Asthma and COPD ตอนที่ 2( For MD )

ต่อจากครั้งที่แล้ว .....

เมื่อเรารู้หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยแล้ว ทั้ง Asthma และ COPD เราก็จะมาเริ่มการรักษา

1.COPD เราจะให้การรักษาตาม severity ของโรค ซึ่งตามสากล การแบ่ง Severity ของ COPD จะใช้ค่า FEV1 ซึ่งได้จากการเป่าSpirometer แต่อย่างที่เราทราบกันดีว่าเจ้าเครื่องนี้ หายากในต่างจังหวัด ดังนั้นการแบ่ง Severity เอง จึงจำเป็นต้องใช้แบบการประเมิน CAT( COPD Assessment test ) , mMRC dyspnea score รวมถึง จำนวนครั้งของการ Exacerbationต่อปี เราจะได้การแบ่ง Severity ตามรูป 



ถ้าเราแบ่ง Severity ตามนี้ เราก็จะได้กลุ่มผู้ป่วย COPD 4 กลุ่ม A-B-C-D severe น้อยไปมากตามลำดับ เมื่อเราแบ่งกลุ่มผู้ป่วยได้แล้ว แล้วก็สามารถเลือกให้การรักษาได้ โดยเน้นการใช้ยากดพ่นเป็นหลัก

A : ให้เป็น SABA ( short acting beta 2 agonist ) 
B : ให้เป็น LABA ( long acting beta 2 agonist ) 
C : ให้เป็น LABA + ICS ( inhaled corticosteroid ) +/- LAMA ( long acting muscarinic antagonist )
D : เหมือนกลุ่ม C ครับ เพียงแต่อาจจะพิจารณาเพิ่ม dose ICS 

( ยาที่ใช้ นิยมใช้เป็นยากดพ่น เท่านั้น ส่วนยากิน มักให้เป็นตัวเสริมเฉพาะที่อาการหนักเท่านั้น )

บทความต่อไปก็จะพูดถึงการรักษา Asthma ซึ่งจะเป็นหัวข้อสุดท้ายของบทความ Airway disease โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics