Anaphylaxis ตอนที่ 1 ( for MD )

สวัสดีครับ เดือนนี้งานยุ่งมาก วุ่นวายหลายอย่างเลยไม่ค่อยมีเวลาเข้ามีเขียนบทความเพิ่มเลย วันนี้ก็เลยมาเขียนสักหน่อย เดี๋ยวคนลืม 555 อย่างไรก็แล้วแต่ ก่อนอื่นต้องขอบคุณทุกคนนะครับ ทั้งที่อ่านบทความ หรือ จะเป็นการฟังบรรยายของผม เรื่อง แนวทางการรักษาใหม่ของ COPD and Asthma เป็นบทความที่ผมพยายามเขียนให้อ่านแล้วเข้าใจง่าย และรู้แนวทางการรักษาพื้นฐานที่เหมาะกับรพช. และก็ได้ผลตอบรับดีเกินคาด ยอดวิว หรือแม้กระทั่งโทรมาชมเลยก็มี ^^ ขอบคุณนะครับ 

วันนี้ก็มีความรู้มาฝากกัน เป็นเรื่อง Anaphylaxis หรือ อาการแพ้อย่างรุนแรง โดยปกติสมัยก่อน เรามักจะคิดว่าจะต้องมีอาการ
1. Skin manifestation  เช่น Urticaria , Angioedema ,ผื่นคัน
2. Respiratory symptoms เช่น หายใจหอบเหนื่อย มีเสียง wheezing
3. Hypotension
4. GI symptoms เช่น อาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียมาก
โดยเราจะเอาแค่อย่างน้อยมีอาการ 2/4 ข้อ ก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็น Anaphylaxis แล้ว โดยที่บางคนยังไม่ทราบเลยว่า allergen ที่กระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคืออะไร ( ผมรู้นะ ว่าเคยมีคนวินิจฉัย Anaphylaxis ด้วยวิธีนี้ หึๆๆ ) 

แล้วถ้าผมยกตัวอย่างว่ามีคนไข้คนหนึ่ง U/D เป็น Asthma เดิม 3 วันก่อนมีผื่นขึ้นทั่วตัว และตัวผื่นยังไม่หาย วันนี้มีอาการหายใจหอบเหนื่อยเกิดขึ้น เป็น acute asthmatic attack มารพ. แพทย์เกินครึ่ง เชื่อว่าน่าจะมีการให้ Adrenaline ในผู้ป่วยรายนี้ แล้ววินิจฉัยว่าเป็น Anaphylaxis ??? 

งั้นเรามาทำความเข้าใจบทนิยามของ Anaphylaxis ไปพร้อม ๆ กันนะครับ

1 ในกรณีที่ไม่ทราบหรือหา allergen ต้องสงสัยไม่ได้ แล้วผู้ป่วยมีอาการทาง Skin ร่วมกับ
1.1 Respiratory symptoms
1.2 Hypotension 
อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาการจะเกิดขึ้นตามหลังกันไม่นาน นับเป็นนาทีหรือชั่วโมง ส่วนใหญ่อาการมักจะเกิดตามกันใน 1 ชั่วโมง ถือว่าเป็น Anaphylaxis แต่guildline ใหม่ จะไม่นับรวม GI symptoms เนื่องจากส่วนใหญ่อาการจะเป็น Subjective symptoms ซึ่งวัดไม่ได้

2 ในกรณีที่มี Allergen ต้องสงสัย แต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าแพ้จริงหรือไม่ แล้วมีอาการทาง 
2.1Respiratory symptoms
2.2 Hypotension  
2.3 GI symptoms 
2.4 Skin and mucosal involvement
จะเห็นว่าเมื่อมีประวัติ Allergen ต้องสงสัย เราเอาอาการอย่างน้อย 2 อาการ จากทั้งหมดได้ โดยทุกตัวมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ไม่เว้นแม้แต่อาการทางระบบทางเดินอาหาร 

3.ในกรณีที่มีประวัติว่าเคยแพ้ Allergen ตัวนั้น แล้วได้รับกลับเข้ามาอีกครั้ง เอาคล้ายข้อ 2 คือให้มี 2 อาการเป็นอย่างน้อย ยกเว้น ถ้ามีภาวะ Hypotension อย่างเดียว ก็ถือว่าเป็น anaphylaxis ได้ แต่ต้องตามหลังการ expose ต่อ Allergen ไม่นาน ระยะเวลาเป็นนาทีถึงหลายชั่วโมง แต่ไม่ถึงขั้น expose เป็นวัน อย่างนั้นคงไม่ใช่ anaphylaxis แล้วครับ คงต้องหาสาเหตุอื่นร่วมด้วย

อันนี้เป็นแค่ Definition นะครับ เมื่อเรารู้ว่าคนนี้เป็น Anaphylaxis เราจะรักษาอย่างไร แล้ว การให้ Adrenaline ให้ได้ในรูปแบบไหนบ้าง sc , im , iv bolus หรือ iv drip บทความหน้าจะให้คำตอบคุณครับ 

ขอบคุณรูปจาก http://www.bygeorgejournal.ca/?p=3077

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics