Asthma and COPD ตอนที่ 3 ( For MD )

สวัสดีครับ วันนี้จะมาต่อไตรภาค Airway disease เรื่องสุดท้าย คือ Asthma management

หลังจากที่เราวินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็น Asthma แล้ว หลักการก็คล้ายกับ COPD คือ เราต้องแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตาม severity ก่อน จึงจะให้การรักษาตามหลักได้ถูกต้อง โดยเราจะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. Controlled
2. Partly Controlled
3. Uncontrolled

โดยใช้คำถาม Asthma control questionnaire ซึ่งประเด็นหลักของคำถามคือ
1. Daytime symptoms
2. Nocturnal symptoms
3. Limitation of activity
4. Need for reliever
5. Exacerbation
6. Lung function

โดยถ้ากลุ่มผู้ป่วย ไม่มีความผิดปกติใดเลยแม้แต่ข้อเดียว รวมถึง Lung function หรือ Peak flow มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ของ Predicted Peak flow ถือว่าเป็นกลุ่ม Controlled แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีข้อใดข้อหนึ่งผิดปกติ ถือว่าผู้ป่วยรายนี้ Control ได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้ ต้องเลือก step 2 ของ Gina guildline เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ controller เข้าช่วย แต่ในส่วนที่ Control ได้ อาจพิจารณาเริ่ม step 1 ก่อนก็ได้ครับ ให้แค่กลุ่ม Reliever ติดตัวไปก็พอ

เมื่อเราเริ่มยาได้แล้วนั้น เราจะปรับลดหรือเพิ่มยา ก็ใช้หลัก Asthma Control Questionnaire เหมือนเดิม เนื่องจาก asthma เป็นโรคที่รักษาหายขาด เพราะฉะนั้น เวลานัดคนไข้ เป้าหมายของเราคือต้อง Control ได้เท่านั้น ถ้า control ได้ เราก็อาจพิจารณาลดยา ตาม step ของ Gina แต่ถ้า ยังไม่สามารถ Control ได้ ให้เพิ่ม step ตาม Gina ได้เลย เพิ่มไปจนกว่าจะ Control ได้ ( ดูเหมือนยากนะครับ แต่ในชีวิตจริง ผมสามารถ off ยา asthma ได้ และตอนนี้ผู้ป่วยก็แข็งแรงดี ไม่มี exacerbation อีก ) 

ถ้าในกรณีถ้าเราลดยาได้ จนมาถึง step 2 ซึ่งเป็น step ที่ยังมี controller เป็น low dose ICS อยู่ อาจต้อง continue ให้อยู่ใน step นี้ นานประมาณ 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจจริง ๆ ว่าผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสกลับมาแย่อีก ( แต่ได้ข่าวว่าตอนนี้ อาจารย์บางท่าน นิยมให้ยาใน step ที่ 2 นานขึ้นเป็น 3-5 ปีเลย )

โดยจะมี รูปแบบของ asthma control questionnaire และ Gina guildline ตามลำดับ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics