Infant Colic เรื่องง่าย ๆ ที่น่าเรียนรู้
อุ๊ต๊ะ !!! เพิ่งสังเกตุว่าพิมพ์จนใกล้จะ 100 บทความแล้ว 5555 ทำไปได้เนอะ หวังว่าคนที่บังเอิญได้อ่านบทความของผม จะได้ประโยชน์กลับไปบ้าง ไม่มากก็น้อยครับ
ช่วงเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสได้อยู่เวรคอก หรือ ห้องแพทย์เวรที่ตรวจผู้ป่วยนอกเวลา ซึ่งเราจะตรวจเคสทั่วๆไป ไม่ได้เลือกหรือเจาะจงเฉพาะความถนัด ยกเว้นก็แต่เฉพาะหมอเด็กเท่านั้นแหล่ะ ที่มีความพิเศษกว่าคนอื่น ตรงที่
เคสMed หมอเด็กตรวจ , เคสSurgery หมอเด็กตรวจ , เคสOB-GYN หมอเด็กตรวจ , เคสEye/ENT หมอเด็กตรวจ, เคส Ortho หมอเด็กตรวจ , เคสนิติเวช ( rape ) หมอเด็กตรวจ , เคสเด็ก ต้อง Only หมอเด็กนะจ๊ะ 5555
ปล. อันนี้หยอกเล่นน้าครับ แต่base on true story อย่างแรง ^^
โอเคๆ สิ้นสุดการเหน็บแนมชาวบ้าน มาเข้าเรื่องกัน พอดีเดือนที่แล้วมีเวรคอก2ครั้ง และทั้ง 2 ครั้งเจอเคสแบบนี้เหมือนกัน เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังครับ
โดยทั้งสองเคสเป็นเด็กเล็ก อายุ 1-2 ขวบ มาด้วยอาการร้องไม่หยุด มาตั้งแต่ช่วงประมาณ 17.00-20.00 เป็นมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว ไม่ได้เป็นทุกวัน 3-4 วันต่อสัปดาห์ ต้องใช้เวลากล่อมนานกว่าจะหยุดร้อง แต่วันนี้ที่พามาเพราะร้องไม่หยุดมา 5 ชั่วโมงแล้ว ไม่ได้มีไข้ ทานนมได้ตามปกติ ขับถ่ายปกติ ไม่มีท้องอืด ไม่มีผื่นหรือรอยแมลงสัตว์กัดต่อย
และแน่นอน เมื่อมาถึง โรงพยาบาล เด็กก็หยุดร้องพอดี ^^
ภาวะนี้ เราเรียกว่า INFANT COLIC
จริงๆ เรื่องนี้ผมเคยเขียนเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว ย้อนกลับอ่านได้ครับ http://geawsa.blogspot.com/2013/05/colic.html
ซึ่งคราวก่อน รู้สึกตัวเองยังเขียนไม่ค่อยละเอียด วันนี้ขอเพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ
Infant colic คือ การร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุของเด็กทารก โดยใช้ Wessel's rule of 3 คือ >/= 3 hrs/day , >/=3day/week , >/=3 weeks โดยมักพบในเด็หช่วงอายุไม่เกิน 3 เดือนแรก โดยเด็กมักจะเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่2ของชีวิต แต่ส่วนใหญ่มักจะเริ่มตอนอายุ1-2เดือน
โดยประมาณ 60% หายได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือน และประมาณ 80-90% หายได้ภายในอายุ 4 เดือน
มักร้องมากในช่วง บ่ายแก่ ไปจนถึงหัวค่ำ , สัดส่วนในเด็กชายและเด็กหญิง รวมถึงเด็กที่กินนมจากเต้าแม่และดูดนมจากขวด สัดส่วนพอ ๆ กัน
สิ่งที่เราชาวแพทย์พอจะทำได้คือ
1.ให้การวินิจฉัยให้ถูกต้อง โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างอื่นโดยละเอียด
2.อธิบายให้พ่อแม่เข้าใจตัวโรค และ Reassure ว่าจะไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กทั่วๆไป
3.แนะนำให้อุ้มเด็กขณะที่ร้องกวน และให้อุ้มมากขึ้นในช่วงเวลาที่เด็กไม่ร้อง อย่างน้องตัวเด็กเอวก็จะได้รับความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยได้
4.ไม่ควรให้นอนกลางวันนานเกินไป
5.ไม่มียาที่ใช้ในการรักษา
หวังว่า อย่างน้อย เรื่องการวินิจฉัย น่าจะชัดเจนกว่าที่เขียนรอบก่อนมาก แต่เทคนิคที่จะทำให้เด็กสงบมีหลายแบบ อาจลองเอาไปแนะนำกันดูได้นะครับ.
เกือบลืมเขียนไป แพทย์ควรต้องให้กำลังใจพ่อแม่ด้วยนะ เพราะพ่อแม่ต้องอดทน และเหนื่อยกับการเลี้ยงดูลูก อาจมีอารมณ์ที่หงุดหงิดได้บ้าง ควรแนะนำว่าถ้าเหนื่อยล้า อาจจะสลับการเลี้ยง หรือให้ญาติหรือคนใกล้ชิดช่วยเหลือด้วย เนื่องจากพ่อแม่อาจทำให้เกิด Shaking baby ได้
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.thewellnessdirectory.co.nz/ailment/infant-colic
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น