LDL-C = Total Cholesterol - HDL-C - TG/5 ถูกต้องหรือไม่ ?

สวัสดีครับ ไม่ได้มาเขียนหลายวัน ไม่ได้ยุ่งอะไรมากมายหรอกครับ แต่กำลังคิดอยู่ว่า เราจะเขียนอะไรที่น่าสนใจดี พอดีว่าใน Facebook ของผู้เขียน มีเพื่อนเปิดประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาประเด็นหนึ่ง คือการคำนวณ Friederwald's formula

เพื่อน ๆ น้อง ๆ อาจจะสงสัยว่า " มันคือการคำนวณอะไร ? "

มันเป็นการคำนวณประมาณหาค่า LDL-Cholesterol (Low density lipoprotein) นั่นเอง

LDL = Total Cholesterol - HDL (Hign density lipoprotein) - Triglyceride/5

โดยหัวข้อที่คุยกันนั้น เกิดจากการที่ทางรพ.ของเพื่อน น้ำยาที่ใช้ในการตรวจ HDL หมด ไม่สามารถตรวจได้ แต่มีผล LDL มาให้ เพื่อนเลยจะลองกลับสูตรหา HDL จากสูตรนี้แทน แต่ค่าที่ได้ออกมา ดูแปลกเกินกว่าที่ควรเป็น

จริง ๆ แล้ว สูตรนี้ ระดับสากลเองไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง และปัจจุบันเครื่องมือทางห้องปฏิบัติการก็สามารถหาค่า LDL-C ได้ถูกต้อง ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายครับ

สูตรนี้ เป็นสูตรที่คิดขึ้นมา เพื่อประมาณ LDL-C เท่านั้น ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจได้

ซึ่งถ้าเรามาทำความเข้าใจตามหลักความจริง จะพบว่า

Total Cholesterol = Free-Cholesterol + Cholesterol ester

โดย Cholesterol ester หมายถึง ภาวะที่ Cholesterol ในเลือดจับกับ Fatty acid ก็จะกลายเป็น Cholesterol ester ซึ่ง Fatty acid เอง เป็นประจุบวก ก็จะทำการจับกับ  Albumin ซึ่งเป็นประจุลบในเลือด ก็จะกลายเป็นการจับกันระหว่างไขมัน และ โปรตีน เราจึงเรียกคำรวมว่า Lipoprotein

ดังนั้น ก็จะกลายเป็น

Total Cholesterol = Free-Cholesterol + Lipoprotein-Cholesterol

ซึ่ง Lipoprotein นี้ ก็จะมีความหนาแน่น แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น High density (HDL) , Intermediate density (IDL) , Low density (LDL) , Very Low density (VLDL)

ดังนั้น จึงกลายเป็น

Total-C = Free-C + HDL-C + IDL-C + LDL-C + VLDL-C

นี่คือตามหลักความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราจำคำนวณ LDL-C ที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ควรจะต้องเป็น

LDL-C = Total-C - Free-C - HDL-C - IDL-C - VLDL-C


แต่มีข้อจำกัดในการตรวจบางอย่าง ทำให้การหาค่า Free-Cholesterol , IDL-Cholesterol ยังไม่สามารถทำได้ สูตรที่ได้จึงกลายเป็น

LDL-C = Total-C - HDL-C - VLDL-C

แต่เนื่องจากการตรวจ VLDL-C เอง ไม่สามารถตรวจได้โดยตรง เราจึงใช้วิธีการประมาณจาก Triglyceride เนื่องจาก Triglyceride เอง  ถือเป็น Cholesterol ester อย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการจับกันระหว่าง Triglycerol กับ Fatty acid และ แน่นอนว่าจะต้องจับกับ Albumin จนกลายเป็น Lipoprotein ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ VLDL-Cholesterol และ Chylomicron

ซึ่งมีการประมาณว่า VLDL-C = Triglyceride/5

จึงมีการปรับเปลี่ยนสูตรเป็น

LDL-C = Total-C - HDL-C - TG/5


แต่ว่า ทางห้องตรวจปฏิบัติการณ์เองนั้น เวลาตรวจ Triglyceride มักจะตรวจจาก Glycerol ที่เป็นสารจากการย่อยสลาย Triglyceride แต่อย่าลืมว่า Glycerol นั้น ก็มี Free form ใน Serum อยู่ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการเอามาคำนวณ เพราะฉะนั้น สูตรนี้มักจะคำนวณในกรณีที่เราทราบว่า TG เป็น True TG จริง ๆ

ดังนั้น ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ค่า Triglyceride ของห้อง Lab สูงมากกว่า 500 เราจะไม่ใช้สูตรนี้เด็ดขาด เพราะคิดว่าอาจจะมี Free-Glycerol ในการตรวจมาก จนทำให้ ไม่ใช่ True TG ที่เราต้องการ


และแน่นอน ถึงแม้จะไม่ถึง 500 เราก็ยังไม่มั่นใจว่าจะเป็น True TG แน่ ๆ


สรุปคือ สูตรนี้ เป็นเพียงการประมาณ LDL-C เท่านั้น ไม่สามารถกลับสมการไปคำนวณหาค่าตัวอื่นได้ เพราะสมการนี้ ไม่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว


บทความนี้ เป็นเพียงความคิดส่วนหนึ่งของผู้เขียน ที่ไม่ได้รู้เรื่องลึกซึ้งเกี่ยวกับข้อมูลทางห้องปฏิบัติการณ์มากนัก เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ สำหรับน้อง ๆ หรือ เพื่อน ๆ ที่ชอบใช้สูตรนี้อยู่ ให้ระมัดระวังด้วยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message