อยากให้โลกนี้ไม่มีกลิ่นบุหรี่

สวัสดีบ่ายวันอาทิตย์ และเป็นอีกวันที่อยู่เวร ผมไม่ได้อู้นะ แต่แค่เอาเวลาว่างมาเขียนอะไรเล็กๆ น้อยๆ อิอิ หลังจากที่ผ่านมาได้ feed back กลับมาบ้าง ว่าถ้าไม่ใช่คนในวงการแพทย์ จะไม่รู้เรื่อง ( อันนี้ยอมรับเลยครับ เพราะ การเขียนเรื่องการแพทย์ เพื่อให้ได้ประโยชน์ และเจาะกลุ่มเป้าหมายทั้ง วงการแพทย์ และคนทั่วไป ยากมากครับ ) ผมเลยขอแก้ตัว เลือกเรื่องที่จะเขียนเป็นเรื่องที่ไม่ยาก และน่่าสนใจมาฝากครับ

ตามชื่อเรื่องนะครับ วันนี้จะพูดถึงเรื่องของบุหรี่ แต่คงไม่ยากมาก ตามความรู้ที่ผู้เขียนพอมี 555

ใคร ๆ ก็รู้ว่าบุหรี่ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษ ส่งผล ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ แล้วคนส่วนใหญ่ที่สูบก็ทราบถึงภัยร้ายแรงที่เกิดจากการสูบอยู่แล้ว แต่ก็ยังคงสูบต่อไป ทำไมถึงเป็นแบบนั้น แล้วอย่างนี้เรียกว่าติดบุหรี่หรือไม่

จริง ๆ สาเหตุของการติดบุหรี่ มีหลายสาเหตุ แต่คนส่วนใหญ่กลับคิดถึงแต่เพียง ติดเพราะสารนิโคตินในบุหรี่เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ ไม่อย่างนั้น ทุกคนที่เคยลองสูบมา ก็ติดบุหรี่กันหมดซิครับ เรามาลองทบทวนกันหน่อยดีกว่าครับ ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง
1. สารนิโคตินในบุหรี่ เนื่องจากเวลาเราสูบบุหรี่เข้าไป ตัวสารนิโคติน เมื่อเข้าสู่ปอด ก็จะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็วภายใน 6 วินาที หลังจากนั้น เมื่อผ่านไปที่สมอง จะทำให้คนที่สูบรู้สึกผ่อนคลาย แต่หลังจากนั้น ระดับนิโคตินในเลือด จะลดลงอย่างรวดเร็ว จนกระตุ้นให้ผู้สูบ อยากจะรู้สึกสบายอีก และสูบซ้ำ
2. สภาพจิตใจและอารมณ์ที่แปรปรวน ในผู้ที่มีภาวะความเครียด เขาจะใช้วิธีการสูบบุหรี่ เนื่องจากคิดว่ามันช่วยทำให้ผ่อนคลาย
3. สภาพพฤติกรรมและสังคม ในกลุ่มผู้ที่มีเพื่อนร่วมสังคมเป็นผู้สูบ ก็มักจะเร้าให้เราสูบไปด้วย
เห็นไหมครับว่า คนที่ติดบุหรี่ มักจะมีสาเหตุทั้งสามอย่างร่วมกัน อาจมากน้อยในบางสาเหตุ แตกต่างกันไป

ถ้าเอาตามแบบผม ผมจะใช้วิธีการถาม 2 คำถาม แล้วมาคิดแต้มว่า ผู้ป่วยรายนี้มีระดับการติดบุหรี่มากน้อยเพียงใด
1.หลังจากตื่นนอนตอนเช้า คุณสูบบุหรี่มวนแรกตอนไหน
ก. ภายใน 5 นาทีหลังตื่นนอน
ข. 6-30 นาที หลังตื่นนอน
ค. > 30 นาที หลังตื่นนอน
2. จำนวนมวนที่สูบในแต่ละวัน
ก. > 30 มวนต่อวัน
ข. 21-30 มวนต่อวัน
ค. 11-20 มวนต่อวัน
โดยคิดคะแนน ก.=3,ข.=2,ค.=1 โดยถ้าคำนวณ 5-6 ถือว่าติดในระดับรุนแรง , 3-4 ติดระดับปานกลาง , 1-2 ติดเล็กน้อย

เมื่อเราทราบว่าผู้ป่วยมีอาการติดบุหรี่แล้ว เราต้องหาแนวทางการเลิกให้กลับผู้ป่วย เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ นะครับ
1. เราต้องประเมินว่าผู้ป่วยอยากเลิกบุหรี่หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังไม่อยากเลิก เราคงทำได้เพียงแค่การแนะนำให้เลิก เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของผู้ป่วยเอง
2. ถ้าเราเห็นทีท่าว่าเริ่มลังเล ให้ชงเลยครับ 555 ( พูดเหมือนเชียร์มวย ) เราอาศัยจังหวะนี้ โดยการกระตุ้นเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย ของการสูบและการไม่สูบ ให้ผู้ป่วยคล้อยตาม
3. ถ้าผู้ป่วยตกลงปลงใจว่าจะเลิก หน้าที่ของเราคือ วางแผนการเลิกให้กับผู้ป่วย อันนี้ขึ้นกับเทคนิคของแต่ละคน บางคนอาจจะอาศัยวิธีการลดจำนวนมวน แล้วให้หยุดภายในสองสัปดาห์ แต่ถ้าเป็นผม ผมก็จะกางปฏิทินหาวันดี ๆ ให้ผู้ป่วยเลิก พร้อมทั้งให้ผู้ป่วยคุยกับทางบ้านและที่ทำงานด้วย จะได้ให้ความร่วมมือด้วยกัน และให้หักดิบเลย ส่วนเรื่องจากใช้ยา หรือ นิโคตินทดแทน อาจให้หรือไม่ให้ ขึ้นอยู่กับระดับการติดที่รุนแรงหรือไม่ ในกรณีติดรุนแรง ผมมักจะให้ยากลุ่ม TCA เช่นกลุ่ม Nortrip ในช่วงเริ่มแรก ร่วมกับหาหมากฝรั่งหรือลูกอมม่เป็นตัวเสริม ( ตามที่พอจะหาได้ในรพช. ^^)
4. นัดมาประเมินเป็นระยะ ว่าทำได้ไหม มีจุดบกพร่องตรงไหน ให้ช่วยกันแก้ไข้
5. เมื่อเลิกได้แล้ว ก็ต้องหาทางป้องกันไม่ให้กลับไปสูบซ้ำครับ

เรื่องนี้พูดเหมือนง่าย แต่ทำจริงย้ากกกยากกก 555 แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่พูดมา ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแล้วหล่ะครับ แพทย์เป็นเพียงคนแนะแนวทางเท่านั้น ใจที่แข็งแกร่งของคุณต่างหาก สำคัญสุด ( เวอร์เนอะ แต่ก็จริงอ่ะ ^^ )

ขอบคุณ รูปจาก คู่มือการเลิกบุหรี่ สำหรับประชาชนครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Denver II Part 1

I message VS U message

Sedation in Pediatrics