Viral croup ( for MD )
ได้กลับบ้านที่หาดใหญ่ เติมพลังก่อนจะไปลุยงานที่ตรังต่อพรุ่งนี้เช้า รู้สึกดี ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้นแสนสั้นก็ตาม ( ชีวิตหมอนี่ก็แปลกเนอะ มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเอง รวมถึงให้คนในครอบครัวช่วยกันดูแลผู้ป่วย แต่สำหรับผม ช่วงเวลาที่จะพักผ่อน ออกกำลังกายก็น้อยแสนน้อย แถมนาน ๆ จะกลับมาบ้าน แล้วมาแต่ละครั้ง พ่อแม่กลับต้องมาดูแลเราต่อ เห้อ !!!! ) Drama เนอะ 555
หลังจากพยายามเขียนเรื่องที่เข้าใจง่ายให้อ่านแล้ว เลยนั่งคิดว่ามันอาจจะน่ารู้สำหรับบางคน ไม่น่ารู้กับบางคน เลยมาลงตัวที่ว่า ถ้าเป็นความรู้ทางด้านการแพทย์ที่ดูอ่านยาก ผมจะ (for MD) ไว้หลังหัวข้อเรื่องนั้น ๆ
กลับมาทำงานวันแรกหลังการประชุม ราวน์วอร์ดไป เจอเคส Viral croup มันทำให้ผมต้องกลับมานั่งคิดว่า เราควรจะรักษาแบบไหนกันดี ผมมักจะพบว่ามีการฉีด hydrocortisone iv ให้กับผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่หลายครั้งแล้ว เลยไม่แน่ใจว่าตอนนี้ เทรนด์การรักษามันเปลี่ยนไปหรือเปล่า หรือเป็นเพราะแพทย์เรากลัวว่าการฉีด Dexamethasone จะส่งผลถึงการ inhibit bone growth ของผู้ป่วย
เรามาทบทวน Viral croup กันเล็กน้อยนะครับ มีอีกชื่อหรูคือ Acute laryngotracheobronchitis เป็นการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจโดยเฉพาะตรงบริเวณใต้ต่อกล่องเสียง (subglottic area) มักพบในเด็กอายุระหว่่าง 6 เดือนถึง3ปี เชื้อที่พบเป็นสาเหตุจะเป็นเชื้อไวรัส เช่น parainfluenza virus type 1-3 , influenza virus type A,B ,RSV
อาการเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ไอมีน้ำมูกเล็กน้อย เป็นประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมีอาการไอเสียงก้อง ไอเสียงแหบ หายใจเหนื่อยได้ยินเสียง stridor เป็นประมาณ 2-3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเอง โดยการวินิจฉัยโรค ใช้แค่ประวัติและการตรวจร่างกายก็พอ แต่ถ้าไม่แน่ใจ อาจจะ film neck AP ถ้าพบว่ามี การตีบแคบ บริเวณ subglottic area ( pencil sign or steeple sign ) ก็จะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคครับ
ส่วนการรักษานั้น เรามักจะมีการประเมิน Croup score เพื่อเป็นการแบ่งระดับการรักษา แต่ก็จะมี 2 อย่างหลัก ๆ คือ
1. Corticosteroid เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย Croup ทุกระดับความรุนแรง จากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis พบว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นหลังได้รับยา 4-6 ชั่วโมง ลดระยะเวลาที่จะอยู่ใน ER ลดการใช้ Nebulized epinephrine ลดระยะเวลาการนอนรพ.และ PICU ซึ่ง steroid ที่ให้ เราให้เพียงแค่ dose เดียว หวังผลเพื่อลด inflammation ได้เร็ว ซึ่งสามารถให้ได้ทั้งกิน ฉีดเข้าเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ แต่ยาที่ได้รับการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ Dexamethasone im และ Prednisolone oral.
Dexamethasone dose 0.15-0.6 mg/kg/dose max 10 mg im
Prednisolone dose 1 mg/kg oral single dose
2. Nebulized Epinephrine เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ช่วยลดภาวะการอุดตันทางเดินหายใจช่วงบน ลด hydrostatic pressure ในหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการดูดกลับของน้ำ ลดการบวมของระบบทางเดินหายใจ อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 30 นาทีหลังให้ยา
Nebulized epinephrine (1:1000) 0.05-0.5 ml/kg/dose สามารถให้ซ้ำได้ทุก 15-20 นาที
เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี max dose 2.5 ml ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 ปี max dose 5 ml
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงมาจาก แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ของชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2556
ไม่แน่ใจว่าเพื่อน ๆ และน้อง ๆ มีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ หรือว่าผม Fixed idea เกินไป 555
หลังจากพยายามเขียนเรื่องที่เข้าใจง่ายให้อ่านแล้ว เลยนั่งคิดว่ามันอาจจะน่ารู้สำหรับบางคน ไม่น่ารู้กับบางคน เลยมาลงตัวที่ว่า ถ้าเป็นความรู้ทางด้านการแพทย์ที่ดูอ่านยาก ผมจะ (for MD) ไว้หลังหัวข้อเรื่องนั้น ๆ
กลับมาทำงานวันแรกหลังการประชุม ราวน์วอร์ดไป เจอเคส Viral croup มันทำให้ผมต้องกลับมานั่งคิดว่า เราควรจะรักษาแบบไหนกันดี ผมมักจะพบว่ามีการฉีด hydrocortisone iv ให้กับผู้ป่วย ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่หลายครั้งแล้ว เลยไม่แน่ใจว่าตอนนี้ เทรนด์การรักษามันเปลี่ยนไปหรือเปล่า หรือเป็นเพราะแพทย์เรากลัวว่าการฉีด Dexamethasone จะส่งผลถึงการ inhibit bone growth ของผู้ป่วย
เรามาทบทวน Viral croup กันเล็กน้อยนะครับ มีอีกชื่อหรูคือ Acute laryngotracheobronchitis เป็นการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจโดยเฉพาะตรงบริเวณใต้ต่อกล่องเสียง (subglottic area) มักพบในเด็กอายุระหว่่าง 6 เดือนถึง3ปี เชื้อที่พบเป็นสาเหตุจะเป็นเชื้อไวรัส เช่น parainfluenza virus type 1-3 , influenza virus type A,B ,RSV
อาการเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำๆ ไอมีน้ำมูกเล็กน้อย เป็นประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มมีอาการไอเสียงก้อง ไอเสียงแหบ หายใจเหนื่อยได้ยินเสียง stridor เป็นประมาณ 2-3 วัน อาการก็จะดีขึ้นเอง โดยการวินิจฉัยโรค ใช้แค่ประวัติและการตรวจร่างกายก็พอ แต่ถ้าไม่แน่ใจ อาจจะ film neck AP ถ้าพบว่ามี การตีบแคบ บริเวณ subglottic area ( pencil sign or steeple sign ) ก็จะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยโรคครับ
ส่วนการรักษานั้น เรามักจะมีการประเมิน Croup score เพื่อเป็นการแบ่งระดับการรักษา แต่ก็จะมี 2 อย่างหลัก ๆ คือ
1. Corticosteroid เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย Croup ทุกระดับความรุนแรง จากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis พบว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นหลังได้รับยา 4-6 ชั่วโมง ลดระยะเวลาที่จะอยู่ใน ER ลดการใช้ Nebulized epinephrine ลดระยะเวลาการนอนรพ.และ PICU ซึ่ง steroid ที่ให้ เราให้เพียงแค่ dose เดียว หวังผลเพื่อลด inflammation ได้เร็ว ซึ่งสามารถให้ได้ทั้งกิน ฉีดเข้าเส้นเลือดและกล้ามเนื้อ แต่ยาที่ได้รับการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ Dexamethasone im และ Prednisolone oral.
Dexamethasone dose 0.15-0.6 mg/kg/dose max 10 mg im
Prednisolone dose 1 mg/kg oral single dose
2. Nebulized Epinephrine เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ช่วยลดภาวะการอุดตันทางเดินหายใจช่วงบน ลด hydrostatic pressure ในหลอดเลือด ทำให้เพิ่มการดูดกลับของน้ำ ลดการบวมของระบบทางเดินหายใจ อาการของผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 30 นาทีหลังให้ยา
Nebulized epinephrine (1:1000) 0.05-0.5 ml/kg/dose สามารถให้ซ้ำได้ทุก 15-20 นาที
เด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี max dose 2.5 ml ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 ปี max dose 5 ml
ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงมาจาก แนวทางการดูแลรักษาโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ของชมรมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ปี 2556
ไม่แน่ใจว่าเพื่อน ๆ และน้อง ๆ มีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ หรือว่าผม Fixed idea เกินไป 555
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น