Update ความรู้วัคซีน ตอน1 (ก็เรื่องมันยาวอ่ะ)


กำลังคิดว่าตัวเองจะเขียนเรื่องอะไรดี เผื่อทบทวนความรู้ให้ตัวเองด้วย 555 เลยคิดว่าเขียนเรื่องนี้อีกรอบแบบ update บ้างดีกว่า มาติดอาวุธหมอเด็กด้วยเรื่อง วัคซีน ดีกว่า

1.หลักการให้วัคซีนเบื้องต้น

ปัญหาหลักที่ผมโดนถามจากน้องๆ มากที่สุดคือ การที่ผู้ป่วยมาผิดนัดวัคซีน ไม่ใช่ผิดธรรมดา แต่ผิดมาก หายไปหลายเดือนหลายปี ซึ่งตอนแรกผมมักจะให้คำแนะนำน้อง ๆ แบบง่าย ๆ ว่า ให้ฉีดเข็มถัดไปได้เลย โดยเข็มที่เหลือหลังจากนั้นให้เว้น interval ตามEPI program ของกระทรวงสาธารณสุข ยกเว้นเฉพาะบางวัคซีนที่มีข้อจำกัด เช่น DTP, Hib  และ Rotavacine ซึ่งบางครั้งมันจะนานมากในบาง interval 

เราจะจบปัญหานั้นกัน ถ้าไม่อยากเสียเวลาไล่ interval ของ vaccine แบบเดิม เอาตารางนี้พกติดตัวกัน 



เราจะฉีดเข็มที่ขาดไปทันที และนัดเข็มต่อไปได้เลยตามระยะเวลาที่เหมาะสม จำไว้ว่าไม่ต้องเริ่มต้นฉีดใหม่

นอกจากนั้นต้องคำนึงว่าผู้ป่วยยังมีความจำเป็นต้องได้วัคซีนนั้นอยู่หรือไม่ เช่น DTP เข็มที่ 4 ถ้าได้หลัง 4 ขวบ เข็มที่ 5 ไม่ต้องฉีด หรือ ถ้าอายุมากกว่า 7 ขวบ ไม่ต้องให้ DTP แต่ให้เปลี่ยนเป็น dT หรือ Tdap เลย แล้วก็ฉีดแบบ adolescent เลย 

ส่วน Hib vaccine ถ้าเกิน 2 ขวบแล้วสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีความจำเป็นต้องฉีด

Rotavaccine หยอดแรกควรหยอดภายใน 6-15 สัปดาห์และหยอดสุดท้ายไม่ควรเกิน 8 เดือน

2.ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ต้องฉีดวัคซีนอย่างไร ?

น้องๆ ต้องตั้งสติ แล้วก็ให้วัคซีนตามเด็กปกติ ไม่ต้องคิด corrected age ให้เด็กนะ แต่ถ้าจะมีข้อแม้ ก็คงจะเป็น HBV vaccine ถ้าแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2 kg ฉีดได้นะ แต่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ไม่ดี ต้องมีฉีดซ้ำตอนน้ำหนักมากกว่า 2 kg หรือตอนอายุ 1 เดือน อะไรถึงก่อน ก็เอาอันนั้นเลยครับ

3.BCG vaccine

ฉีด 0.1 ml intradermal แรกเกิด ตำแหน่งที่ควรฉีดคือ ไหล่ แน่นอนว่าปัญหาที่เราเจอคือ เป็นตุ่มหนอง ให้เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือ normal saline

ถ้าเกิดเราตรวจเด็กแล้วไม่เจอแผลเป็น และไม่มีหลักฐานที่บันทึกว่าได้รับวัคซีนมาก่อน ให้ BCG ไปเลย แต่ถ้ามีการบันทึกว่าเคยได้แล้ว ไม่ต้องให้ซ้ำ

แต่การให้ BCG ก็ต้องบอกผู้ปกครองเสมอว่า efficacy ในการป้องกัน TB meningitis และ miliary TB 80% แต่ efficacy ในการป้องกัน pulmonary TB ประมาณ 50% 

อีกปัญหาที่อาจพบได้คือ การที่ regional lymph node อักเสบเป็นหนอง อาจพิจารณา needle aspiration หรือexcision ( ห้าม I&D เด็ดขาด ) แต่ถ้าต่อมน้ำเหลืองมีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาให้ยา INH +/- Rif จนกว่าก้อนจะยุบ

Adverse events of BCG : BCG osteitis, arthritis or disseminated ให้รักษาเหมือนวัณโรคเลย เพียงแต่เราจะใช้ INH + Rif และยาชนิดที่ 3 ซึ่งเราอาจจะเลือกเป็นetambutol, ethionamide or streptomycin แต่ห้ามให้ Pyrazinamide เพราะเชื้อใน BCG ดื้อยานี้ตามธรรมชาติอยู่แล้ว

เดี๋ยวคราวหน้าต่อ Update vaccine ตอนที่ 2 นะครับ 

ขอบคุณข้อมูลจาก CDC. MMWR 2010 ด้วยครับ














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics