Asthma and COPD ตอนที่ 1 ( for MD )

อันเนื่องด้วยผู้เขียนจำเป็นจะต้องเตรียมเนื้อหาไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และพี่พยาบาลที่รพ.วังวิเศษ ในวันที่ 17-18 มิถุนายนนี้ โดยหัวข้อที่ได้รับมอบหมายจะเป็นเรื่องการรักษาแนวใหม่ของ Asthma และ COPD จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมาเก็บไว้ในบล็อกด้วย เผื่อผู้เข้าร่วมอบรมฟังไม่เข้าใจ จะได้มาอ่านทำความเข้าใจซ้ำอีกครั้งครับ

โดยพื้นฐานโรค Asthma และ COPD จัดเป็นกลุ่ม Airway disease แต่ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างกันตรงที่ Asthma เป็นโรคที่สามารถรักษาจนดีขึ้นมาเป็นปกติ และหายขาดได้ ต่างจาก COPD ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด และไม่มีทางกลับมาเป็นปกติดีได้ เราจึงเรียกสองกลุ่มนี้ว่า 

1. Asthma : Reversible airway disease
โดยพยาธิสภาพจะอยู่ตรงบริเวณ airway เพียงอย่างเดียว คือ การที่ผู้ป่วยสัมผัสกับมลภาวะ ฝุ่นละออง จนทำให้เกิด airway inflammation และ ทำให้เกิด Airflow obstructionได้

2. COPD : Irreversible airway disease
พยาธิสภาพ นอกจากจะมีที่ Airway แล้ว ยังรวมไปถึงalveoli ด้วย ซึ่งนั้นมักเกิดจากการที่ผู้ป่วยสัมผัสกับควันบุหรี่ หรือมลภาวะจากการทำงาน ที่เกิดขึ้นเรื้อรัง จนทำให้มีการทำลายทั้งตัว Airway และ Alveoli ซึ่งทำให้ทั้งสองสูญเสียการทำงานไป โดย airway ซึ่งปกติจากมีแรง radial traction มาดึงถ่างขยายขณะหายใจออก ให้ลมในถุงลมสามารถออกได้ และตัวถุงลม ( alveoli ) เองก็จะมี Elastic recoil ดันลมออกด้วย แต่เมื่อหลอดลมสูญเสียการทำงาน ไม่สามารถถ่างขยายให้ลมออกได้เต็มที่ และถุงลมเองก็ดันลมออกได้ไม่ดี ทำให้ลมเหลือค้างในปอดมาก จนเกิดเป็นชื่อโรคว่าโรคถุงลมโป่งพอง

แต่การวินิจฉัยโรค Airway disease นอกจากประวัติอาการไอเสมหะ หายใจหอบเหนื่อยเรื้อรัง และมีประวัติ Expose กับ Risk factor แล้ว เราจะต้องตรวจวัดสมรรถภาพปอด ด้วยการให้ผู้ป่วยเป่า spirometer ซึ่งเจ้าเครื่องนี้ ค่อนข้างแพง และไม่มีให้ใช้ในต่างจังหวัด เราจึงนิยมให้ใช้การเป่า Peak flow แทน ( อ้างอิงจาก สปสช. )

โดยหลักการเป่า Peak flow ให้เป่า 3 ครั้ง ก่อนและหลังพ่นยา โดยเครื่องครั้งที่ดีที่สุด มาเปรียบเทียบกัน โดยปกติถ้าเป็น Airway disease ยังไงหลังพ่นยาขยายหลอดลมก็จะเป่าได้มากขึ้น แต่ถ้าเป็นกลุ่ม COPD เราจะเทียบกับ Predicted Peak flow ของผู้ป่วยกับ peak flow หลังพ่นยา ถ้า Peak flow หลังพ่นยา น้อยกว่า 80% ของ Predicted Peak Flow สามารถวินิจว่าผู้ป่วยเป็น COPD ได้

แต่ถ้า Peak Flow หลังพ่นยา มากกว่าหรือเท่ากับ 80% ของ Predicted Peak Flow ร่วมกับPeak Flow หลังพ่นยา ดีขึ้นมากกว่า 20% ของ Peak Flow ก่อนพ่นยา ให้วินิจฉัยว่าเป็น Asthma 

เมื่อเราสามารถวินิจฉัยโรคได้แล้ว ครั้งหน้าผมก็จะพูดถึงเรื่องการรักษา2โรคนี้ ให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดครับ.....

ขอบคุณ รูปภาพจาก http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/copd/








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics