Mild Pre แอ๊ะ!!! หรือ Severe Pre-eclampsia ( for MD )

ครบหนึ่งเดือนไปแล้วนะ สำหรับการเริ่มเขียนบล็อก ผมแอบตื่นเต้นนะ ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยบ้าง ขี้เกียจบ้าง แต่ก็อยากเขียน 555 ถึงแม้ว่าสิ่งที่ผมทำ บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ คนอ่านอาจจะไม่มาก แต่ผมเชื่อว่าคนที่อ่าน ก็น่าจะได้รับประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย

ล่าสุด ผมก็อยากจะแบ่งปันข้อมูลหรือเคสคนไข้ที่ผมได้เจอมา เมื่อวันอังคารที่เพิ่งผ่านไป ผมนั่งตรวจอยู่ที่ OPD เจอผู้ป่วยหญิง อายุ 25 ปี G1GA 34 wks by U/S มารพ. เนื่องจาก Clinic ที่รับฝากครรภ์ สงสัยว่าผู้ป่วยเป็น Pre-eclampsia เนื่องจากวัด BP สูง 160/108 mmHg ส่ง Urine protein dipstick 3+ แต่อาการโดยทั่วไปปกติดี ประวัติในสมุดฝากครรภ์ ไม่เคยมีปัญหาเรื่อง BP ที่สูง หรือ Urine protein + มาก่อน Clinical โดยทั่วไปดี ไม่มีเจ็บครรภ์

ผมนั่งนิ่งไปประมาณ 2-3 นาที เนื่องจาก ( พูดตามตรงนะ _/\_ ) ผมมักจะเจอมาตอนภาวะ เจ็บครรภ์คลอด ไม่ก็ GA มากกว่า 37 สัปดาห์ ซึ่งก็ใช้วิธี termination of pregnancy หรือไม่ก็เจอเป็นกลุ่ม Severe Pre ไปเลย ก็แค่ drip MgSO4 แล้ว refer แต่กับคนไข้คนนี้ BP สูงจริง แต่ติดตรง Diastolic blood pressure น้อยกว่า 110 พอผมให้ Repeat BP ก็ได้ประมาณ 160/104 mmHg ผมถึงขั้นเปิดหนังสือเพื่อดู Definition ของ Severe Pre อีกรอบ มันเขียนว่า BP >/= 160/100 mmHgและมี Urine protein 5 gm/day หรือมี Urine dipstick 3+ ขึ้นไป  เอาไงหล่ะ คิดหนักเลย ผมเลยตัดสินใจ Admit ผู้ป่วยที่รพ.ชุมชน โดยวินิจฉัยว่า Mild Pre-eclampsia แทน พร้อมกับส่งทำ NST , U/S , PIH blood test และให้ Monitor BP q 2 hrs 

เห็นไม่ครับ ว่าแค่ Definition ต่างเล็กน้อย แต่ทางการแพทย์ ให้การรักษาต่างกันโดยสิ้นเชิง สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันสูง มีหลายการวินิจฉัย พวกเราที่เป็นแพทย์ ต้องแยกและวินิจฉัยให้ถูกต้อง

1. Pre-eclampsia คือ การที่มีความดันสูง มากกว่า หรือเท่ากับ 140/90 mmHg ร่วมกับมีภาวะ Significant proteinuria หรือ Urine protein มากกว่า 300 mg/day หรือ urine dipstick 1+ โดยจะวินิจฉัย เมื่อเกิดภายหลัง GA 20 wks
1.1 Mild Pre-eclampsia
1.2 Severe Pre-eclampsia ตามความหมายดังที่กล่าวมา
1.3 Eclampsia เป็นภาวะการชักในหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลจากความดันที่สูง

2.Chronic hypertension การที่มีความดันสูง ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยไม่มีภาวะ Proteinuria

3.Chronic hypertension with Superimposed Pre-eclampsia คือ ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ได้วินิจฉัยว่าเป็น Chronic hypertension แต่พอหลังจากนั้น เริ่มมีความดันที่สูงขึ้น และมี Proteinuria ตามมา 

4.Gestational hypertension เป็นภาวะที่ความดันสูงขึ้นเพียงชั่วคราว โดยที่ไม่มี Proteinuria 

โดยส่วนใหญ่แล้ว การรักษาไม่ได้เน้นเรื่องการให้ยาลดความดัน ( ตามความเห็นส่วนตัว ) ในกลุ่ม Mild-Pre. ที่ยัง Preterm เรามักจะนัด F/U ANC ถี่ขึ้นกว่าปกติ แต่ถ้าเป็นกลุ่ม Chronic hypertension กลุ่มนี้ผมชอบที่จะให้ ยาลดความดันมากกว่า โดยที่ผชอบให้ Methyldopa  max dose ที่ 2gm/day

สรุป วันนี้ผมก็ตามมาดู Case ที่ผม admit ปรากฏว่าผู้ป่วยถูกส่งไปรพ.ตรังตอนดึก เนื่องจาก BP สูงมากกว่า 160/110 พร้อม drip MgSO4 เฮัอ !!!!!  แอบถอนหายใจ อย่างน้อย เราก็ไม่ได้ปล่อยคนไข้กลับบ้านหล่ะ ( ระวังนะครับ ผมเคยเจอบางคนที่ให้ Methyldopa กลับบ้าน ในกลุ่ม Mild Pre ที่เป็นกลุ่ม Preterm และยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ผมว่า safe สุดนะ Admit monitor  ถี่ๆ น่าจะดี ถ้าไม่มีปัญหา ก็ค่อยนัดมา ANC บ่อย ๆ อย่าเพิ่งรีบให้ยาความดันกลับบ้านนะ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics