บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2014

Spot Diag 7 (For MD)

รูปภาพ
ไมต้องสงสัยว่าทำไมผู้เขียน ถึงเขียนถี่ช่วงนี้ ก็แหง่หล่ะ จะตรุษจีนแล้ว ต้องรีบเคลียร์ตัวเองให้ว่าง เพราะอาจจะหายไปหลายวันนะครับ วันนี้จะพูดถึงเคสหญิงอายุ 15 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัวใด G1 GA 40 wks by U/S ANC ที่รพ. ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด LAB ANC อยู่ในเกณฑ์ปกติดี มารพ. ด้วยมี Labor pain 2 ชั่วโมง ก่อนมารพ. ระหว่าง Admit ผมมาราวน์ตอนเช้า PV : 6 cm , effacement 80% , Station -1 , MI Interval 4 นาที , Duration 30 วินาที Fetal heart rate 130 bpm ผมเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหา จึงได้ทำ ARM ไป พบเป็น Thick Meconium stained  หลังจากทำ ARM ไป ปรากฎว่า มีความผิดปกติกับ FHR เพราะว่า Drop ไปเหลือ 80 bpm  ตอนนั้น คิดในใจว่า ตูไม่น่าทำเล้ยยยยย ด้วยความต๊กกะใจ ผมจึงรีบทำ external fetal monitoring ผลเป็นดังภาพครับ Spot Diag ในวันนี้ จึงให้เราสังเกตุ Tracing แผ่นนี้นะครับ ว่ามีความผิดปกติอะไร แล้วเราจะให้การรักษาเบื้องต้น และมีแผนการรักษาอย่างไรต่อไปครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมจะมาเฉลยให้อ่านกันนะครับ           กลับมาแล้วครับ ต้องขอโทษจริง ๆ ที่มาเฉลยช้าไปสักหน่อย ด้วยบทความนี

Bipolar disorder Vs โรคขาดจิตสำนึกดี

รูปภาพ
สวัสดีอีกครั้งนะครับ ช่วงหลังมานี้ ผมหยิบเรื่องเครียดมาหลายเรื่องแล้ว ขอพักเบรคเรื่องเครียด ๆ มาเปลี่ยนเป็นบทความสบาย ๆ กระเซ้าเย้าแหย่คนในวงการการเมืองกันดีกว่าครับ พอดีว่าช่วงนี้ได้ยินว่ามีคนทั่วไป วินิจฉัยโรคให้กับท่านนายกหญิง ประเทศกุ๊กกู๋ ว่าเป็น Bipolar Disorder ด้วยความที่เราเป็นแพทย์ที่ดี เลยอยากจะให้ข้อมูลให้กับผู้อ่านโดยทั่วไป ได้รับทราบถึงตัวโรคที่แท้จริง เป็นอย่างไร  และสงสารผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ กลัวจะถูกเข้าใจผิดไปด้วย ว่าเป็นโรคโกหกหลอกลวง สงสารจริง ๆ ครับ Bipolar disorder ( โรคอารมณ์สองขั้ว )    สาเหตุ โรคพวกนี้ ไม่ได้เป็นโรคเสแสร้งแกล้งทำแต่อย่างใด โปรดอย่าเข้าใจผิด !!! โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมองและสารเคมีในสมอง ซึ่งส่งผลทำให้การสื่อสารของเซลล์ประสาทแปรปรวนต่างหาก อาการ โรคนี้ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทั้งทางด้านอารมณ์ ความนึกคิด และ พฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยจะเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน แบ่งเป็นช่วง ๆ เช่น บางช่วงเวลาก็เป็นอาการซึมเศร้า ( depression ) ตามด้วยช่วงเวลาที่เป็นปกติ ซึ่งอาจจะปกติเป็นปี แล้วมีอาการคึกคัก พลุ่งพล่าน (

Atrial fibrillation

รูปภาพ
ช่วงนี้อากาศที่จังหวัดตรังหนาวมากครับ ไม่ทราบว่าที่อื่นหนาวกันบ้างไหม และสิ่งที่ตามมากับอากาศหนาว ก็คือหวัด ซึ่งช่วงที่ตรวจ OPD นี่ไข้หวัดเต็มไปหมด ยังก็ดูแลรักษาสุขภาพดี ๆ ด้วยนะครับ วันนี้ขอเล่าประสบการณ์บางอย่างที่อยู่ในรพช. ที่เจอกันบ่อย คือ เรื่อง Atrail fibrillation ครับ เชื่อแน่ว่าหลาย ๆ ท่านคงชำนาญกับการรักษาโรคนี้แบบขั้นพื้นฐานมาพอสมควร แต่สิ่งที่น่าตกใจ คือ ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น AF ไม่เคยได้รับการตรวจเรื่อง Thyroid function test , ไม่เคยได้ทำการตรวจ Echocardiogram มารับยาต่อเนื่องที่รพช.โดยไม่เคยผ่านการตรวจจากแพทย์เฉพาะทาง และที่น่ากลัวกว่าคือ บางคนไม่ได้ทั้ง Warfarin และ Aspirin ก่อนอื่นเลยอยากให้เรา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคสักหน่อย แต่ต้องออกตัวเลยนะครับ ว่าผมยังเป็นแพทย์ทั่วไป ไม่ได้มีความรู้แน่นหนามากพอ เพียงแต่คิดว่า ถ้าเรารู้อะไรสำคัญบางอย่าง น่าจะดีกว่าไม่รู้อะไรเลยนะครับ Atrail fibrillation เป็นลักษณะการเต้นของหัวใจห้องบนที่ผิดปกติ ซึ่งตามปกติแล้ว การเต้นของหัวใจห้องบน จะเริ่มการปล่อยกระแสจาก SA node แล้วเชื่อมต่อไปยัง AV node ของหัวใ

LDL-C = Total Cholesterol - HDL-C - TG/5 ถูกต้องหรือไม่ ?

สวัสดีครับ ไม่ได้มาเขียนหลายวัน ไม่ได้ยุ่งอะไรมากมายหรอกครับ แต่กำลังคิดอยู่ว่า เราจะเขียนอะไรที่น่าสนใจดี พอดีว่าใน Facebook ของผู้เขียน มีเพื่อนเปิดประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาประเด็นหนึ่ง คือการคำนวณ Friederwald's formula เพื่อน ๆ น้อง ๆ อาจจะสงสัยว่า " มันคือการคำนวณอะไร ? " มันเป็นการคำนวณประมาณหาค่า LDL-Cholesterol (Low density lipoprotein) นั่นเอง LDL = Total Cholesterol - HDL (Hign density lipoprotein) - Triglyceride/5 โดยหัวข้อที่คุยกันนั้น เกิดจากการที่ทางรพ.ของเพื่อน น้ำยาที่ใช้ในการตรวจ HDL หมด ไม่สามารถตรวจได้ แต่มีผล LDL มาให้ เพื่อนเลยจะลองกลับสูตรหา HDL จากสูตรนี้แทน แต่ค่าที่ได้ออกมา ดูแปลกเกินกว่าที่ควรเป็น จริง ๆ แล้ว สูตรนี้ ระดับสากลเองไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง และปัจจุบันเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการก็สามารถหาค่า LDL-C ได้ถูกต้อง ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายครับ สูตรนี้ เป็นสูตรที่คิดขึ้นมา เพื่อประมาณ LDL-C เท่านั้น ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจได้ ซึ่งถ้าเรามาทำความเข้าใจตามหลักความจริง จะพบว่า Total Cholesterol = Free-Ch

มาล้วงรกกับ Mr.Geawsa ดูซิจะ poison ขนาดไหน ( Manual removal of Placenta )

รูปภาพ
สวัสดี สวีดัดครับ  บทความที่ตั้งใจจะเขียนวันนี้ สืบเนื่องมาจาก 2 วันที่ผ่านมา ขณะที่ผมกำลังตรวจคลินิก เบาหวาน-ความดัน อย่างตั้งใจนั้น ( แหง่หล่ะครับ แต่ละคนหูหนักสุด ๆ พูดตะโกนถามกับผู้ป่วยยิ่งกว่าตลาดนัดอีก เจ็บคอสุด ๆ ) ในเวลา 11.30 น. ใกล้เที่ยงและหิวมากกกก พี่พยาบาล : หมอคะ ห้องคลอดโทรมาค่ะ  ผม : ( ทำหน้างง เพราะไม่ได้อยู่เวรที่ต้องดูห้องคลอด และรับโทรศัพท์มา พร้อมกับพูดเสียงที่แหบพร่า กรอกใส่โทรศัพท์ ) ครับผม พี่พยาบาลห้องคลอด : หมอคะ พอดีหมอA นามสมมติ ขอให้มาช่วยล้วงรกหน่อยค่ะ ผม : ( เปลี่ยนมาทำสีหน้าฟินนาเล่ เพราะไม่ได้ทำหัตถการของสูติมาเป็นปีแล้ว เนื่องจากรพช.ที่ผมอยู่จะมีพี่หมอสูติดูอยู่ แต่วันนี้พี่ติดธุระ เลยเส็ดเรา 55 ) ครับ จะรีบไปเด๋วนี้ครับ  . . . . . ห้องคลอด  หมอ A : แก ช่วยหน่อยซิ เราล้วงแล้วมันไม่ออกอ่ะ ผม : ได้เลย ( หลังจากนั้นก็รีบใส่ถุงมือสั้นก่อนแล้วตามด้วยถุงมือยาว อย่างรวดเร็วก็คนมันตื่นเต้นอ่ะ อิอิ ) เมื่อเข้าสู่กระบวนการ ซึ่งคนไข้เองอยู่ในท่า lithotomy ( หรือท่าขบนิ่ว ? ) อยู่แล้ว  ผมก็ทำความสะอาดบริเวณขาหนีบของผู้ป่วย และ สวนปัสสาวะออกก่อน ( สำคัญนะครับ ไม่อ

สวัสดีปีใหม่ เริ่มด้วยเคสชวนสงสัยครับ ???

รูปภาพ
สวัสดีครับ และสวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่านทั้งหลายด้วย ปีใหม่นี้ มีหลายคนตั้งเป้าหมายในชีวิตที่จะทำต่อไปในปีพศ.2557 ซึ่งผู้เขียนเองก็มีเป้าหมายที่วางเอาไว้แล้ว (ไม่รู้ว่าจะทำได้ตามเป้าหรือเปล่า) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเขียนบล็อก ซึ่งจะพยายามเขียนอย่างน้อยสัปดาห์ละเรื่อง ยังไงก็ช่วยให้กำลังใจผมโดยการติดตามบล็อกของผมนะครับ กราบงาม ๆ แทบอกผู้อ่านทุกท่าน 555 เริ่มปีนี้ด้วยเคสผู้ป่วยรายหนึ่งที่ผมได้ตรวจในเวรห้องฉุกเฉินเมื่อ 2 เดือนก่อน หญิงอายุ 34 ปี Known case Thyrotoxicosis รับยาที่รพ.ศูนย์ของจังหวัด แต่ขาดยามาประมาณ 1 เดือน มารพ.ด้วย 5 วันก่อนมีอาการท้องเสีย ถ่ายวันละ 5-6 ครั้งต่อวัน 2 วันก่อนมารพ. เริ่มมีอาการใจสั่น ไอ หายใจหอบเหนื่อย เพลียมาก 1 วันก่อนมารพ. เริ่มมีไข้ อ่อนเพลียมาก หายใจเหนื่อยมากขึ้น ท้องและขาบวมขึ้น วันนี้ญาติสังเกตุเห็นว่าผู้ป่วยเหนื่อยมาก และดูกระสับกระส่าย จึงนำผู้ป่วยมารพ. Physical examination V/S : T 38 c , P 140/min , R 36/min , BP 167/87 mmHg GA : not pale , no jaundice , look agitation Lung : Wheezing both lungs Abdomen : soft , moderate distensi