Rotavirus Vaccine กับคุณแม่เด็ก 1 ขวบ เจ้าคำถาม ( for MD )
อยากจะบอกว่า Starbucks ไม่ช่วยอะไรฉันเลย ง่วงแสนง่วง หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดเวลา T^T ช่วงนี้ยิ่งรู้สึกแย่บ่อย ๆ เรื่องงาน เรื่องคนไข้ ดันมีปัญหาไปซะหมด ( ล่าสุด คนไข้ diarrhea มา นอนอยู่ ER กลายเป็น STEMI อีก ) เลยกะจะกลับบ้านมาเปลี่ยนบรรยากาศหน่อย ก็นอนทั้งวัน เซ็งตัวเองจริง ๆ
มีอยู่วันหนึ่ง มารดาเด็กน้อยอายุ 1 ขวบ มาขอฉีดวัคซีนแก้ท้องเสีย ? คุณจะทำอย่างไร
จริง ๆ แล้ววัคซีนนี้ ก็คือ Rotavirus vaccine นั่นหล่ะครับ ซึ่งเป็นในรูปแบบ oral form หยอดทางปาก คล้าย OPV ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 แบบ ซึ่งเป็น live vaccine ทั้งคู่ คือ Rotarix(Monovalent) และ Rotateq (Pentavalent)
ก่อนที่เราจะอธิบายว่า 2 วัคซีนนี้ แตกต่างกันอย่างไร เราต้องเข้าใจตัวไวรัสก่อน
rotavirus เอง เป็น RNA virus ซึ่งจะมีเปลือกหุ้มอยู่หลายชั้น ชั้นนอกสุด คือ outer capsid จะมี protein อยู่ 2 ชนิด คือ G protein กับ P protein ซึ่งตัวโปรตีน 2 ตัวนี้เองจะกระตุ้นให้เกิด Neutralizing Antibody สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่ง Rotavirus ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรง คือ Serotype G1,G2,G3,G4,G9 และส่วนใหญ่ G2 มักจะพบร่วมกับP4 ตัว G1,G3,G4,G9 มักพบร่วมกับ P8
ซึ่งตัว Rotarix เอง เป็น Monovalent vaccine ที่ระบุแค่ Serotype G1P8 เท่านั้น ( เป็นเชื้อที่แยกมาจากคนไข้โดยตรง )
ส่วน Rotateq เป็น Pentavalent แสดงว่ามันจะต้องมี5 Serotype โดยใช้หลัก Jennerian approach คือนำเอาเชื้อที่ก่อโรคในคนกับเชื้อที่เกิดโรคในวัว มาผสมกัน เป็น Serotype กลุ่มใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคน เราจึงเรียกวัคซีนนี้ว่าเป็น Human-Bovine reassortant rotavirus vaccine โดยเอา G6P5 ของวัว มาผสมกับ G1P5,G2P6,G3P8,G4P6 ได้ออกมาเป็น G1P5,G6P8,G2P2,G3P5,G4P5
วิธีการให้
Rotarix ให้ 2 dose คือตอน 2 เดือน กับ 4 เดือน
Rotateq ให้ 3 dose คือ ตอน 2,4 และ 6 เดือน
แน่นอนว่าหลังการได้รับวัคซีน อาจมีอาการไข้ได้ ถ่ายเหลวได้บ้าง แต่ Complication ที่น่ากลัวที่อาจจะเกิดขึ้นได้เลยคือ Intussusception ดังนั้น ถ้าแพทย์คนไหนจะให้วัคซีน คงต้องอธิบายภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ( โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 7 วันหลังให้วัคซีน )
จากการวิจัยต่าง ๆ บอกว่าการที่ให้วัคซีนในเวลาที่กำหนด โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบนี้ค่อนข้างน้อยครับ
ส่วนถ้าถามว่า ตัวไหนดีกว่า ?
จริง ๆ แล้ว ถ้าดูภาพรวม Rotateq คลุมหลาย Serotype กว่า แต่มีคนทำวิจัย พบว่าประสิทธิภาพดีพอ ๆ กัน แต่แล้วแต่นะครับ เพราะงานวิจัยมันเปลี่ยนได้ตลอดอยู่แล้ว เอาเป็นว่าถนัดจะให้แบบไหน ก็เลือกแบบนั้นนะครับ
สุดท้ายนี้ เด็กน้อยรายนั้น ผมก็ไม่ได้แนะนำให้วัคซีนนี้ เนื่องจากอายุเกิน และที่สำคัญ ผมว่าน้องคงผ่านการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้อยู่แล้วหล่ะครับ เพราะจากการตรวจเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป มักมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสกลุ่มนี้อยู่แล้วแน่นอน มีงานวิจัยบอกว่า หากเคยติดเชื้อไวรัสโรตาตามธรรมชาติแล้ว 3 ครั้ง พบว่าสามารถป้องกันภาวะอุจจาระร่วงจากเชื้อโรตาได้ถึงร้อยละ 92 เลย
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก เอกสารเรื่อง วัคซีนป้องกันไวรัสโรตา ของ อาจารย์ชนเมธ เตชะแสนศิริ ครับ
ขอบคุณภาพจาก http://lifeinbeniajan.wordpress.com/2010/04/25/rotarix-rotateq-y-algunas-farmacias-de-beniajan/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น