ผมเป็นเด็กติดเกมส์ ???

ได้กลับมาเขียนบทความอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน ต้องขอบคุณคำตำหนิและคำชมทั้งหลายที่เป็นแรงผลักดันให้ผมยังคงเขียนบทความต่อ 

พอดีว่าเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้ปกครองท่านหนึ่งกังวลใจเกี่ยวกับการติดเกมส์คอมพิวเตอร์ของลูก จึงได้โทรมาปรึกษา.....

ผมคงไม่ได้พูดถึงข้อมูลของผู้ป่วย เนื่องจากยังไม่ได้ขออนุญาต แต่ผมจะพูดรวม ๆ เกี่ยวกับ Computer game addiction

" เคยรู้สึกไหมเวลาเราเล่นเกมส์ Candy crush แล้วเล่นจนถึงดึกดื่นต่อเนื่อง เอ๊ะ หรือเราจะ Addict ซะแล้ว ? "

555 ถ้าอย่างนั้นที่ผ่านมา ผมก็คงเป็นโรคนี้ไปแล้ว เพราะผมติดทั้ง Candy crush , PlantVs Zombie ...... ( โดยเฉพาะกลุ่มเกมส์ระดับเด็กประถม 5555 ) แถมติดหนัก จนไม่นอนมาแล้ว ( เอาตัวเองมาเผาตลอด 55 ) ก่อนที่ผมจะต้องจ่ายให้ตัวเอง เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ Computer game addiction

โดยภาวะเด็กติดเกมส์ ยังไม่ได้ถูกกำหนดว่าเป็นโรคทางจิตเวชในการจำแนกโรคตาม dsm-5 แต่เป็นปัญหาที่เราพบเจอได้บ่อยในปัจจุบัน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ ภาวะนี้ถือเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม โดยเราจะเอาตามเกณฑ์ต่อไปนี้ อย่างน้อย 5 ข้อ คือ 
1.คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับการเล่นเกมส์
2.มีอาการ withdrawal เมื่อไม่สามารถเล่นเกมส์ได้ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวายใจ กังวล ซึมเศร้า
3.ใช้เวลาในการเล่นเกมส์นานมากขึ้นเรื่อย ๆ 
4.เคยพยายามควบคุมการเล่นเกมส์ แต่ทำไม่สำเร็จ เช่น วันนี้เครียดมาทั้งวัน ขอพักเล่น hay day ซัก 30 นาที เล่นเพลินหันกลับมาดูเวลา ปาไป 3 ชั่วโมง .... ประมาณนี้ ( อิงจากชีวิตจริง )
5 .หมดความสนใจในงานอดิเรกอื่น ๆ เช่น ไม่ไปออกกำลังกาย ไม่เล่นดนตรี ไม่ไปดูหนัง ฟังเพลง หรือ พักผ่อนอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเล่นเกมส์
6.แม้ว่าจะทราบว่าตัวเองมีปัญหาจากการเล่นเกมส์ แต่ก็ยังคงเล่นต่อไป
7.เคยโกหกสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับเวลาที่ใช้ในการเล่นเกมส์
8.ใช้การเล่นเกมส์เพื่อหลีกหนีหรือบรรเทาอารมณ์ด้านลบ
9.เคยได้รับผลร้ายจากการเล่นเกมส์ ทั้งในเรื่องของปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ผลการเรียน การทำงานที่ออกมาแย่ลง

ซึ่งจากที่คุยกันคิดว่าผู้ป่วยรายนี้ น่าจะมีปัญหาเรื่องนี้จริง

บทบาททางการแพทย์ : 
1.แพทย์เองควรจะพยายามเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย เป็นผู้รับฟังที่ดี ไม่ตัดสินถูกผิด ไม่พูดคุยในเชิงการอบรมสั่งสอน เพียงแค่เราพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาจากการเล่นเกมส์ และให้ผู้ป่วยตระหนักคิดได้เอง ( ก่อนอื่นเราต้องสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้ป่วยก่อน ไม่อย่างนั้น ผู้ป่วยโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น จะไม่เชื่อฟังในสิ่งที่แพทย์บอก ) 
2.นอกจากการพูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว แพทย์ต้องพูดคุยกับพ่อแม่ด้วย โดยเน้นการสร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว ค้นหากิจกรรมที่พ่อแม่สามารถทำร่วมกับผู้ป่วยได้ และที่สำคัญที่สุด แพทย์ต้องให้กำลังใจพ่อแม่มาก ๆ เพราะพ่อแม่ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ มักมีความเครียดและวิตกกังวลมาก 
3.เมื่อเราสร้างสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างแพทย์กับพ่อ,แม่,ผู้ป่วย และภายในครอบครัวกันเองได้แล้ว แพทย์ก็จะต้องกระตุ้นผู้ป่วยให้เห็นถึงความสามารถในด้านต่าง ๆ ของผู้ป่วย และส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมนั้นแทนการเล่นเกมส์ 
4.ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยเองคงยังไม่สามารถหย่าขาดจากการเล่นเกมส์ได้ พ่อแม่เองควรต้องเข้าใจตรงจุดนี้ แต่พ่อแม่เองก็สามารถควบคุมเวลาในการเล่นของลูก โดยมี Positive Reinforcement ถ้าลูกทำได้ตามข้อตกลง เช่น มีคำชมเชย ของขวัญ สิทธิพิเศษ เป็นต้น แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่ไม่สามารถทำตามข้อตกลง อาจจะประนีประนอมได้บ้างในช่วงแรก แต่ถ้าถึงเวลาที่สมควร พ่อแม่ต้องให้หยุดเล่นทันที ( แต่อาจจะมีการพูดเตือนก่อนเรื่องเวลา เช่นพูดว่า "เหลืออีก 10 นาทีนะลูก" ) ด้วยท่าทีหนักแน่น จริงจัง และอาจมีมาตรการลงโทษ เช่นห้ามเล่นเกมส์ 2 วัน , ควบคุมการให้เงิน
5.ให้ผู้ป่วยเข้าถึงการเล่นเกมส์ได้ยากขึ้น เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าจำเป็นจริง ๆ พ่อแม่อาจต้องยกคอมพิวเตอร์ เข้าห้องตัวเอง , หลีกเบี่ยงการเดินผ่านร้านเกมส์ ( ลดสิ่งเร้า ) ถ้าลูกจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา7. อนุญาตให้ใช้ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง หรือ ให้ใช้คอมพิวเตอร์ของบ้านญาติ เพื่อทำให้เกิดความเกรงใจ
6.แพทย์เอง อย่าลืมประเมิน Comorbid อื่น ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เพราะกลุ่มผู้ป่วยเรานี้อาจจะหันไปพึ่งพาการเล่นเกมส์ จนกลายเป็นการติดเกมส์ต่ออีก ดังนั้นทางที่ดี ควรแก้ตั้งแต่ที่ต้นเหตุด้วย
7.ยา ปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้รับการยืนยันชัดเจน แต่มีบางงานวิจัย ที่ใช้ Bupropion หรือ Methylphenidate สามารถลดระยะเวลาการเล่นเกมส์ ได้อย่างมีนัยสำคัญ

เอาเป็นว่า ลองประเมินตัวเอง หรือลูกหลานซิว่า มีภาวะนี้อยู่หรือไม่ แล้วถ้าเป็นควรจะทำอย่างไร 

หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ไม่มากก็น้อยครับ 

ขอบคุณ ข้อมูลบางส่วนจาก Case-based Approach in Adolescent medicine 
ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.facebook.com/candycrushsaga/info





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics