SLE ตอนต่อ ( for MD )
สวีสดีครับ จากคราวก่อนเราคุยกันถึงเรื่องของแนวทางการวินิจฉัย โรคSLE ซึ่งถ้าผู้อ่าน ได้อ่านจากบทความก่อน ก็จะทราบแนวทางการวินิจฉัยใหม่ เมื่อเราวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะต้องทราบตามมา คือ แนวทางการรักษา ซึ่งต้องยอมรับว่า แพทย์ใช้ทุนโดยทั่วไป แค่วินิจฉัยโรค SLE ได้เอง ก็ถือว่าดีมากแล้ว โดยส่วนใหญ่เรื่องการรักษานั้น เราคงต้องส่งให้แพทย์ผู้ชำนาญเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนซึ่งเป็นเพียงแค่แพทย์ใช้ทุนตัวเล็ก ๆ ( หรอออออ ) ขออนุญาต เขียนวิธี หรือแนวทางการรักษาเบื้องต้นเท่านั้น ย้ำ!!! เป็นเพียงแค่แนวทางคราว ๆ เท่านั้น
เรามาทำความรู้จักกับยาที่ใช้รักษาโรคนี้กันก่อนดีกว่านะครับ
1. Systemic corticosteriod เช่น oral prednisolone , IV Pulse methylprednisolone
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่ากลไกการเกิดโรคนี้ เกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาทำลายเซลล์ของร่างกายเอง เพราะฉะนั้นการให้ยากลุ่ม Steroid เพื่อกดภูมิคุ้มกัน ถือเป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา เรามักจะให้ในกลุ่มที่มีความเปลี่ยนแปลงของไต และ ทางระบบประสาท
2. Hydroxychloroquine
ถือเป็นยาดีที่ไม่ควรมองข้าม สามารถลดการกำเริบ และชะลอการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดจากตัวโรค( โดยเฉพาะที่ไต ) เพิ่มอัตราการรอดชีวิต สามารถให้ได้ในกลุ่มผู้ป่วยตั้งครรภ์ ลดการเกิดThrombosis และ ลดการสูญเสียbone mass
3. Cyclophosphamide
ยานี้ เป็นยากลุ่มยาเคมีบำบัด ซึ่งเรามักจะนิยมให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการกำเริบรุนแรง เรามักจะให้ยานี้ร่วมกับ corticosteroid ให้ทั้งในช่วง induction phase เมื่อโรคเริ่มสงบลง เราก็จะปรับลดdose เพื่อเข้าสู่ Maintenance phase ต่อ และก็ต้องให้กับSteroid เช่นเดียวกัน
4. Azathioprine
ใช้ในช่วงMaintenance phase และต้องให้พร้อมกับ steroid เช่นกัน
5.Mycophenolate mofetil
มักนิยมใช้แทน iv Cyclophosphamide เนื่องจากให้ผลการรักษาที่ดีกว่า และ ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่า ที่สำคัญยานี้เป็นยากิน จึงสะดวกในการให้มากกว่า Cyclophosphamide แต่ยังติดปัญหาเรื่องราคาที่แพงอยู่มาก ( ให้ได้ทั้งช่วง Induction และ Maintenance phase )
6. Rituximab and Tacrolimus
ให้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อ Cyclophosphamide และ Mycophenolate mofetil
ถ้าเท่าที่เราอ่านมา จะพอทราบว่า เราจะแบ่งช่วงการรักษาคนไข้ เป็น 3 ส่วนหลัก เช่น ช่วงที่มีการ Active ของโรค เราก็จะรักษาโดยให้ induction therapy ก่อน เพื่อคุมโรคและลดความรุนแรงของโรค หลังจากคุมโรคได้ดีแล้ว เราจะลดยาเป็นระดับ Maintenance therapy และหลังจากที่เรารักษาอาการจนดีขึ้นเป็นปกติ เราก็จะ Follow up ประเมินอาการเป็นระยะ ๆ ถ้าประเมินแล้วอาการดี ก็จะลดยาลงเรื่อย ๆ จนผู้ป่วยบางรายสามารถหยุดยาได้ ( แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น )
นอกจากการรักษาหลักแล้ว เราก็ต้องดูแลผู้ป่วยในส่วนต่าง ๆ เสริมไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น
1.ACEI & ARB เพื่อความคุมความดันโลหิต และลด Proteinuria
2.ยาลดไขมันในกรณีที่มี LDL ในระดับสูง
3.high protection sunscreen
4.ระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ ( ต้องระวังมากเป็นพิเศษ เพราะสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของ SLE คือการติดเชื้อ เนื่องจากผู้ป่วยทานยากดภูมิคุ้มกัน จึงมักมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงได้ )
5.ไม่แนะนำการฉีด Live vaccine
อันนี้เอาแบบคร่าว ๆ มาก ๆ ครับ เพราะคิดว่า แพทย์ใช้ทุนทั่วไปส่วนใหญ่ได้จับเรื่องนี้กันค่อนข้างน้อย ถือว่าเป็นการทบทวนความรู้แล้วกันนะครับ
ขอบคุณรูปภาพจาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2e/Symptoms_of_SLE.png/220px-Symptoms_of_SLE.png
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น