บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2013

Stable Angina ( for MD )

สวัสดีครับ ในที่สุดก็หาเวลาเขียนเพิ่มจนได้ 555 สัปดาห์นี้ผมนั่งตรวจคนไข้นอกครับ มีเคสน่าสนใจ อยากให้ช่วยกันแชร์ความรู้ด้วย เนื่องจากตัวผู้เขียนเอง ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้มากนัก เพียงแต่รู้แค่ว่าต้อง Refer  ผู้ชายอายุ50 ปี ให้ประวัติ Chest pain 4 วัน เจ็บแน่นกลางอก ร้าวขึ้นลำคอ และไหล่ซ้าย เป็นในขณะทำงาน หรือเดินไกล ๆ ( ผู้ป่วยบอกว่า ก่อนหน้านั้น ทำงานได้ปกติ ไม่มีเหนื่อย ไม่แน่นอก ) แน่นครั้งละประมาณ 20-30 นาที อาการหายไปได้เอง หลังจากการนั่งพัก ปวดวันละ 1-2 ครั้ง ต่อวัน  EKG : Normal sinus rhythm rate 70 bpm , No abnormal ST segment change  CXR ปกติ  ถ้าเราดูจากอาการ คือเป็นกลุ่มของ Typical angina ( ถ้าให้ดีนะครับ ถ้าที่ไหนตรวจ cardiac enz ได้ น่าจะตรวจไปด้วย จะได้ R/O NSTEMI ได้อย่างสบายใจ ) ถ้าสงสัยเรื่องของ Stable angina ควรต้องส่ง exercise stress test เพื่อประเมินวิธีการให้การรักษาต่อไป และ เราจะได้รู้ด้วยว่า chest pain นั้นเกิดจาก cardiac cause หรือไม่  จริง ๆ เป็นเรื่องที่ดูไม่ซับซ้อนนะครับ แต่เราก็ยังคงพบการให้ Medication เลยที่รพช. โดยที่ไม่คิดจะส่งไป ...

Shutter island

รูปภาพ
กลับมาอีกครั้ง คราวนี้เกิดจากการปิ้งไอเดีย ระหว่างการดูหนังเรื่อง Shutter island เป็นหนังขึ้นหิ้งของคุณลุงมาตี้อีกเรื่อง หนังกล่าวถึง ตัวเอกที่เป็นนักสืบราชการกับคู่กับเพื่อน ได้เข้าไปทำคดีผู้ป่วยโรงพยาบาลโรคจิตหายตัวไป บนเกาะที่ห่างไกล หนังเรื่องนี้ ถ้าดูจนจบจริง ๆ เราจะรู้ว่าหนังเรื่องนี้พูดถึงโรคหนึ่ง ซึ่งในชีวิตจริงคงพบน้อย แต่มักเป็นโรคที่ชอบหยิบมาเล่าในหนังหรือแม้แต่ในละครเองก็มี นั่นคือโรค Dissociative Identity disorder หรือโรคหลายบุคลิก นั่นเอง โรคนี้เป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง ที่มีผลให้คน ๆ หนึ่ง สามารถมีหลายบุคลิก หรือหลายอารมณ์ในตัวเองโดยที่เขาไม่รู้ตัว โดยผู้ป่วยมักจะสร้่างอีกบุคลิกขึ้นมา ซึ่งผู้ป่วยอยากเป็น ที่ผู้ป่วยพอใจ โดยอาการที่แสดงก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์รอบตัวด้วยว่่เขาอยากแสดงออกแบบไหน อาการของผู้ป่วยโรคนี้ มักมีปัญหาเรื่องการปรับตัว และมักจะเรียกร้องให้ผู้อื่นปรับตัวเข้าหาผู้ป่วยเอง เอาแต่ใจตนเอง ไม่รู้สึกว่าตนเองมีปัญหา แต่คิดว่าคนอื่นมีปัญหาแทน มักไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม และมีปัญหาทางอารมณ์ เนื่องจากการปรับตัวไม่ดี สาเหตุของโรค มักเกิดจากปัญหาเรื่องการเลี้ยงดู ...

Drama เล็ก ๆ และ Legal highs

เคยมีคนหลายคนถามนะครับ ว่าทำไมผมถึงเขียนบล็อกนี้ เขียนไปทำไม เขียนเพื่ออะไร แล้วจะมีคนอ่านหรือ ที่ผมเขียน เพราะผมชอบที่จะเขียน แม้จะไม่มีคนอ่าน ผมเขียน เพราะทำให้ผมทบทวนความรู้ ที่ผมกลัวว่าจะหดหายไปกับการเวลา และหดหายไปพร้อมกับระบบการปฏิบัติงานในรพช. และผมเขียนไว้ เผื่อมีผู้อ่านท่านอื่น ๆ ได้รับประโยชน์บ้าง จากการเขียนของผม ( ไม่ได้ drama นะครับ แค่อยากบอกความในใจเท่านั้น )  บทความชิ้นนี้ ได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์จุฬธิดา ซึ่งผมได้ฟังอาจารย์บรรยายเรื่อง Abuse of over-the-counter medication in Thai teens แล้วผมมีความรู้สึกว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่แพทย์เท่านั้นที่ควรรู้ แต่ที่ควรต้องรู้เลย คือคุณพ่อคุณแม่  ใครจะไปรู้หล่ะ เคสเด็กชายอายุ 3 ขวบ อยู่ดี ๆ ก็มีอาการไม่พูดถามไม่ตอบ คอเอียง ดูกระสับกระส่าย มารดาพามารพ.  ถามประวัติอาการก่อนหน้านี้ทุกอย่างปกติดี ตรวจร่างกายมีหัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยายกว้าง สงสัยอยู่แล้วว่าต้องทานยาอะไรเข้าไปซักอย่าง( น่าจะเป็นกลุ่ม anticholinergic effect )  คุยไปคุยมา ดันได้ประวัติพี่ชายอายุ 8 ขวบ ชอบทานยาแก้ไอน้ำ ที่บ้านมีหลายขวดมาก ไม่แน่ใจว่าน้องได้...

รักกันได้ ไม่ต้อง XXX

ว่างอีกแล้ว คิคิ 5555 ( ผมไม่ได้อู้งานนะ ) สัปดาห์ที่อยู่ ER มันว่างมาก เพราะ ER รพช. คนไข้จะไม่มากเท่ากับ รพศ. เลยมีเวลาเขียนเรื่องได้อีก ^^  แต่ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าจะเขียนอะไร 555 มันยังไม่เจอเคสที่พอจะเขียนได้ เจอไม่ยากไป ก็ง่ายไป เลยเขียนเรื่องสบาย ๆ ให้ฟังดีกว่า ช่วงนี้เจอเคสผู้หญิง teenage pregnancy หลายคน( ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย ) ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ ของคนในชุมชน แต่ถ้าดูในระดับประเทศจริง ๆ จะพบว่าเป็นปัญหาใหญ่ และส่งผลเป็นลูกโซ่ ตามมาหลาย ๆ ปัญหาอีก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทำแท้ง ปัญาเด็กถูกทอดทิ้ง ปัญหาเศรษฐกิจภายในครอบครัวที่ไม่พร้อมที่จะรับสมาชิกใหม่  วัยรุ่น เวลามีปัญหาปรึกษาใคร ? 100% ปรึกษาเพื่อนก่อน ผมไม่ได้หมายความว่าปรึกษาไม่ได้ เพียงแต่ว่าข้อมูลที่ได้รับอาจไม่ถูกต้องซะทีเดียว ผมว่าลองปรึกษาพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เชื่อใจได้เช่นคุณหมอดูนะครับ ผมว่าพวกเขาสามารถให้คำตอบเรื่องเพศสัมพันธ์ได้ดีที่สุด และเต็มใจที่จะให้คำตอบด้วย โดยคิดง่าย ๆ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ให้นึกถึงว่า 1. พ่อแม่จะว่าอย่างไร 2. เราพร้อมที่จะเป็นพ่อแม่คนหรือยัง 3. รับได้ไหมถ้าติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ...

Acute bronchitis / Acute bronchiolitis ( For MD )

สวีดัส สวัสดีครับ สัปดาห์นี้ ต้องมาวนER เคสไม่เยอะมาก แต่ก็ต้องนั่นตรวจเรื่อย ๆ แต่ก็มาสะดุดใจ กับการวินิจฉัยของแพทย์บางท่าน ที่มักวินิจฉัยบางโรคสลับกันบ้าง โอเคว่าถึงแม้ว่า 2 โรคนี้จะต่างกันไม่มาก และมีหลักการรักษาที่คล้ายคลึงกัน แต่ถ้าเรารู้ข้อแตกต่าง และวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง มันจะทำให้เราดูสมาร์ทมากขึ้นเยอะครับ ที่ผมจะนำมาพูดในวันนี้คือ Acute bronchitis และ Acute bronchiolitis ครับ แค่ชื่อก็คล้ายกันมากแล้ว 555  Acute bronchitis เป็นโรคที่เกิดจากอักเสบของ distal trachea ลงไปจนถึง large และ medium bronchi มักจะเกิดจากเชื้อไวรัส เช่น RSV, Influenza virus, parainfluenza virus, Adenovirus ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ และหายใจเหนื่อย ไข้บางคนก็ไม่มี บางคนก็ไข้สูงมาก ฟังปอดมักได้ยินเสียง Rhonchi หรือ coarse crepitation ส่ง film CXR จะพบ Peribronchial thickening หรือ atelectasis ได้ ส่วนในกลุ่มของ Acute bronchiolitis เกิดจากการอักเสบส่วน Bronchioles ส่วนมากเกิดจาก RSV ตรวจร่างกายได้ยิน Wheezing ส่งfilm CXR พบ hyperinflation , flattening diaphragms , perihilar infiltration แต่ข้อสังเกตคือ มัก...

ฉันอ้วนจริง ๆ หรือ ???

รูปภาพ
สวัสดีครับผม เช้าวันใหม่ ตื่นมาสดชื่นกันไหมครับ ส่วนผมรู้สึกสดชื่นมาก ๆ ในรอบหลายวันมานี้ 5555( ไม่บอกหรอกนะ ว่าผมเครียดเรื่องอะไร ) พอปัญหามันถูกแก้ ทุกอย่างก็ดีขึ้น   เคสที่ไม่น่าจะมีปัญหา อาจมีอะไรแอบแฝงอยู่ก็ได้ คิดว่าเพื่ิอน ๆ บางคนคงเคยเจอคนไข้แปลก ๆ แบบที่ผมเจอ เช่น เคสชาย 30 ปี มารพ. ด้วยเรื่องถ่ายเหลวเรื้อรังมา 3 เดือน ถ่ายทุกวัน วันละมากกว่า 10 ครั้ง แพทย์ที่ตรวจ Dx เป็น Chronic diarrhea พยายาม work up หาสาเหตุต่าง ๆ ก็ไม่พบความผิดปกติอะไร จนเมื่อได้นั่งคุยกับผู้ป่วยแบบจริงจัง ทำให้เราพบปัญหาที่แอบแฝงอยู่ ผู้ป่วยเป็นคนที่รูปร่างปกติ แต่เวลาทานอาหาร จะทานมาก แต่ก็กังวลเรื่องความอ้วน จึงมักหายาลดความอ้วน ยาระบาย รวมถึงการสวนล้างรูทวารสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เป็นแบบนี้มา 1 ปี ผมจึงได้แนะนำเรื่องการหยุดยาระบาย รวมถึงเน้นการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ และ ควบคุมอาหารเอง น่าจะเป็นแนวทางลดความอ้วนที่ดีที่สุด  ตอนแรกผมก็ไม่ได้ติดใจอะไร แต่พอมาคิดดูดี ๆ ผู้ป่วยรายนี้ เหมือนจะมีลักษณะของ Eating disorder อย่างหนึ่ง ที่เราเรียกว่า "Bulimia Nervosa" โดยลักษณะอาการคือ เวลาทานอาหารจะท...

IVF Vs IUI กับความพยายามของคนอยากเป็นแม่

รูปภาพ
สวัสดีครับผม หลังจากที่ผมวันหยุดยาว ๆ 3 วันติด อิอิ ( อย่าอิจฉานะ นาน ๆ ) จะได้หยุดซักที วันนี้กะจะมาพูดอีกเรื่องที่เคยพิมพ์ไว้เมื่อนานมาแล้ว เรื่อง IVF นะครับ  หลังจากที่ทำ IUI ไปครั้งก่อน แต่ก็พลาดไป ทำให้ครั้งนี้พี่สาวผมตั้งใจอย่างมากในการที่จะมีบุตร วิธีสุดท้ายที่จะพึ่งคือ การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF ( in vitro fertilization ) ซึ่งหลักการก็จะคล้ายกับการทำ IUI ในเบื้องต้นนะครับ คือ  1. มีการกระตุ้นให้ไข่เจริญและโตขึ้น หลาย ๆ ใบ โดยฉีดยากระตุ้น กลุ่ม FSH เช่น puregon หรือ Menogon 2. ระหว่างนั้นก็จะมีนัดเจาะเลือดและ U/S เพื่อดูจำนวนและขนาดของไข่ว่าได้ตามต้องการไหม โดยถ้าฉีดยากระตุ้นไข่ไปสักพัก แพทย์เค้่จะให้ฉีดยาป้องกันการตกไข่พร้อมกันไปด้วย คือ Orgalutran  3. เมื่อได้จำนวนและขนาดของไข่ตามต้องการแล้ว แพทย์จะให้ฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก (Pregnyl) โดยหลังจากนี้กระบวนการของ IVF จะต่างจาก IUI 4. แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาเก็บไข่ โดยการทำ ultrasound guild ทางช่องคลอดแล้วจะใช้เข็มเจาะดูดไข่ออกมา 5. คัดเลือกอสุจิ แล้วนำม่ผสมกับไข่ในหลอดทดลอง 6. เมื่อเริ่มแบ่งตังเข้าวันที่ 3-5 ซึ่งระยะนี้จะฝ...

SVT ก่อนกลับหาดใหญ่ ( for MD )

รูปภาพ
สวัสดีครับ พรุ่งนี้ผมก็จะได้กลับบ้านแล้ว แอบดีใจ เพราะไม่เคยได้กลับบ้านติดกัน 3 วันมาก่อน อิอิ แต่ยังไงคงต้องผ่านวันนี้ไปให้ได้ก่อน เนื่องจากวันนี้อยู่เวร T^T เศร้าเลย  . . . . สรุป เมื่อคืน โดนตามตลอด ไม่ได้เขียนต่อ 555 เลยมาเขียนตอนกลับถึงบ้าน หลังจากที่อยู่รพ.ขนาดเล็ก 30 เตียงพอมาอยู่ในรพ.ที่ขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผมรู้ถึงข้อดีข้อเสียมากขึ้น ของการอยู่รพ.ใหญ่ ข้อดีคือ การที่มีแพทย์หลายคน จำนวนเวรน้อยลง มีเวลาว่างมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ การดูแลเอาใจใส่ และความรับผิดชอบต่องานลดลง แต่ละคนต่างทำงานของตัวเองให้เสร็จ ๆ ไปในแต่ละวัน บางคนก็ตรวจเพื่อให้พ้นเวรของตัวเองไป เอาเป็นว่าฝากถึงน้อง ๆ แล้วกัน ตั้งใจทำงานตั้งใจดูคนไข้ แล้วผลดีต่าง ๆ จะตามมาถึงตัวน้องเองครับ เอาหล่ะ หลังจากฟังผมเทศน์มาซะนาน 555 เข้าเรื่องดีกว่า เมื่อคืนมีหลายเคสที่น่าสนใจ แต่ด้วยตัวผมเอง ก็ไม่ได้เมพ ดังนั้นบทความนี้ อิงจากความรู้พื้นฐาน ( ที่มีน้อยมาก ) ของผมเป็นหลัก มีเคสหญิง อายุ 45 ปี U/D DM type 2 ให้ประวัติว่าขณะขับรถจักรยานยนต์ รู้สึกว่ามีอาการใจสั่น วูบ หน้ามืด จึงรีบมารพ. มาที่รพ. DTX 160 แต่มีปัญหาเรื่องชีพจรเต้...

Mild Pre แอ๊ะ!!! หรือ Severe Pre-eclampsia ( for MD )

ครบหนึ่งเดือนไปแล้วนะ สำหรับการเริ่มเขียนบล็อก ผมแอบตื่นเต้นนะ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยบ้าง ขี้เกียจบ้าง แต่ก็อยากเขียน 555 ถึงแม้ว่าสิ่งที่ผมทำ บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ คนอ่านอาจจะไม่มาก แต่ผมเชื่อว่าคนที่อ่าน ก็น่าจะได้รับประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย ล่าสุด ผมก็อยากจะแบ่งปันข้อมูลหรือเคสคนไข้ที่ผมได้เจอมา เมื่อวันอังคารที่เพิ่งผ่านไป ผมนั่งตรวจอยู่ที่ OPD เจอผู้ป่วยหญิง อายุ 25 ปี G1GA 34 wks by U/S มารพ. เนื่องจาก Clinic ที่รับฝากครรภ์ สงสัยว่าผู้ป่วยเป็น Pre-eclampsia เนื่องจากวัด BP สูง 160/108 mmHg ส่ง Urine protein dipstick 3+ แต่อาการโดยทั่วไปปกติดี ประวัติในสมุดฝากครรภ์ ไม่เคยมีปัญหาเรื่อง BP ที่สูง หรือ Urine protein + มาก่อน Clinical โดยทั่วไปดี ไม่มีเจ็บครรภ์ ผมนั่งนิ่งไปประมาณ 2-3 นาที เนื่องจาก ( พูดตามตรงนะ _/\_ ) ผมมักจะเจอมาตอนภาวะ เจ็บครรภ์คลอด ไม่ก็ GA มากกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งก็ใช้วิธี termination of pregnancy หรือไม่ก็เจอเป็นกลุ่ม Severe Pre ไปเลย ก็แค่ drip MgSO4 แล้ว refer แต่กับคนไข้คนนี้ BP สูงจริง แต่ติดตรง Diastolic blood pressure น้อยกว่า 110 พอผมให้ Repe...

แก้วเจ็บข้อเท้า คุณชายหมอช่วยด้วย ^^

รูปภาพ
สวัสดีประเทศไทย 555 เช้านี้เป็นอย่างไรกันบ้าง ส่วนผม ก็ต้องอยู่เวรติดต่อกันเสาร์อาทิตย์ เฮ้อ!!! เอาน่า ถึงแม้จะเหนื่อยแต่ก็ยังมีช่วงพักได้ดูละครบ้าง คิคิ แน่นอน ละครที่ดูเมื่อคืน ก็คงเหมือนหลาย ๆ คนที่ติดตามอยู่ เรื่อง คุณชายพุฒิภัทร ( รู้นะ เมื่อคืนมีคนแอบจิกหมอนเกือบขาด 555 ) ส่วนผมก็ลุ้นมากตอนดูเรื่องนี้ ไม่ได้ลุ้นว่าแก้วจะได้เป็นนางสาวสยามหรือเปล่า แต่ลุ้นว่านางจะเอาตัวรอดอย่างไรต่างหาก 555 ( ขอชมคนเขียนบทหน่อย เขียนบทนางเอกเป็นคนซื่อที่แอบฉลาดมากๆ ชอบจัง ) แก้วฉลาดที่ใช้เรื่องข้อเท้่าแพลงเป็นตัวช่วยให้รอดมาได้ รู้แล้วใช่ไหมหล่ะ ว่าผมจะเขียนเรื่องอะไร ^^ Ankle sprain หรือข้อเท้าแพลง เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนเจอกันอยู่แล้ว โดยปกติเราต้องเข้าใจสรีระของร่างกายก่อน ข้อเท้า เป็นการประกอบกันของกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกขาท่อนล่าง 2 ชิ้น ( tibia , fibula ) และกระดูกเท้าที่รองรับกระดูก 2 ชิ้นแรก ( talus ) โดยจะมีเส้นเอ็นภายนอกที่ยึดอยู่ 3 เส้นหลัก คือ Anterior talofibular ligament , Posterior talofibular ligament , Calcaneofibular ligament ซึ่งเวลาเกิดอุบัติเหตุข้อเท้าพลิกเข้าใน เส้นเอ็นทั้...

colic เด็กเห็นผี หรือ?

เวลาผ่านไปหลังการประชุม นั่งว่าง ๆ เลยจัดการเปิดแผ่นซีดีที่ได้จากการไปประชุมมา จริง ๆ แล้ว ผมว่าจุดมุ่งหมายที่ทำแผ่นซีดีนี้ น่าจะต้องการให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ศึกษา และนำมาประยุกต์ใช้ แต่พอดูจริงจัง มันก็มีหลายเรื่องที่หมออย่างเราไม่เคยรู้มาก่อน ร่วมถึงเรื่อง Colic หรือที่เรียกว่าร้อง 3 เดือน ถ้าผมจำไม่ผิด เคยมีคนเอาเรื่อง Colic ไปทำเป็นหนังผีซะน่ากลัว ทำให้ชาวบ้านบางคน คิดเห็นว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่ผู้ใหญ่มองไม่เห็น แต่เด็กทารกมองเห็น จึงร้องออกมาด้วยความกลัว แต่อย่าลืมนะครับ มีหลายสาเหตุที่ทำให้เด็กทารกวัยก่อน3เดือนร้องไห้ได้ ไม่ว่าจะเป็น หิวนม ไม่สบายมีไข้ ใส่ผ้าอ้อมแล้วมีการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะจนชื้นแฉะไม่สบายตัว หรืออึดอัดแน่นท้องหลังทานนม แต่ถ้าเราแก้ปัญหาเหล่านั้นแล้วเด็กยังร้อง โดยที่มักจะร้องตอนเย็น ๆ ร้องนานติดต่อกัน นาน 2-3 ชั่วโมง ขณะร้องมักจะทำหน้าเหย่เก เหมือนเจ็บปวด แต่หลังจากนั้นจะหายไปเอง แบบนี้เราจะเรียกว่า Colic ซึ่งหมายถึงการที่เด็กแรกเกิดยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนอกครรภ์มารดาได้ หลักการแก้ไขง่าย ๆ คือเราลองทำให้เด็ก อยู่เหมือนสภาวะภายในคร...