณ 4-6 เดือน ก็จะเริ่มอาหารเสริมตามวัย หรือที่เราเรียกว่าเป็น Complementary food  ทั่วไปเราจะเริ่มจากการให้ Complementary food เป็นอาหารบดละเอียดก่อน 1 มื้อ และเมื่อถึงอายุ 8-9 เดือน เราจะให้เป็น 2 มื้อ เมื่อครบ 12 เดือน เราจะให้ 3 มื้อ ซึ่งระหว่างที่เพิ่มมื้ออาหารตามวัย พ่อแม่จำเป็นจะต้องลดปริมาณนมที่ลูกทานลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการทานนมเพียงอย่างเดียว ในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือนอาจไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต และอีกประเด็นคือ การที่เด็กทานนมมาก ทำให้ไม่รู้สึกหิว ดังนั้นการเริ่มอาหารตามวัยจึงเป็นเรื่องที่ยากในเด็กที่ไม่ได้ลดปริมาณนม  ถ้าเราใช้วิธีการง่าย ๆ คือ ทุก ๆ ครั้งที่เพิ่มอาหาร 1 มื้อ ควรจะต้องลดนมลงไป 1-2 มื้อเป็นอย่างน้อย เพราะเมื่อทานอาหารครบ 3 มื้อ เด็กก็จะเหลือมื้อนมเพียงแค่ 3 มื้อ เช่นกัน นอกจากนั้นเมื่อทานอาหารหลักครบ 3

Love Language

รูปภาพ
"ผมรักลูกมาก ผมกอดลูกทุกเช้า แต่รู้สึกว่าลูกไม่รักเรา ไม่กอดเรากลับ แถมยังทำท่าผลักออก" "หนูบอกรักแม่ทุกวัน แต่แม่กลับไม่เคยบอกหนูว่ารักด้วยซ้ำ " เคยมีใครรู้สึกอย่างนี้บ้างไหม ประเด็นนี้ มีคนหยิบยกและพูดกันบ่อยครั้ง เรื่องของ ภาษารัก โดยคนที่กล่าวถึงเรื่องนี้เป็นคนแรกคือ นักจิตวิทยา Dr. Gary Chapman ปัญหาของความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น ทั้งคนในครอบครัว คนรัก หรือ เพื่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ใช้ภาษารักแตกต่างกัน และ แต่ละคนไม่พยายามทำความเข้าใจภาษารักของอีกฝ่าย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกัน น้อยใจกัน เมื่อความรู้สึกพวกนี้สะสมมาก ๆ อาจจะลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตได้ ดังนั้นในบทความนี้ ผมก็จะอธิบายให้เข้าใจภาษารัก ทั้ง 5 รูปแบบว่าเป็นอย่างไร แล้วเราพยายามลองสังเกตผู้รับความรักจากเราว่า จริง ๆ แล้ว พวกเขาใช้ภาษารักหรือต้องการภาษารักรูปแบบไหน 1. คำพูด [Word of affirmation, Appreciation] ภาษารัก ที่พูดด้วยคำพูด เช่น การบอกรัก บอกเป็นห่วง บอกคิดถึง พูดชมเชย พูดให้กำลังใจ  จัดเป็นภาษารักที่ง่าย ตรงไป ตรงมา ไม่ต้องมีการเดาใจ สิ่งสำคัญ คือ การพูดด้วยความจริงใ

I message VS U message

รูปภาพ
ในบทความที่ผ่านมา ผมมักจะเขียนถึง I message อยู่บ่อยครั้ง ว่าเป็นเทคนิคการสื่อสารที่ดี โดยเฉพาะกับเด็กและวัยรุ่น เนื่องจากคำพูดจะน่าฟังมากขึ้น ส่งผลต่อความรู้สึกเชิงบวกมากกว่า อยากที่จะปฏิบัติตามมากกว่า I message คือ การบอกถึงความต้องการหรือความรู้สึกของผู้พูดแทนการใช้อารมณ์หรือคำสั่ง ต่างจาก U message ( เป็นประโยคที่ในชีวิตประจำวัน ได้ยินอยู่ตลอดเวลา ) คือ ประโยคที่บอกว่าอีกฝ่ายหนึ่งทำอะไรผิด หรือมีพฤติกรรมอะไรที่ไม่ดี ฟังแล้วเป็นการว่ากล่าวหรือสั่ง มากกว่าพูดเพื่อที่จะให้แก้ไข ส่งผลให้เกิดความรู้สึกเชิงลบต่อผู้ที่ฟังประโยคนั้น เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า สูญเสียความมั่นใจ บางคนต่อต้านรุนแรง บางคนดื้อเงียบ   และไม่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว ผมขออนุญาต ยกตัวอย่างง่าย ๆ ที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจ 2 ประโยคนี้ได้ แล้วลองพิจารณากันว่า แบบไหนน่าจะดีกว่ากัน “ วิน หายไปไหนมา แม่โทรหา ทำไมไม่รับสาย ไปทำอะไร ” --- U message วินได้ฟังประโยคนี้ น่าจะรู้สึกรำคาญ มากกว่าจะรับรู้ความเป็นห่วงของแม่ “ แม่เป็นห่วงวินมากนะ ที่ติดต่อวินไม่ได้ ไหนเล่าให้แม่ฟังซิ เกิด

วิธีการปลูกฝัง Growth Mindset

รูปภาพ
Jack ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba อาณาจักรอีคอมเมิร์ซแสนล้านเหรียญ Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple สมาร์ทโฟนสุดล้ำยุค นี่คือตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดจากความเชื่อ... เชื่อว่า ...ตัวเองจะทำได้ ทำสำเร็จ ไม่ท้อแท้ เชื่อว่า ...ความล้มเหลวคือการเรียนรู้ คือประสบการณ์ ที่ผลักดันให้เกิดความพยายามทำจนสำเร็จ ความเชื่อที่ว่านั้น คือ Growth Mindset ตอนที่แล้ว https://geawsa.blogspot.com/2019/04/mindset.html   ผมได้พูดถึงความเชื่อ ว่ามีอนุภาพมากแค่ไหน และพูดถึงความเชื่อว่าตัวเองพัฒนาได้ [Growth Mindset] ว่าเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของเด็กยุคใหม่ ที่จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งยืนยันคำพูดนี้ด้วยงานวิจัย Meta-Analysis ของ John Hattie และคณะ ตีพิมพ์ใน Review of Educational Research [ ตอนนี้ถูกรวบรวมลงในหนังสือ Visible Learning ปี 2011] ว่า การปลูกฝัง Growth mindset เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จทางการศึกษา โดยที่ Effect size สูงถึง 1.44 สำหรับผู้ใหญ่ที่อยากจะปรับเปลี่ยน Mindset ของตัวเอง 1.        ต้องฟังเสียงในหัวของเราว่าคิดอย่างไร 2.        วิเคราะห์ว่า เส

Mindset คืออะไร สำคัญไหม ?

รูปภาพ
Mindset คืออะไร Mindset คือ กรอบความคิด หรือ ความเชื่อที่ส่งผลกับพฤติกรรมของคน เช่น เชื่อว่าถ้าเราพยายาม เราจะทำได้ , เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ ก็จะทำไม่ได้หรือไม่ยอมทำ เป็นต้น อำนาจของความเชื่อ ส่งผลกระทบกับชีวิตของเรามากขนาดนั้นจริง ๆ หรือ ? . งานวิจัยปี 2001 ของ Martina Amanzio และคณะ ได้ทำการทดลองการฉีดยาแก้ปวดในกลุ่มคนไข้หลังผ่าตัด โดยแบ่งคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีการได้รับการฉีดยาแก้ปวดโดยแพทย์ที่มีการให้ข้อมูลว่า “ หมอจะฉีดยาให้คนไข้นะ มันจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ดีเลย ” เทียบกับการให้ยาแก้ปวดผ่านเครื่อง infusion โดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว [ ซึ่งเป็นการฉีดยาแก้ปวดชนิดเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน ] กลับพบว่าการบอกผู้ป่วยก่อน สามารถลดความเจ็บปวดได้มากกว่า และใช้ปริมาณยาแก้ปวดที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน *** แค่เชื่อว่าจะหายเจ็บปวด ความเจ็บปวดก็ลดลงไปแล้ว . งานวิจัย 2007 ของ Alia J. Crum และคณะ ที่ตีพิมพ์ใน Psychological science ได้นำเอาผู้หญิง 84 คนที่ทำงานเป็นแม่บ้านในโรงแรม จากโรงแรมทั้งหมด 7 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้คำแนะนำว่า “ งานที่คุณทำอยู่ถือเป็นการอ