แก๊สน้ำตา
พบกันอีกครั้งนะครับ ช่วงบรรยากาศทางการเมืองค่อนข้างร้อนระอุ และล่าสุดก็จะมีการนัดออกไปชุมนุมรอบใหญ่อีกรอบ พี่ ๆ พยาบาลหลายคนในรพ.ก็เตรียมตัวออกไปชุมนุมกับคนอื่นด้วย ส่วนตัวผู้เขียนเองนั้น คงต้องทำงานดูแลผู้ป่วยต่อ ทำได้เพียงส่งกำลังใจไปให้นะครับ ด้วยความเป็นห่วงจึงอยากเขียนบทความเรื่องนี้ เพื่อให้คนที่อ่านได้มีความรู้เอาไปเพื่อป้องกันตัวเองต่อไป
แก๊สน้ำตา
เริ่มแรกพัฒนามาจากสารที่ทำให้มีการระคายเคืองทางเดินหายใจ ที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สารนั้นคือ Chloroacetophenone หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CN gas
ต่อมาได้มีการพัฒฒนาตัวใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการระคายเคืองได้ดีกว่า และมีผลอันตรายต่อชีวิตน้อยกว่า คือ Orthochlorobenzylidenemalononitrile หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CS gas (เป็นชื่อย่อของผู้คิดค้นสาร) นั่นคือแก๊สน้ำตาในปัจจุบันนั้นเอง
โดยปกติตอนอุณหภูมิห้อง สารตัวนี้จะอยู่ในรูปแบบผง แต่ถ้าจะนำไปใช้งานจะต้องงเอาไปผ่านกระบวนการผสมกับสารต่าง ๆ จนออกมาเป็นลักษณะละอองฝอย
ปัจจุบันมีการผลิด แก๊สน้ำตา ออกมา 3 ชนิด คือ แบบลูกกระสุนยิง แบบขว้าง หรือ แบบสเปร์ยพริกไทย
ผลกระทบต่อร่างกาย
1.ดวงตา จะระคายเคืองเยื่อบุตาขาว และตาดำ ทำให้มีอาการแสบตามาก มีน้ำตาไหล เยื่อบุตาขาวบวม หนังตาบวมแดง อาจทำให้มีตาพร่าได้ชั่วคราว
2.ระบบทางเดินหายใจ จะกระตุ้นให้มีอาการไอ หายใจหอบเหนื่อย เจ็บแน่นอก ยิ่งคนที่เป็นโรคหอบ จะกระตุ้นให้อาการหอบกำเริบได้ง่าย
3.ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีปัญหาใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว และความดันสูงได้
4.ระบบทางเดินอาหาร ถ้าเกิดกลืนเข้าไป จะกระตุ้นให้มีคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดบิดท้องได้
5.ผิวหนัง จะแสบแดง คัน ถ้ากรณีที่แพ้ ก็จะเกิดเป็นถุงน้ำพองได้
การป้องกัน
1.รีบออกจากบริเวณที่มีการยิงแก๊สน้ำตาให้เร็วที่สุด ไปยังบริเวณที่มีอากาศปลอดโปร่ง
2.หายใจเข้าออกช้า ๆ ทำใจให้สงบ และตั้งสติ
3.รีบถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมี เก็บใส่ถุงอย่างมิดชิด
4.ในกรณีที่ใส่คอนแทคเลนส์ ให้ถอดทิ้งทันที ล้างตาในน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ นานประมาณ 15 นาที
5.พยายามสั่งน้ำมูก คายเอาน้ำลายหรือเสมหะออก อย่ากลืนเข้าไป หลังจากนั้นบ้วนปากให้สะอาด
6.อาบน้ำชำระล้างสารเคมี ด้วยน้ำเย็นและสบู่ ฟอกให้มาก โดยเฉพาะบริเวณข้อพับทั้งหลาย
ส่วนหน้าที่ของแพทย์เอง คงทำได้แค่ decontamination และ Supportive ตามอาการครับ
เอาใจช่วยให้ประเทศไทยมีทางออกไว ๆ นะครับ
แก๊สน้ำตา
เริ่มแรกพัฒนามาจากสารที่ทำให้มีการระคายเคืองทางเดินหายใจ ที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 สารนั้นคือ Chloroacetophenone หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CN gas
ต่อมาได้มีการพัฒฒนาตัวใหม่ ที่มีประสิทธิภาพในการระคายเคืองได้ดีกว่า และมีผลอันตรายต่อชีวิตน้อยกว่า คือ Orthochlorobenzylidenemalononitrile หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CS gas (เป็นชื่อย่อของผู้คิดค้นสาร) นั่นคือแก๊สน้ำตาในปัจจุบันนั้นเอง
โดยปกติตอนอุณหภูมิห้อง สารตัวนี้จะอยู่ในรูปแบบผง แต่ถ้าจะนำไปใช้งานจะต้องงเอาไปผ่านกระบวนการผสมกับสารต่าง ๆ จนออกมาเป็นลักษณะละอองฝอย
ปัจจุบันมีการผลิด แก๊สน้ำตา ออกมา 3 ชนิด คือ แบบลูกกระสุนยิง แบบขว้าง หรือ แบบสเปร์ยพริกไทย
ผลกระทบต่อร่างกาย
1.ดวงตา จะระคายเคืองเยื่อบุตาขาว และตาดำ ทำให้มีอาการแสบตามาก มีน้ำตาไหล เยื่อบุตาขาวบวม หนังตาบวมแดง อาจทำให้มีตาพร่าได้ชั่วคราว
2.ระบบทางเดินหายใจ จะกระตุ้นให้มีอาการไอ หายใจหอบเหนื่อย เจ็บแน่นอก ยิ่งคนที่เป็นโรคหอบ จะกระตุ้นให้อาการหอบกำเริบได้ง่าย
3.ระบบหัวใจและหลอดเลือด จะมีปัญหาใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว และความดันสูงได้
4.ระบบทางเดินอาหาร ถ้าเกิดกลืนเข้าไป จะกระตุ้นให้มีคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดบิดท้องได้
5.ผิวหนัง จะแสบแดง คัน ถ้ากรณีที่แพ้ ก็จะเกิดเป็นถุงน้ำพองได้
การป้องกัน
1.รีบออกจากบริเวณที่มีการยิงแก๊สน้ำตาให้เร็วที่สุด ไปยังบริเวณที่มีอากาศปลอดโปร่ง
2.หายใจเข้าออกช้า ๆ ทำใจให้สงบ และตั้งสติ
3.รีบถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมี เก็บใส่ถุงอย่างมิดชิด
4.ในกรณีที่ใส่คอนแทคเลนส์ ให้ถอดทิ้งทันที ล้างตาในน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ นานประมาณ 15 นาที
5.พยายามสั่งน้ำมูก คายเอาน้ำลายหรือเสมหะออก อย่ากลืนเข้าไป หลังจากนั้นบ้วนปากให้สะอาด
6.อาบน้ำชำระล้างสารเคมี ด้วยน้ำเย็นและสบู่ ฟอกให้มาก โดยเฉพาะบริเวณข้อพับทั้งหลาย
ส่วนหน้าที่ของแพทย์เอง คงทำได้แค่ decontamination และ Supportive ตามอาการครับ
เอาใจช่วยให้ประเทศไทยมีทางออกไว ๆ นะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น