2Q9Q8Q การประเมินโรคซึมเศร้า ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

สวัสดีครับ ในที่สุดก็กลับมาเขียน หลังจากที่มีเรื่องวุ่นวายใจ จนทำให้เกิดอารมณ์ไม่ค่อยอยากเขียนไปพักใหญ่ แต่ตอนนี้ผมพร้อมแล้วครับ ^^ 

นั่งคิดอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องอะไร พอดีว่าในช่วงครึ่งเดือนที่ผ่านมา พบเจอกรณีเคส Suicide หรือ พยายามฆ่าตัวตายหลายเคส ไม่ว่าจะเป็น ผูกคอ หรือ กินฟูราดาล ( ยาฆ่าแมลงกลุ่ม Carbamate ) เอาเคสไปคุยกับเพื่อนต่างรพ.ก็พบมาก โดยส่วนใหญ่กลุ่มผู้ป่วยที่คิดสั้นค่าตัวตาย มักจะมีภาวะซึมเศร้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว 

แน่นอนว่าทุกรพ. จะมีการคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่มีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาภาวะซึมเศร้า โดยใช้คำถาม 2Q9Q8Q ซึ่งคนที่ถามประเมินมักจะเป็นพี่พยาบาลซะเป็นส่วนใหญ่ แต่กลุ่มแพทย์มักจะไม่รู้และไม่ทราบความหมายของมัน ทำให้เราพลาดการรักษาแกผู้ป่วยในบางราย และอาจจะทำให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตายตามมาในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นแพทย์ไม่มีสิทธิอ้างว่าไม่รู้ หรือไม่ทราบความหมายของการประเมินครับ

2Q เป็นการประเมินเริ่มแรกไว้สำหรับค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า มีคำถามดังนี้ 
1.2สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ มีความรู้สึกหดหู่ เศร้า ท้อแท้ หรือ สิ้นหวัง
2.2สัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ รู้สึกเบื่อ หรือทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน 
ถ้าตอบว่ามีข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีทั้ง 2 ข้อ แสดงว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า 

9Q เมื่อเราscreen คนไข้ได้แล้ว แบบประเมินนี้จะช่วยในการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคซึมเศร้าครับ 


โดยเมื่อได้ผลการประเมิน เราก็จะมารวมคะแนนกันครับ 
<7 ไม่มีอาการแสดงของโรคซึมเศร้า
7-12 มีภาวะซึมเศร้าระดับน้อย
13-18 มีภาวะซึมเศร้าระดับกลาง
>/= 19 มีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรง 

8Q เมื่อเราทำ 9Q แล้วพบว่ามีภาวะซึมเศร้าจริง (>7) พี่พยาบาลก็จะประเมิน 8Q ต่อทันที ที่เป็นแบบประเมินเรื่องการฆ่าตัวตาย 
1-8 มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายน้อย
9-16 มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายปานกลาง
>/= 17 มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายสูงควร Admit นอนรพ. ครับ 

ลองประเมินดูนะครับ น้อง ๆ และ เพื่อน ๆ เราจะได้ไม่ปล่อยคนไข้กลับบ้านทั้งที่ผลการประเมินไม่ดีนะครับ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics