บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2013

เมื่อลูกไม่อยู่นิ่ง จะแยกอย่างไรว่า ปกติ หรือ สมาธิสั้น

รูปภาพ
ด้วยบรรยากาศทางการเมืองที่ร้อนระอุ สวนทางกับสภาอากาศตอนนี้ ที่ตรัง ฝนตกหนักมาก ตกตลอดทั้งวัน และตกมาจะครบ 1 สัปดาห์แล้ว น้ำในคูข้างรพ. ก็ดูปริ่ม ๆ จนเกือบที่จะล้นออกมา ช่างน่ากลัวเสียนี่กระไร ยังไงก็ตาม ผู้เขียนขอส่งกำลังใจให้กับผู้ที่กำลังเดือนร้อนจากปัญหาน้ำท่วม สู้ ๆ นะครับ ส่วนใครที่เห็นว่าแถวบ้านเป็นบริเวณที่ไม่น่าไว้วางใจ แนะนำนะครับ ถ้าเป็นบ้านสองชั้น ให้ขนสิ่งของที่จำเป็น ขึ้นไปอยู่ชั้นบนก่อนนะครับ แล้วก็ออกไปซื้อหาอาหาร หรือ ของที่จำเป็น ตุนเอาไว้ก่อน ถึงแม้ไม่ท่วม เราก็ยังสามารถเอามาทานได้ (จากผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาก่อน 555) ส่วนของผู้เขียนเอง ก็รีบออกไปซื้อเสบียงมาตุนเอาไว้ กะว่าน่าจะได้สักสัปดาห์ แต่ซื้อกลับมา 2 ชั่วโมง ตอนนี้น่าจะอยู่ได้ ไม่ถึงวันแล้ว 555  ครับผม บทความบทนี้ ก็ยังคงวนเวียนเกี่ยวกับเรื่องการประชุมวิชาการเด็ก ที่รพ.ศิริราชเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากว่าผู้เขียนเห็นว่า มีบางประเด็น บางหัวข้อ ที่น่ารู้ และ น่าสนใจ และ ดั้นนนนนน ไปกระแทกสมองส่วนการจดจำของผู้เขียนว่า "เออ.. ฉันก็เคยเจอคนไข้แบบนี้ แต่ทำไม๊ ทำไม ไม่ทำเหมือนที่อาจารย์สอนหล่ะเนี่ย&

มาช่วยคุณผู้หญิงเลือกซื้อครีมกันแดดกัน : )

รูปภาพ
วันนี้ขอเขียนเรื่องเอาใจสาว ๆ กันหน่อยนะครับ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนคงเคยทาครีมกันแดด คุณเลือกครีมกันแดดอย่างไร แน่นอน คำตอบแรกของพวกคุณ คือ " ก็ดูค่า SPF ซิย่ะ " แต่เมื่อผมถามต่อว่า แล้วรู้อ่ะป่าวว่า SPF คืออะไร พวกคุณก็ตอบกลับมาว่า " ก็ค่าป้องกันรังสียูวีไง ( พร้อมทำหน้าว่า จำเป็นต้องรู้ละเอียดด้วยหรอ ? ) "  จริง ๆ พวกคุณไม่ต้องรู้ละเอียดมากก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าเรารู้พื้นฐานไว้บ้าง เวลาเลือกซื้อครีมกันแดด เราจะได้ซื้อครีมที่มีคุณสมบัติครบตามที่เราต้องการ วันนี้ผู้เขียนเลยจะพาผู้อ่านมาshopping Sunscreen กันครับ ^^ อย่างแรก เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ารังสีที่มาจากดวงอาทิตย์มีหลายรังสี แต่บางส่วนไดัถูกชั้นบรรยากาศหรือ Ozone กันออกไปบ้างบางส่วน เหลือเพียงส่วนน้อยที่ส่งลงมาที่ผิวโลก โดยรังสีที่เราพูดถึงมากที่สุดคือ รังสี Ultraviolet ซึ่งหลุดลงมาสู่พื้นโลก เพียงแค่ร้อยละ 2-3 ของรังสีที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ แต่เพียงแค่นี้ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผิวของคนเราได้แล้วครับ โดยที่ UV ray ที่ตกกระทบสู่ผิวโลกมี 2 ชนิดคือ UVA(95%)& UVB(5%) ถึงแม้ว่าตัวUVB จะแผ่ลงมาน้อยกว่า แต่มีอัน

SLE ตอนต่อ ( for MD )

รูปภาพ
สวีสดีครับ จากคราวก่อนเราคุยกันถึงเรื่องของแนวทางการวินิจฉัย โรคSLE ซึ่งถ้าผู้อ่าน ได้อ่านจากบทความก่อน ก็จะทราบแนวทางการวินิจฉัยใหม่ เมื่อเราวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะต้องทราบตามมา คือ แนวทางการรักษา ซึ่งต้องยอมรับว่า แพทย์ใช้ทุนโดยทั่วไป แค่วินิจฉัยโรค SLE ได้เอง ก็ถือว่าดีมากแล้ว โดยส่วนใหญ่เรื่องการรักษานั้น เราคงต้องส่งให้แพทย์ผู้ชำนาญเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนซึ่งเป็นเพียงแค่แพทย์ใช้ทุนตัวเล็ก ๆ ( หรอออออ ) ขออนุญาต เขียนวิธี หรือแนวทางการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น ย้ำ!!! เป็นเพียงแค่แนวทางคราว ๆ เท่านั้น เรามาทำความรู้จักกับยาที่ใช้รักษาโรคนี้กันก่อนดีกว่านะครับ 1. Systemic corticosteriod เช่น oral prednisolone , IV Pulse methylprednisolone  อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ากลไกการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายเซลล์ของร่างกายเอง เพราะฉะนั้นการให้ยากลุ่ม Steroid เพื่อกดภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา เรามักจะให้ในกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงของไต และ ทางระบบประสาท  2. Hydroxychloroquine   ถือเป็นยาดีที่ไม่ควร

SLE ( for MD )

รูปภาพ
สวัสดีครับ ล่าสุดผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมของทางรพ.ศิริราช ในหัวข้อเรื่อง "โรคไต และโรคSLE ในเด็ก " มีหัวข้อและการบรรยายใหม่ ๆ ที่น่าสนใจมาก มีการ Update ความรู้ใหม่ ๆ หลายอย่าง เพื่อให้เพื่อนทาง Facebook และ Blog มีส่วนร่วม ผมจะการยิงคำถามเป็นระยะ ถ้ามีผู้อ่านท่านใดตอบถูก ผมก็จะมาตอบเฉลย และถามคำถามต่อไปเป็นระยะครับ 1. ปัจจุบัน criteria ในการวินิจฉัย SLE มีกี่ข้อครับ ของสถาบันใดครับ ?  ท่าทางจะชักชวนไม่ขึ้น 555 ไม่มีคนช่วยตอบคำถามเลย เอาอย่างนี้ ผู้เขียนขอเฉลยเลยนะครับ ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า SLE คืออะไร ผู้เขียนเอง ยังไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง ข้อมูลที่ผู้เขียนเรียบเรียงมา จะไม่ลงลึกไปมาก แค่เอาให้ผู้อ่านเข้าใจคอนเซปของตัวโรคครับ  SLE ( Systemic lupus erythematosus ) หรือที่ภาษาไทยเรียกว่าโรคพุ่มพวง หรือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง  ปัจจุบันนี้ เราหลายท่านคงทราบกันดีว่าโรคนี้ คนที่จะป่วยได้ อย่างแรกคือจะต้องมีพื้นฐานพันธุกรรมที่มีความผิดปกติอยู่เดิม ( genetic variant ) ร่วมกับปัจจัยจากภายนอก ที่กระตุ้นให้รหัสพันธุกรรมที่มีความผิดปกตินี้ สร้างภูมิคุ้มกัน หรือ Anti

ROP โรคทางตา ถ้าคุณแม่เข้าใจโรค มันก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ^^

รูปภาพ
สวัสดีครับ วันนี้กลับมาเจอกันอีกครั้งนะครับ ช่วงนี้สถานการณ์ทางการเมืองกำลังร้อนระอุ ใครที่จะต้องไปชุมนุมประท้วงที่ไหน ฝ่ายอะไร ขอให้ระมัดระวังตนเองด้วย ผมทราบดีและเข้าใจทุก ๆ ฝ่ายและทุก ๆ คน ถามว่าผมอยู่ข้างไหน ฝักใฝ่ฝ่ายไหน ผมตอบไม่ได้ แต่ผมตอบแบบเต็มตามเต็มคำ ว่าผมรักในหลวงครับ ( เข้าใจตรงกันนะครับ ) เรื่องต่อจากครั้งก่อน หลานทั้งสองคนหลังลืมตาดูโลกก่อนกำหนด เนื่องจากปัญหา discordant ที่กล่าวไปครั้งก่อน คุณหมอหลายท่านคงทราบกันดีครับ เด็กที่เกิดก่อนกำหนด มักจะมีปัญหาหลายด้าน ที่เป็นผลสืบเนื่องจากการเจริญเติบโตที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ภายในครรภ์ หนึ่งในนั้นก็คือปัญหาที่เกี่ยวกับตา ใช่แล้วครับ ปัญหาที่หลานทั้ง 2 คนของผมเผชิญอยู่ คือ ROP ( Retinopathy of Prematurity ) เรื่องนี้สร้างความไม่สบายใจให้พี่สาวผมเป็นอย่างมาก แต่เราก็คงทำได้เพียงแค่ให้กำลังใจ คนที่จะเป็นแม่คนได้ ต้องมีความเข้มแข็ง เพราะในอนาคต คุณต้องแหล่งยึดเหนี่ยวให้กับลูก ๆ คุณต้องตั้งสติ ปัญหาที่มันเกิดขึ้น เราสามารถแก้ไขได้ เดี๋ยวนี้การรักษาตา พัฒนาไปมาก โอกาสที่จะรักษาแล้วให้ผลดีมีสูง เพราะฉะนั้นคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายที่

Discordant ( For MD )

รูปภาพ
ช่วงนี้ ชีวิตเข้าสู่โหมดวุ่นวาย ทั้งการงานและเรื่องส่วนตัว เฮ้อ!!!! เอาเป็นว่าถือว่าเป็นการซ้อมเตรียมตัวเรียนต่อแล้วกัน --! อย่างที่ทราบกันดี ผู้เขียนได้เอาเรื่องราวของพี่สาวผู้เขียน มาเขียนในหัวข้อเรื่อง The back-up plan กับ IVF vs IUI ล่าสุดหลังจากที่พี่สาวผู้เขียนตั้งครรภ์ GA 31 wks by LMP twin pregnancy ดันเกิดปัญหาจนได้ ปัญหาที่ว่าคือ เด็กคนหนึ่ง(twin A)มีปัญหารกเสื่อม ทำให้น้ำหนักตัวของเด็กคนนี้(twin A) น้ำหนักน้อยกว่า twin B มาก ซึ่งส่งผลทำให้แพทย์ผู้ดูแลพี่สาว ตัดสินใจทำการผ่าตัดก่อนครบกำหนด ปัญหานี้เรียกว่า DISCORDANCE เนื่องจากพี่สาวของผู้เขียนตัดสินใจทำ IVF ซึ่งตอนทำ ได้ใส่blast เข้าไปในมดลูก ซึ่งตอนนั้นใส่เข้าไปทั้งหมด 2 ตัว หลังจากนั้นเมื่อเจริญเติบโตกลายเป็นครรภ์แฝด( Dichorion diamnion ) ตอนแรกของการ ANC ไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ เริ่มเห็นความแตกต่างของการเจริญเติบโตของ twinA และ twinB  ในช่วงแรก น้ำหนักก็ต่างกันไม่มาก แต่พอ follow up มาเรื่อย ๆ ความต่างมันเพิ่มมากขึ้น และเข้าเกณฑ์ของการวินิจฉัยภาวะ Discordance คือ 1.น้ำหนักทารกต่