บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

Spot diag 14

รูปภาพ
ช่วงนี้สมองไม่ค่อยได้ทำงาน งานก็ไม่เดิน 5555 เลยเอามาลงไว้แก้เครียด บริหารสมองกันหน่อยเนอะ ^^ ภายในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้รับ consult case แบบนี้ถึง 2 เคสซึ่งทั้ง 2 เคสมีสาเหตุที่แตกต่างกัน  เคสแรกเป็นเคสเด็กผู้ชายอายุ 12 ปี เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Bukitt lymphoma และได้รับการรักษาด้วยการ Induction Chemotherapy แต่หลังจากนั้น ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่อง Tumor lysis syndrome ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการให้การรักษาด้วย chemotherapy ซึ่งส่งผลทำให้ค่าการทำงานของไตแย่ลงอย่างฉับพลัน เกิดเป็น Acute kidney injury จนต้องทำ CRRT ( continuous renal replacement therapy ) โดยระหว่างที่ Admit อยู่ที่ ICU ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ และตามัวลง ซึ่งเมื่อมาทบทวนประวัติการรักษา พบว่ามีปัญหาเรื่องของ BP ที่สูงลอยตลอดเวลา จนให้การรักษาด้วยยาลดความดัน ( Nicardipine iv ) และส่งทำ Brain imaging โดยหลังจากให้การรักษาด้วยยาลดความดัน อาการปวดศีรษะลดลง และการมองเห็นกลับมาเป็นปกติ ใน 24 hr หลังการรักษา  เคสที่ 2 ก็ยังคงเป็นเคสของหน่วย Hemato ( อีกแล้ววววว 5555 ) Beta-thalassemia/HbE disease ทำการรักษาด้วย ...

#ทีมพละส้มส้ม Vs HIV

รูปภาพ
ช่วงนี้งานไม่เดิน และสมองก็ตันมาก ๆ คิดอะไรไม่ค่อยออก พอเปิดมาดู Hormone 3 เท่านั้นแหล่ะ ไอเดียก็พุ่งเฉยเลย 555 เพราะเท่าที่จำได้ ผมยังไม่เคยเขียนเรื่อง HIV มาก่อน ก็เลยคิดว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ  มันเป็นความใจผิดของคนไทยมาแต่นมนานมากแล้ว คือ HIV = AIDs = สิ่งที่น่ารังเกียจ  หลายยุคหลายสมัย สาธารณสุขพยายามรณรงค์ว่า HIV ไม่เท่ากับ AIDs แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนไทยกลุ่มใหญ่ไปได้ ดังนั้น ต้องขอบคุณผู้จัดทำละครเรื่องนี้ ที่ทำให้คนไทยเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมเยอะ และปัจจุบันการติดเชื้อ HIV มียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากมายให้เราได้ใช้ ทำให้สามารถลดปริมาณผู้ป่วย AIDs และลดการเสียชีวิตจาก AIDs ได้เช่นกัน  โลกเก่า : เข้าใจว่าการติดเชื้อ HIV เป็นจากการมั่วสุม สำส่อนทางเพศสัมพันธ์ โลกใหม่ : ไม่จริงเลยยยยยย คุณเข้าใจผิดอย่างหนัก เพราะ HIV ติดเชื้อได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของร่างกายผู้ที่ติดเชื้อต่างหาก นอกเหนือจากเพศสัมพันธ์ ก็กลุ่มพวกใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้ที่ติดเชื้อ หรือแม้กระทั่งเด็กบางส่วนเกิดมาจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV *น้ำลายไม่ค่อยพบเชื้อยกเว้นกรณีที่ผู้ติดเชื้อมี...

Fluoride ให้เด็กกิน ดีจริงหรือ ?

รูปภาพ
เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ผมนั่งตรวจคนไข้ที่OPD ผมได้พบกลับคุณแม่และเด็กผู้ชายอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง มารับวัคซีนและประเมินพัฒนาการเบื้องต้น ก่อนกลับ มารดาขอให้ช่วยสั่ง Fluoride tab ให้ ซึ่งตอนนั้นต้องยอมรับด้วยความสัจจริงว่าไม่เคยสั่ง Fluoride tab ให้คนไข้มาก่อน ไม่รู้doseยา ไม่รู้ว่ามันจำเป็นจริงหรือเปล่า สิ่งที่ทำตอนนั้นคือการ remed ยาเดิมที่อาจารย์ท่านก่อนเคยสั่งไว้ หลังจากวันนั้นผ่านไป ผมก็เริ่มลืมเลือนและคิดว่าถ้ากลับไปต่างจังหวัด อาจจะไม่ได้สั่งยาตัวนี้ แต่วันนี้มานั่งทบทวนดู คิดว่ามันก็เป็นสิ่งที่เราควรจะรู้ พ่อแม่ พี่พยาบาล หรือแม้กระทั่งคุณครู ควรจะรู้ เราคงไม่ได้ผลักภาระการดูแลช่องปากให้กับทันตแพทย์ และทันตภิบาลเพียงฝ่ายเดียว ขอบคุณรูปภาพจาก http://almostexactlyblog.com/tag/fluoride/ เวิ่นมานาน 555 ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจว่า Fluoride ช่วยลดฟันผุได้อย่างไร Fluoride จะช่วยทำให้เคลือบฟันแข็งแรงทนต่อกรดมากขึ้น ชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และส่งเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุ (remineralization)  แล้ วFluoride ร่างกายจะได้รับทางไหนบ้าง  - Fluoride ในน้ำดื่ม ซึ่งจะช่วยลด...

ปัญหาที่พบได้บ่อยในทารกที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่

รูปภาพ
สวัสดีครับ มีเวลากลับมาเขียนอีกรอบ และก็ดีใจมาก ๆ ที่ผมเขียนมาถึงบทความที่ 100 แล้ว เย่เย่ ๆ 555 มาเข้าเรื่องที่จะเขียนกันวันนี้เลย เนื่องจากเมื่อวานได้มีโอกาสเรียนรู้ที่ clinic นมแม่ กับอาจารย์เกรียงศักดิ์ ซึ่งได้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์มากมาย เกี่ยวกับการช่วยเหลือดูแลมารดาที่ให้นมบุตรและเด็กทารก วันนี้จึงจะนำเสนอเรื่องราวของ ปัญหาที่เราพบได้บ่อยในทารกที่เลี้ยงดูด้วยนมแม่ ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.pregnancyandbaby.com/the-hatch-blog/articles/965765/latching-101 1.เมื่อไหร่เราจะรู้ว่าลูกได้รับนมแม่เพียงพอ คิดว่าเป็นคำถามที่แพทย์หลายคนเจอบ่อย และ พ่อแม่บางคนมักจะกังวลกับปัญหาน้ำหนักลูกที่ลดลง ซึ่งมักเป็นอาการสำคัญที่ทำให้พ่อแม่หลายท่านมาพบแพทย์ อาการที่แสดงว่าทารกครบกำหนดได้รับนมแม่เพียงพอ ลูกหยุดดูดนมเอง และนอนหลับหลังดูดนม นอนหลับหลังดูดนาน 2-3 ชั่วโมง น้ำหนักของทารกในช่วงแรกจะลดลงอยู่แล้ว ซึ่งเป็นภาวะปกติ Physiologic weight loss โดยมักจะลดไม่เกิน 7% ของน้ำหนักแรกเกิด โดยน้ำหนักจะต่ำที่สุดในวันที่ 3 ของชีวิต แล้วจะค่อย ๆ กลับขึ้นมาจนเท่ากับน้ำหนักเด็กแรกเกิด...

Denver II Part 2

รูปภาพ
ในที่สุดก็ได้ฟื้นชีพกลับมาเขียนบล็อกอีกรอบหนึ่ง 555 ผู้เขียนยังคงมีชีวิตอยู่ไม่ต้องตกใจ เรามาต่อกันให้จบ อีกนิดเดียวเท่านั้นกับ Denver II โดยผมขอสรุปเนื้อความคร่าว ๆ จากคราวก่อนนะครับ การประเมิน Denver II เป็นการตรวจคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยได้ เพียงแต่ถ้าตรวจพบความผิดปกติ เราสามารถส่งตรวจโดยใช้เครื่องมือมาตรฐานในการวินิจฉัยอีกครั้ง โดยการประเมินจะมี 4 ด้านหลัก คือ Gross motor, Fine motor , Language, Psychosocial ในแต่ละด้านเองจะมี Item ซึ่งเราใช้อายุที่คำนวณอย่างถูกต้องแล้วของคนไข้ ดูว่าช่วงนั้น เด็กสามารถทำ Item อะไรได้บ้าง แล้วนำมาแปลผลว่า Pass, Fail, No Opportunity, Refuse หลังจากนั้น เมื่อทำครบทุก Item เราจะมาวิเคราะห์ว่าเด็ก ใน Item แต่ละอัน สรุปแล้วเป็น Normal, Caution หรือ Delay และ เมื่อทำครบ เราจะมาสรุป ว่าเป็น Normal หรือ Suspected ตามที่ได้กล่างไว้ในบทความคราวก่อนแล้ว วันนี้จะมาพูดเทคนิคในการตรวจ Item ที่สำคัญ ๆ ว่าทำอย่างไรบ้าง  1. ด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง : การตรวจในส่วนนี้จะค่อนข้างง่าย เพราะมักจะเป็นการถามคำถาม...

Denver II Part 1

รูปภาพ
สวัสดีครับ เกือบจะครึ่งเดือนแล้ว ยังไม่มีบทความออกมาให้อ่านกันเลย อันนี้เลยตั้งใจเขียนขึ้นมาสำหรับเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่สนใจประเมินพัฒนาการเด็ก ซึ่งเครื่องมือในการประเมินพัฒนาการมีหลายแบบ แต่แบบหนึ่งที่เราใช้กันบ่อย คือ Denver II ซึ่งวันนี้ผมจะมาอธิบายวิธีการประเมินคร่าว ๆ กันนะครับ (อาจจะขอแบ่งออกเป็น 2 part) Denver II เป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้นของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี แต่ไม่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีพัฒนาการช้า ซึ่งนั่นจะต้องอาศัยแบบทดสอบอย่างอื่นที่จำเพาะมากขึ้น หรือ การส่งตรวจประเมินสาเหตุอย่างอื่นเพิ่มเติม รวมถึงการทดสอบนี้ ก็ไม่ใช่การทดสอบ IQ หรือ ประเมินระดับเชาน์ปัญญาแต่อย่างใด ซึ่งการประเมิน Denver II นั้น สามารถประเมินพัฒนาการเบื่องต้นทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น Personal-social , Fine motor , Language , Gross motor วันนี้เราจะมาลองทำความเข้าใจวิธีการตรวจกัน   1. เราต้องคำนวณหา Corrected Age ในผู้ป่วยรายนี้ก่อน โดยถ้าเด็กเกิดก่อน GA 38 wk ต้อง Correct ให้ได้ 40 wk ซึ่งมีวิธีการคำนวณง...

Restraint - หมอทำร้ายหนู

รูปภาพ
สวัสดีครับ เกือบจะหมดเดือน แต่สมองเริ่มตีบตัน 555 คิดไม่ออกว่าจะเขียนเรื่องอะไร ที่ดูน่าสนใจสำหรับเราและคนอื่น รวมถึงไม่เครียดหรือน่าเบื่อจนเกินไป (ดูยากนะ) เลยหยิบเอาเรื่องนี้มาเขียนด้วย ยังไงก็ฝากติดตามด้วยนะครับ ^^ Restraint หรือการทำให้คนไข้สงบ อยู่นิ่ง และไม่วุ่นวาย ถ้าคนที่อยู่อายุรกรรมคงคุ้นชินกันดี แต่สำหรับกุมารแพทย์ ซึ่งต้องดูแลคนไข้เด็ก ที่มักจะต้องมุ้งมิ้งกับเด็ก ๆ บ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นเราก็มักจะต้องรักษาภาพลักษณ์หมอผู้ใจดีอยู่เสมอ แม้กับเด็กที่วุ่นวายก็ตาม ตามมาตรฐานของ JCAHO การ Restraint มีหลักการดังนี้ ใช้การผูกยึดเมื่อจำเป็นเท่านั้น หรือ เมื่อไม่มีวิธีอื่นที่ใช้ได้ผลแล้ว ใช้วิธีการผูกยึดที่จำกัดผู้ป่วยน้อยที่สุด ยุติการผูกยึดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ให้ความสำคัญกับการป้องกัน และลดการผูกยึดในรพ. คำนึงถึงความปลอดภัย สุขสบาย ศักดิ์ศรี และความลับของผู้ป่วยอยู่เสมอ กุมารแพทย์ เรามีวิธีง่าย ๆ ในการทำให้เด็กสงบดูก่อน เมื่อผู้ป่วยมีภาวะวุ่ยวาย ควรจะเข้าไปพูดคุยกับคนไข้ หาข้อเท็จจริงว่าสาเหตุที่ทำให้วุ่นวายคืออะไร แล้วเสนอทางแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยไ...

Sibling Rivalry : แม่รักฉันมากกว่า!!!

รูปภาพ
เป็นเดือนแรกของการอบรมแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 โดยเดือนนี้ผมวนอยู่ที่หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ผมกังวล และรู้สึกว่าไม่ถนัดอย่างมาก เนื่องจากความลำบากหนึ่งในนั้นคือการต้องต่อสู้กับหนังตาที่จ้องแต่จะตกอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการรวบรวมสติให้คงอยู่อยู่เสมอ 555 (ล้อเล่นนะครับ อิอิ) หลังจากที่ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์ในจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ผมได้ตระหนักถึงบางสิ่งที่สำคัญ ที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเด็ก ๆ นั่นคือ ศิลปะในการเลี้ยงดูลูก ของบิดามารดา ถ้าเลี้ยงดี ลูกก็ดี เลี้ยงไม่ดี ลูกก็ไม่ดีตามไปด้วย ผมจะขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ผมเพิ่งได้เจอมาวันนี้ Case เด็กผู้หญิง อายุ 11 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว หรือเจ็บป่วยเรื้อรังนำมาก่อน 10 วันก่อนมารพ. มีประวัติขาทั้ง 2 ข้างอ่อนแรง ร่วมกับมีชาที่บริเวณน่องจนถึงปลายเท้า แต่ยังกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้ ปฏิเสธประวัติอุบัติเหตุ ปฏิเสธประวัติอาการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหารก่อนหน้านี้ ที่รพ.ต่างจังหวัดจึงส่งตัวผู้ป่วยเข้ามา เนื่องจากสงสัยภาวะ Guillain-Barre Syndrome ทาง Neuro ได้เข้าร่วมประเมินผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งเมื่อมาถึงที่เ...

Spot diag 13

รูปภาพ
ช่วงเดือนนี้ ถือเป็นเดือนที่ยากเย็นแสนเข็ญเอาการ เมื่อ AEC ทำให้ผู้เขียนต้องทำงานเป็น R1 เพิ่มขึ้นถึง 13 เดือน และเดือนสุดท้ายที่คนทำงานลดลงไป1/3 แต่ภาระงานเท่าเดิม เรียกว่าทำงานเพื่อให้รอดผ่านไปในแต่ละวัน เห้อ !!!  เมื่อบ่นเสร็จแล้ว เราก็มาทำโจทย์ให้เดากันเล่นดีกว่า Case เด็กผู้ชาย อายุ 3 ขวบ มารดาพามาโรงพยาบาลด้วยเรื่องพูดช้า เพิ่งพูดได้เป็นคำๆ ประมาณ 2-3 คำ , ถามประวัติพัฒนาการด้านอื่น Gross motor เริ่มเดินตอนอายุ 2 ปี ขณะนี้วิ่งพอได้ แต่ยังไม่แข็งแรง , fine motor เริ่มจับดินสอขีดเขียนเป็นเส้น ๆ ตอนอายุ 2 ขวบ 9 เดือน  Ht 98 cm , BW 14 kg  ตรวจร่างกายเบื้องต้นไม่พบความผิดปกติใด แต่มีหน้าตาเป็นดังรูป  คำตอบ............ ใครตอบถูก จะหอมแก้ม 1 ที 555 ( เอาแบบถูกต้องแป้ะๆ นะครับ ) มาเฉลยแล้วนะครับ ปัญหาสำหรับผู้ป่วยรายนี้ที่มีแน่ ๆ คือเรื่องของ Global Delay development  แต่ด้วยหน้าตาอันเป็นเอกลักษณ์ เช่นมี Smooth philtrum , Thin upper lip และ Short palpabral fissure จึงเป็นเรื่องของ Fetal alcohol spectrum disorder แต่ด้วยความที่จะง่ายไป ผมเลยมีความสูงและน้ำหนัก มาใ...

วัคซีนป้องกันเด็กพูดช้า

รูปภาพ
ช่วงที่อยู่ OPD เดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสตรวจคนไข้หลากหลายรู้แบบ แต่ไม่น่าเชื่อว่ามีเด็กและผู้ปกครองมาปรึกษาด้วย เรื่องลูกพูดช้า เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน บ่อยครั้งมาก ซึ่งบางกลุ่มก็เป็นเด็กที่มีปัญหาทางด้านการได้ยิน บางกลุ่มมีปัญหาเรื่องพัฒนาการโดยรวมช้า บางกลุ่มก็เป็น Autism แต่ประมาณ 50% จากประสบการณ์หนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมกลับเจอกลุ่มเด็กพูดช้าที่เกิดจาก Understimulation(ขาดการกระตุ้น) มากที่สุด วิถีการดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป พ่อแม่ต้องแข่งขัน ต้องทำงานท่ามกลางสังคมที่วุ่นวาย ส่วนลูกเอง บ้างก็ส่งเข้าศูนย์รับเลี้ยงเด็ก บ้างก็ให้ปู่ย่าตายายเลี้ยง บ้างก็จ้างแรงงานต่างด้าวเลี้ยง หรือ ในกรณีที่พ่อแม่ที่เลี้ยงไป ทำงานไป ก็มันเปิดทีวีให้เด็กดู เด็กร้องโวยวายก็เอามือถือ ไอแพดมาให้เล่น พวกที่เข้าศูนย์รับเลี้ยงเด็ก หรือปู่ย่าตายายเลี้ยงมักไม่ค่อยเจอปัญหาเรื่องเด็กพูดช้ามาเท่า 2 กลุ่มหลัง เพราะสิ่งที่จะส่งเสริมพัฒนาการของเด็กมักมาจากกระบวนการเลี้ยงดูเป็นสำคัญ และตอนนี้ผมพูดได้ว่าปัญหาเด็กพูดช้าเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ดังนั้นผมจึงมีคำแนะนำบางอย่าง อยากให้คุณพ่อคุณแม่ยุคไอที...

Infant Colic เรื่องง่าย ๆ ที่น่าเรียนรู้

รูปภาพ
อุ๊ต๊ะ !!! เพิ่งสังเกตุว่าพิมพ์จนใกล้จะ 100 บทความแล้ว 5555 ทำไปได้เนอะ หวังว่าคนที่บังเอิญได้อ่านบทความของผม จะได้ประโยชน์กลับไปบ้าง ไม่มากก็น้อยครับ ช่วงเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสได้อยู่เวรคอก หรือ ห้องแพทย์เวรที่ตรวจผู้ป่วยนอกเวลา ซึ่งเราจะตรวจเคสทั่วๆไป ไม่ได้เลือกหรือเจาะจงเฉพาะความถนัด ยกเว้นก็แต่เฉพาะหมอเด็กเท่านั้นแหล่ะ ที่มีความพิเศษกว่าคนอื่น ตรงที่  เคสMed หมอเด็กตรวจ , เคสSurgery หมอเด็กตรวจ , เคสOB-GYN หมอเด็กตรวจ , เคสEye/ENT หมอเด็กตรวจ, เคส Ortho หมอเด็กตรวจ , เคสนิติเวช ( rape ) หมอเด็กตรวจ , เคสเด็ก ต้อง Only หมอเด็กนะจ๊ะ 5555  ปล. อันนี้หยอกเล่นน้าครับ แต่base on true story อย่างแรง ^^ โอเคๆ สิ้นสุดการเหน็บแนมชาวบ้าน มาเข้าเรื่องกัน พอดีเดือนที่แล้วมีเวรคอก2ครั้ง และทั้ง 2 ครั้งเจอเคสแบบนี้เหมือนกัน เลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังครับ โดยทั้งสองเคสเป็นเด็กเล็ก อายุ 1-2 ขวบ มาด้วยอาการร้องไม่หยุด มาตั้งแต่ช่วงประมาณ 17.00-20.00 เป็นมาประมาณ 3 สัปดาห์แล้ว ไม่ได้เป็นทุกวัน 3-4 วันต่อสัปดาห์ ต้องใช้เวลากล่อมนานกว่าจะหยุดร้อง แต่วันนี้ที่พามาเพราะร้องไม่หยุดมา 5 ชั่ว...

Scabies น๊ะจ๊ะ

รูปภาพ
สวัสดีกับเช้าวันหยุดอีกหนึ่งวัน ก่อนอื่นคงต้องพูดถึงข่าวของการทำร้ายร่างกายแพทย์และพยาบาลจากญาติผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นข่าวดังอยู่ตอนนี้ โดยส่วนตัวผมเอง ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางอะไรมาก ไม่รู้ว่าใครผิดหรือถูกแท้จริง แต่ในฐานะของแพทย์คนหนึ่ง และเคยทำงานอยู่รพ.ศูนย์ ซึ่งผู้ป่วยมากมาย โดยเฉพาะเวรห้องฉุกเฉิน บอกตามตรงว่า ไม่มีแพทย์คนไหนอยากปล่อยให้ผู้ป่วยของเค้าทนเจ็บ ไม่อยาก manage คนไข้ช้า ถ้าเค้าแยกร่างได้ คงแยกร่างไปรักษาผู้ป่วยทุก ๆ คนพร้อมกันไปแล้ว แต่เนื่องด้วยการทำงานห้องฉุกเฉิน เราจำเป็นต้องช่วยคนไข้หนักก่อนเสมอ อยากให้คนที่มารับบริการที่รพ.ทุกคนเข้าใจ ในทางกลับกัน ทางฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์ ก็ต้องมีสติในการปฏิบัติงาน ทำตามหน้าที่ ตามแบบแผนที่เราเคยได้ล่ำเรียนมา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติงาน ผมรู้ว่างานแพทย์มันเหนื่อยจริง ๆ คนภายนอกอาจจะไม่เข้าใจ เราคงต้องใจเย็นมากขึ้น รวมถึงต้องระมัดระวังตัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะจากมุมมองคนภายนอก มองแพทย์อย่างเราไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว โอเค ๆ พักเรื่องดราม่า มากินมาม่า เอ้ย!!! มาหาความรู้ใส่ตัวกันดีกว่า 555 พอดีเจอเค...

Transmission-based precautions ตอนที่ 2

รูปภาพ
สวัสดี พบกันอีกครั้งครับ ช่วงนี้อากาศค่อนข้างร้อน ฝากดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจด้วยนะครับ ^^ ว่ากันต่อด้วยเรื่องคราวก่อน ที่เราทำความรู้จักกับ Transmission-based precautions ในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Contact, Droplet, Airborne ซึ่งครั้งที่แล้ว เรารู้จักกับเชื้อต่าง ๆ ว่าจำเป็นจะต้องเฝ้าระวังอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของขั้นตอนและการเตรียมตัว Precautions กันครับ 1. Contact precautions : อย่างที่ชื่อบอก หลัก ๆ คือการป้องกันการสัมผัส เพราะเชื้อสามารถติดและกระจายไปยังผู้อื่นผ่านการสัมผัส แนวทางคือ Single patient room เอาเป็นว่าถ้าโรงพยาบาลมีห้องแยกมากพอ ควรแยกกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่ถ้าไม่มีจริง ๆ ก็ไม่จำเป็น เพียงแต่ต้องระมัดระวัง Hand hygiene **กรุณาหยิบไฮไลท์ขึ้นมาหลาย ๆ สี 5555** นี่คือขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ แน่นอนว่าการล้างมือให้ถูกวิธีมันก็มีหลักการของมัน แนะนำให้หาอ่านเรื่อง Six-step hand wash มาดู Gown and Gloves ควรจะต้องมีเสื้อกาวน์รวมถึงถุงมือวางไว้ข้างเตียงผู้ป่วย เวลาแพทย์หรือพยาบาล รวมถึงญาติคนไข้สัมผัส ก็ต้องใส่ (ถ้าใครเคยราวน์วอร์ดที่มีการระบาดของ Rotav...

Transmission-based Precaution ตอนที่1

รูปภาพ
สวัสดีครับ และก็สุขสันต์วันสงกรานต์ ด้วยครับ ขอให้มีความสุขกันถ้วนหน้า หากไปเที่ยวก็ขอให้เดินทางอย่างปลอดภัย  ส่วนตัวของผมเอง เฮ้อ อย่าให้พูดเลยครับ ชีวิตแพทย์ประจำบ้าน ก็ต้องราวน์วอร์ดและอยู่เวรกันต่อไป 5555 ช่วงนี้คิดอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี ขณะกำลังราวน์วอร์ดกับน้อง ๆ ปี5 มีเคสที่ต้องจับเข้าห้องแยก ก็เลยนึกคำถาม ถามเล่น ๆ ว่า "พอจะรู้จัก ว่า Infection อะไรที่ต้อง Isolation Precautions บ้าง" ซึ่งก็มีน้อง ๆ หลาย ๆ คนตอบถูกบ้าง ตอบผิดบ้าง ตอนนั้นก็เลยคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่บุคลากรทางการแพทย์ ควรจะต้องทราบ เพราะถ้าจัดการไม่ถูกวิธี อาจมีการแพร่กระจายไปยังผู้ป่วยอื่น หรือ บุคลากรภายในวอร์ดเอง ก็เลยเป็นหัวข้อที่จะเขียนในวันนี้ Transmission-based precautions โดยเบื้องต้นเราจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.Contact precautions 2.Droplet precautions 3.Airborne precautions และด้วยความขึ้เกียจของผู้เขียน จึงจะแบ่งเป็น 2 บทความใหญ่ โดยบทความแรกจะแบ่งเชื้อโรคให้คราว ๆ ว่าเชื้อตัวไหน Precaution แบบไหน 1. Contact precaution : ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันปกติ (Immunoco...

Spot Diag 12

รูปภาพ
สวัสดีครับ ได้กลับมาเขียนอีกครั้ง มีหลายเรื่องที่อยากจะเขียนเหมือนกัน แต่ยังรู้สึกไม่ค่อยชำนาญ 555 เอาเป็นว่าวันนี้เรามาคุยกันเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ กันเนอะ case 3-year-old boy previously healthy - Sudden onset limping and refused to bear weight on the right leg - Diagnosed with hand-foot-mouth disease 1 weeks ago - Looked well , no fever - PE: Frog leg position of right side ( Flexion , Abduction , External rotation )           Denied to walk or stand on right foot          Redued ROM and pain of Right hip          Back and knee exam were unremarkable Inv : CBC : Hct 40.9% , WBC 8800/cumm , N 39.6 , L 50.2 , Plt 286000         ESR 23 mm/hr , CRP 0.25 mg/L Film Both hip :  ขอบคุณ รูปจาก http://reference.medscape.com/features/slideshow/limping-child ใครตอบได้ คนเขียนให้กอดนะ 555 มาตอบแล้วน้าาาาา คำตอบ คือ Transient synovitis of the hip  โดยปกติ เวลาเจอผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อ ต้...

Antibiotic smart use ตอนที่ 1

รูปภาพ
สวัสดีเช่นเคย วันนี้ได้เวลาดีก่อนเข้านอนมาเขียนบล็อกสักหน่อยครับ วันนี้มาเป็นโจทย์เลย ไม่ยากมาก เจอในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ แต่พวกเรามักจะพลาดกัน จนมีปัญหาตามมา ยังไงวันนี้เรามาเรียนรู้พร้อม ๆ กันนะครับ 8-year-old thai boy  CC: Bitten by a cat 1 day PTA  1day PTA, he was bitten by a cat at his Rt. hand. His wound was thoroughly cleansed and the he received Rabies & Tetanus prophylaxis and antibiotic Which is your treatment of choice ? A. Dicloxacillin B. Trimethoprim-Sulfamethoxazole C. Azithromycin D. Cefdinir E. Amoxicillin-clavulanate เรารู้ว่ามันไม่ยาก แต่อยากรู้ว่าในชีวิตจริงพวกเราให้อะไรกันบ้าง แล้วเด๋วพรุ่งนี้ผมจะมาเฉลย แล้ว progress อาการคนไข้ให้นะครับ  ปล. วันนี้ดู Cinderella มา สนุกดี เชียร์ให้ไปดูครับ ปล2. มันเกี่ยวไรกันฟระ 555 ขอบคุณรูปจาก : http://m1.wyanokecdn.com/d37c30ff8084d622208a25bac9939285.jpg กลับมาเฉลยแล้ว มาดึกหน่อย แต่ดีกว่าไม่มานะครับ ก่อนที่จะเฉลยผมขอ Progress คนไข้แบบย่อ ๆ ก่อนนะครับ The attending physician gave him 7-day course of diclox...

Spot Diag 11

รูปภาพ
คราวก่อนทำ Spot Diag แล้วทุกคนรู้สึกสนุกที่จะตอบ งั้นคราวนี้ เรามาทายกันอีกรอบนะครับ เคสเด็กชาย อายุ 2 ปี 3 เดือน มารพ.ด้วยแก้มซ้ายบวม ตาบวม มา 3 วัน , มีไข้ต่ำ ๆ ได้รับวัคซีนครบ รวมทั้ง MMR 1 ครั้ง Blood smearเป็นดังภาพ จงบอกเชื้อ ที่น่าจะเป็นสาเหตุมากที่สุด ขอบคุณ รูปภาพจาก http://cached.imagescaler.hbpl.co.uk/resize/scaleWidth/620/offlinehbpl.hbpl.co.uk/news/PGH/23D0C7CA-96F7-59C2-CEB0055445BC0907.jpg http://tulane.edu/som/departments/pathology/images/h43_1.jpg มีหลายคนโดนหลอก จากการที่เห็น Slide blood smear มี Atypical lymphocyte ที่เราเรียกว่า Downey cell ซึ่งหลายคนจะคิดไปเองว่าตัว Downey cell เป็นตัวที่บ่งบอกเรื่องของการติดเชื้อ EBV ที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด Infectious Mononucleosis  แต่ผมอยากจะให้คิดกันใหม่ เพราะ Downey cell มันเป็นเพียงแค่ Atypical lymphocyte ตัวหนึ่ง ( monocytoid ) ซึ่งไม่ได้ Specific กับ EBV แต่การที่เราเจอ Downey cell ในผู้ป่วย Infectious mononucleosis มันจะช่วยบอกเรื่องการลดโอกาสการเกิด Potentially fatal EBV B-cell Lymphoma  ได้มีการศึกษาที่ช...

Spot diag 10

รูปภาพ
นึกขึ้นได้ แอบตกใจ ที่เคยสัญญากับตัวเองไว้ว่าจะเขียนบทความ 2 เรื่องต่อเดือน เดือนนี้ ยังไม่เคยได้เขียนเลยสักเรื่อง ยังไงวันนี้ขอ Up รั่ว ๆ นะครับ 555 วันนี้ขอมาฝึกสมอง ประลองกันหน่อยว่า คนไข้เป็นโรคอะไร 3 year old thai boy CC: high grade fever with cervical lymphadenopathy 1 day PI: 3 days PTA , he had high grade fever with mildly injected conjunctivae. He was diagnosed of acute conjunctivitis at clinic and got paracetamol and Neomycin/Polymyxin B eye drop for treatment            1 day PTA , a cervical lymph node became enlarged and markedly tender. After taking prescribed dicloxacillin, he developed generalized non itching erythematous MP rash. No swelling of eye lids and mouth were observed            Attending physician discontinued dicloxacillin, and then start clindamycin and hydroxyzine. The patient's rash got worse, so he was referred to your hospital. Physical examination  V/S : BT 39*c , P 120/min , RR 32/min , B...